มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เมืองเบตง วิถี 3 วัฒนธรรม ภายใต้เเสงสีและอาหาร คึกคักยามค่ำคืน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ผู้เขียนและครอบครัว หลังเสร็จจากการได้ลงแช่นำ้ร้อนทั้งตัว ที่ “บ่อน้ำพุร้อนเบตง” ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติขนาดใหญ่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ โดยจะมีน้ำร้อนผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ประมาณ 80 องศาเซลเซียส สามารถต้มไข่ไก่ได้จนสุกภายประมาณ 10 นาที หลังจากผ่อนคลายแล้วก็รู้สึกหิวกว่าจะเจอร้านอาหารฮาลาลที่มีคนไม่มากก็ไม่มีทุกร้านเต็ม รวมทั้งร้านอาหารคนไทยพุทธ คนไทยเชื้อสายจีน หลังจากขับรถเวียนรอบเมืองก็ต้องรีบตัดสินใจลงจอดที่ร้านอาหาร “ครัวเก๊าะ”แม้คจะเต็มร้าน จำเป็นต้องรอ ซึ่งผู้เขียนไม่รอช้าสั่งหมี่เหลืองเบตง(ผัดซีอิ๊วซีฟู้ด)
สำหรับผัดหมี่เบตง “หมี่อบแห้งสีเหลืองไข่ “ ซึ่งเป็นของดีขึ้นชื่อของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา หมี่เบตงเป็นบะหมี่เส้นแห้งม้วนเป็นก้อนเก็บไว้ได้นาน การทำผัดหมี่เบตงให้อร่อยทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เตรียมความพร้อมของวัตถุดิบและฝีมืออันเป็นเสน่ห์ปลายจวักที่กวักมือเรียกนักท่องเที่ยวมาชิม สำหรับอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ดังมากคือ
“ไก่เบตง “ มีเนื้อ แน่น นุ่ม ไม่เหลว เปื่อยยุ่ย แถมยังมีความหวานอยู่ในตัวเอง สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไก่ตุ๋นเครื่องยาจีน ไก่ตุ๋นมะนาวดอง ต้มยำไก่ และ“ไก่ต้มราดซีอิ๊ว” ที่ถือเป็นเมนูต้องลอง เพราะเป็นการผสมกันระหว่างของอร่อยประจำเมือง 2 อย่างคือ ไก่เบตงและ“ซีอิ๊วเบตง”
หลังจากนั้นก็ขับรถเวียนรอบเมือง เบตงยามคำ่คืน ถ่ายรูปสถานที่สำคัญและมีผู้คนมากมายเต็มไปหมดทำให้บรรยากาศคึกคักมีทั้งคนมุสลิมมลายู ไทยพุทธและคนไทยเชื้อสายจีนที่มาจากทั่วทุกสารทิศชายแดนภาคใต้ ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือเลยถึงอีสานขาดเพียงแต่คนมาเลเซียซึ่งหากไม่ใช่ช่วงโควิดที่มาเลเซีย ก็จะมีผู้คนมาเลเซียมากมายเช่นกันดังที่เจ้าของร้านอาหารได้บอกไว้ เพราะเบตงมีชายแดนติดมาเลเซียและคนมาเลเซียชอบอาหารและท่องเที่ยวที่นี่วันหยุดเขาไม่ว่าวันศุกร์ (บางรัฐมาเลเซียปิดวันศุกร์)เสาร์หรืออาทิตย์จะมีผู้คนจากมาเลเซียข้ามชายแดนเต็มไปหมด หลังจากนั้นผู้เขียนและคณะ ขับรถวน และจอดตามที่ต่างๆเพื่อดูบรรยากาศและถ่ายรูปที่ระลึกเช่นสี่แยกวงเวียนหอนาฬิกาเบตง Landmark สำคัญของเมืองเบตง อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์


สำหรับสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง โดยหอนาฬิกาเป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่ที่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมายาวนาน เปรียบเป็นสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของเมือง ในยามเย็นจะเห็นฝูงนกนางแอ่นนับหมื่นตัวมาเกาะอยู่รอบ ๆ สายไฟบริเวณหอนาฬิกาจนกลายมาเป็นสัญลักษณ์คู่หอนาฬิกา ส่วนตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตงเช่นกันที่สร้างขึ้นในปี 2467 ที่ยังคงส่งจดหมายได้อยู่จริง
อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ นั่นเป็นอุโมงค์ลอดภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย เป็นอุโมงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในการขนส่งระหว่างชุมชนเมือง ซึ่งภายในอุโมงค์มีการติดไฟแฟนซีสวยงาม
ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ที่มีรูปปั้นไก่เบตงยักษ์ และงานสตรีทอาร์ต ตามจุดต่าง ๆ จะอยู่รอบ ๆ ส่วนหนึ่งสะท้อนวิถีชีวิตคน3 เชื้อชาติมลายูมุสลิม ไทยพุทธและไทยจีนอันเป็นอันเป็นจุดเด่นด้านพหุวัฒนธรรมเมืองเบตงใต้สุดแดนสยาม


จากข้อมูลประชาสัมพันธ์เทศบาลเบตง อธิบายถึง “สตรีทอาร์ต “เป็นภาพวาดบนกำแพงที่เคยมีอยู่จำนวนหนึ่งแล้วในเบตง และได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักท่องเที่ยว เมื่อต้นปีที่2562 มีการระดมศิลปินมาวาดเพิ่มเติมอีกกว่า 30 ภาพ เพื่อสะท้อนเรื่องราวของคนเบตง เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมอาหาร ผ่านเส้นทางเดินเท้าที่ลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ ที่ทำให้เห็นว่าเมืองเล็กๆ แห่งนี้มีเสน่ห์เหลือล้น”
ครับทั้งกรมประชาสัมพันธ์และหลายๆสื่อยืนยันตรงกันว่า “วันหยุดพิเศษสุดปัง! นักท่องเที่ยวแห่เข้า “เบตง” จนล้น ดึงเศรษฐกิจกลับมาคึกคักอีกครั้ง   (บันทึกวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563).
หมายเหตุ
1.ประมวลภาพใน https://www.facebook.com/1245604111/posts/10224623251829153/?d=n
2. เมืองเบตง วิถี 3 วัฒนธรรมและสตรีทอาร์ต ตามจุดต่าง ๆ ชมคลิปใน

 2,121 total views,  2 views today

You may have missed