อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
สามวันสองคืน (17 -19 พฤศจิกายน 2563) กับเป้าหมายหลักพาครอบครัวไปสกายวอล์คอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ผู้เขียน ออกเดินทางจากจะนะ จังหวัดสงขลา เวลา 9.00 น. ที่แรกที่แวะจอดคือ รับประทานอาหารเที่ยง เวลาประมาณ 12.30 น.พร้อมชมทิวทัศน์อันสวยงาม ใต้ศาลาบนเขา ชมทะเลสาบ ฮาลาบาลา ของเขื่อนบางลางในเขตอำเภอธารโต หลังจากนั้นลงมาถ่ายรูป สะพานแม่หวาด เป็นสะพานข้ามเขื่อนบางลาง บริเวณบ้านคอกช้างกับบ้านกระป๋อง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา โดยถนนสายนี้เป็นเส้นทางเชื่อมถนนหมายเลข 410 ส่วนที่ลัดเลาะบริเวณท้ายเขื่อน ที่มีความคดเคี้ยวเข้าด้วยกัน ถ้าใช้เส้นทางนี้โดยประหยัดเวลาในการเดินทาง จึงทำให้นักท่องเที่ยวทุกคนอดไม่ได้ที่ลงถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เสร็จจากถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเราก็ขับรถ เข้าที่พัก ที่34 โฮมสเตย์ อันเป็นหนึ่งในโฮมสเตย์ธุรกิจชาวบ้านที่มีเรียงรายตลอดถนนสายนี้ หลังจากนั้นเวลา ประมาณ 15.30 เราก็ออกเดินทางไปแช่น้ำร้อนที่บ่อน้ำร้อนนากอ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตงเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ได้รับการพัฒนา เป้นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะสถาปัตยกรรมก่อสร้าง ที่ออกแบบโดยยึดศิลปะ ของแหลมมลายู ผสมผสานกับเครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ แบบราชวงศ์หมิง เอกลักษณ์การผสมผสานวัฒนธรรม มลายู-จีน ในอำเภอเบตง โดยแท้จริง บ่อน้ำร้อนนี้เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติขนาดใหญ่ เป็นบ่อน้ำร้อนที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุมากมาย มีอาณาบริเวณประมาณ 3 ไร่ จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่นี่ซึ่งเป็นชาวบ้าน อธิบายว่า “น้ำพุร้อนทีนี่เดือดขึ้นมาจากพื้นดินสามารถต้มไข่สุขภายใน 3 นาที และสามารถบำบัดโรคปวดเมื่อยโรคเหน็บชา โรคผิวหนังจึงไม่แปลกที่จะมีผู้คนทั้งในพื้นที่และนักท่องเที่ยวมาเยือน ก่อนโควิดก็มีชาวมาเลเซียด้วย” พอคำ่ พวกเราก็กลับไปที่พักเพื่อเก็บแรงขึ้นเขา เวลา 4.00 ของอีกวัน “สกายวอล์คอัยเยอร์เวง เพื่อดูหมอกและสัมผัสบรรยากาศยามเช้า (อ่าน “สกายวอล์คฯ อัยเยอร์เวง” สุดคึกแต่ต้องปรับปรุงอีกแยะ “ 5 กลยุทธการท่องเที่ยวโดยชุมชมอย่างยั่งยืนคือทางรอด”อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/http://spmcnews.com/?p=35009 )
เสร็จภารกิจที่สกายวอล์ค เราก็ขับรถลงเขา ตรงไปที่สะพานแขวนไม้แตปูซู สะพานนี้ไม่เพียงแต่ใช้สัญจรไปมาระหว่างชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความรักความสามัคคีของคนในชุมชนชาว กม.32 อีกด้วย โดยในอดีตชาวบ้านที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำปัตตานีมีความยากลำบากในการเดินทาง ซึ่งในยุคนั้น ต้องใช้แพไม้ไผ่ในการข้ามไป-มา การขนย้ายผลผลิตการเกษตรหรือคนป่วย ก็ยากลำบาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และทำให้เด็กๆต้องเสียชีวิตทุกปี ท่านอดีตกำนันในสมัยนั้นได้เล็งเห็นถึงความยากลำบากดังกล่าว จึงได้ช่วยกันระดมพลังและเงินสมทบจากชาวบ้านร่วมกับราชการ ร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างจนสำเร็จ หลังจากนั้นเราขับรถ
ขึ้นอีกเขาไปเยี่ยมชมสนามบิน เบตง ที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่เปิดใช้บริการ อย่างไรก็แล้วแต่มีผู้คนไม่น้อยมาถ่ายรูปที่ระลึกสนามบินแห่งนี้ อันเป็นสนามบินที่ให้เกียรติคนปตานี /ชายแดนภาคใต้มากๆเพราะมีป้ายประชาสัมพันธ์ภาษามลายูอักษร ยาวี ทุกป้ายทำให้ผู้เขียนนึกถึงสนามบินนานาชาติบูรไนที่เคยไปเยือนมาสามปีที่แล้ว
“สนามบินเบตง” แม้จะเล็กแต่สวยหรู ที่ตกแต่งด้วยไม้ไผ่ หนึ่งเดียวในไทย
“สนามบินเบตง” หรือ “ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง” ตั้งอยู่ที่ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยห่างจากตัวเมืองเบตงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ ลำดับที่ 29 สังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และนับเป็นท่าอากาศยานแห่งที่ 39 ของประเทศไทย หลังจากนั้นเวลา ประมาณ 12.30 เราขับรถมุ่งตรงไป มัสยิดกลางเบตงเพื่อทำศาสพิธีละหมาด รวม “ซุฮร์กับอัสร์”
มัสยิดนี้ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล อำเภอเบตง เดิมมัสยิดกลางสร้างด้วยเสาไม้กลม 6 ต้น ใบจาก 6 ลายา ( ตับ )
หลังจากพวกเราก็รับประทานอาหารเที่ยงที่ร้านอาหารมาเรียม เป็นร้านอาหารฮาลาลร้านหนึ่งที่ร่วมโครงการรัฐบาล คนละครึ่ง พวกเรา กว่า 17 ชีวิต ใช้บริการเเละยังซื้อหมี่เบตงกลับจะนะราคา ประมาณ สามพันแต่จ่ายแค่ 1,500 บาท เสร็จจากรับประทานอาหารอิ่มท้องเพิ่มพลังเราก็ขึ้นเขา ไปศึกษา ประวัติศาสตร์ “อุโมงค์ปิยะมิตร”
อุโมงค์ปิยะมิตร ตั้งอยู่ที่ บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอุโมงค์ดินที่อดีตขบวนการคอมมิวนิสต์มลายาสร้างขึ้น สำหรับเป็นฐานปฏิบัติการต่อสู้ทางการเมือง แต่ต่อมาได้กลับมาร่วมพัฒนาชาติไทย อุโมงค์ปิยะมิตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2519 ใช้หลบการโจมตีทางอากาศและสะสมเสบียง ในปัจจุบันได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในอดีต
การไปชมอุโมงค์ปิยะมิตร พวกเราต้องเดินเท้าเข้าไป ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจะถึงตัวอุโมงค์ โดยจัดทำเป็นเส้นทางเดินแบบบันไดตลอดเส้นทางภายใต้ร่มเงาของพรรณไม้กำบังแดดได้เป็นอย่างดี อันเป็นคุณค่าการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินไปพวกเราคนมีอายุมีเหนื่อยบ้าง ระหว่างทางจึงหยุดแวะ
ตามจุดแวะต่างๆ ทางเข้าอุโมงค์มีหลายทาง โดยเรียกชื่อ อุโมงค์ที่ 1 2 3 4 5 6 โดยมีทางออกทั้งหมด 6 ทางกระจายไปตามจุดต่างๆ จะเลือกเข้าชมอุโมงค์ไหนและออกตรงจุดไหนก็ได้ แต่ผู้เขียนออกที่ทางออกอุโมงค์ ที่ 1 ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด(เพราะสุขภาพผู้เขียน)เดินออกมา เดินตรงไปชมต้นไม้(ต้นไทร)พันปีต่อ ออกที่นี่พวกเราขึ้นเขาสูงขึ้นไปชม “สวนหมื่นบุปผา”หรือเรียกว่า สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 ต.ตะเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวแห่งเดียวในภาคใต้ เนื่องจากเบตงมีสภาพอากาศที่เหมาะสม ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางราว 800 เมตร มีอากาศเย็นสบายตลอดปี ระบบน้ำเพียงพอ จึงมีความเหมาะสมกับการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวนานาชนิด สวนดอกไม้นี้อยู่ท่ามกลางภูเขา ในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีดอกไม้นานาพันธุ์บานสะพรั่ง คอยเชื้อเชิญผู้มาเยือน ความสวยงามของดอกไม้ที่ปลูกเรียงรายเป็นทิวแถวเย้ายวนให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม และสัมผัสกับสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่อื่นของภาคใต้
เสร็จจากที่นี่คำ่พอดีรู้สึกเหนื่อยอยากผ่อนคลายพวกเราก็ไปแช่น้ำร้อนทั้งตัว ที่
“บ่อน้ำพุร้อนเบตง” ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ จังหวัดยะลา เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติขนาดใหญ่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ โดยจะมีน้ำร้อนผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ประมาณ 80 องศาเซลเซียส สามารถต้มไข่ไก่ได้จนสุกภายประมาณ 10 นาที หลังจากผ่อนคลายแล้วก็รู้สึกหิวกว่าจะเจอร้านอาหารฮาลาลที่มีคนไม่มากก็ไม่มีทุกร้านเต็มหลังขับรถเวียนก็ต้องรีบตัดสินใจลงจอดที่ร้านอาหาร “ครัวเก๊าะ”แม้คจะเต็มร้าน จำเป็นต้องรอ ผู้เขียนไม่รอช้าสั่งหมี่เหลืองเบตง(ผัดซีอิ๊วซีฟู้ด)
สำหรับผัดหมี่เบตง” หมี่อบแห้งสีเหลืองไข่ ซึ่งเป็นของดีขึ้นชื่อของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา หมี่เบตงเป็นบะหมี่เส้นแห้งม้วนเป็นก้อนเก็บไว้ได้นาน การทำผัดหมี่เบตงให้อร่อยทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เตรียมความพร้อมของวัตถุดิบและฝีมืออันเป็นเสน่ห์ปลายจวักที่กวักมือเรียกท่องเที่ยวมาชิม หลังจากนั้นขับรถเวียนรอบเบตงยามคำ่คืน ถ่ายรูปสถานที่สำคัญและมีผู้คนคึกเช่นวงเวียนหอนาฬิกาเบตง Landmark สำคัญของเมืองเบตง อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ที่ประดับดาไฟตกแต่งสวยงาม และไม่เหมือนกัน ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับวันที่ 3 วันสุดท้าย เราเช่าเรือชาวบ้าน 2 ลำพร้อมคนขับออกเดินทางจากท่าเรือตาพะเยา ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ล่องเรือในเขื่อนบางลาง มุ่งสู่ฮาลา-บาลา ฮาลา-เปรียบเสมือนแอมะซอนแห่งอาเซียน
ชมทัศนียภาพโดยรอบเป็นต้นไม้สูงใหญ่ล้อมรอบผืนน้ำสีเขียวเข้ม มีปลากะตักที่กระโดดขึ้นมาบนผิวน้ำเป็นระยะ ๆ จนมีตัวหนึ่งขึ้นมาบนเรือผู้เขียนและวิถีชีวิตของผู้คนที่เรือหนึ่งลำ เปรียบเสมือนมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์ ใช้เดินทางไปกรีดยางและส่งขี้ยางขาย
การล่องเรือจากท่าตาพะเยา จะผ่านเกาะทวดที่ชาวบ้านไทยพุทธให้ความเคารพนับถือ, บริเวณสันเขื่อนบางลาง จุดชมวิวจากมุมสูง ที่สังเกตเห็นหลังคาบ้านเรือนในขนาดเล็กมาก, หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 แหล่งเพาะพันธุ์ผีเสื้อ ที่นักท่องเที่ยวนิยมตื่นมาดื่มกาแฟชมความสวยงามยามเช้า เวลาประมาณ 12.30 ขึ้นฝั่งมุ่งตรงไปซื้อ ปลาส้มคอกช้าง เพื่อรับประทานและฝากญาติๆที่จะนะ
ปลาส้มนี้ดังขึ้นชื่อมาจากปลาตะเพียนตามที่ผู้บริโภคต้องการมีลักษณะเนื้อปลาแข็ง ไม่ยุ่ย และมีสีชมพู มีกลิ่นกระเทียมและกลิ่นเปรี้ยวไม่แรง- ชิ้นปลาส้มสมบูรณ์ไม่แตก- ข้าวเหนียวนึ่งบนตัวปลาสัม บานออกและแยกเป็นเม็ดเต็ม ติดอยู่บนตัวปลา เสร็จจากซื้อปลาเราก็มุ่งหน้าไปรับประทานอาหารเที่ยงและเล่นนำ้ตกธารโตเป็นภารกิจสุดท้ายและกลับถึงบ้านจะนะเวลา 20.00 น.โดยสวัสดิภาพ(ขอบคุณอัลลอฮ )
สำหรับบทเรียนทริป สามวันสองคืนนี้ คือความสามารถในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวที่สกายวอล์ค อัยเยอร์เวง กับที่อื่นๆเพราะโดยธรรมชาติไมมีใครหรอกที่จะเที่ยว”สกายวอล์ค อัยเยอร์เวง”อย่างเดียว จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า “ความเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยว มี 4 -5 มิติ คือ (1) มิติด้านวิถีชีวิตชุมชน (2) มิติด้านวัฒนธรรม และศาสนา (3) มิติด้านประวัติศาสตร์ และ (4) มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติ (5)อื่นๆ
ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) มุ่งพัฒนากิจกรรมการท่องเท่ียวของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย บนพ้ืนฐานของทรัพยากรชุมชน และไม่ขัดกับจริต และ
วิถีชีวิตของคนในชุมชน 2) การจัดการท่องเท่ียวต้องสร้างประโยชน์ รายได้ และคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น
ของคนในท้องถิ่น ต้องมีการจัดระบบไม่ให้คนนอกเข้ามากอบโกยผลประโยชน์มากจนเกินไป และ 3) รัฐต้องมีการจัดสรรงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาการท่องเท่ียวอย่างเหมาะสม
หมายเหตุประมวลภาพและคลิปใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10224604159311852/?d=n
1,186 total views, 17 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.