มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ทำไมกรมโยธาธิการต้องไม่เปลี่ยนสีผังเมืองจากสีเขียวเป็นม่วง “จะนะเมืองอุตสาหกรรม”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ตามที่เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 โดยมีวาระการประชุม ที่สําคัญคือ การอนุมัติ แก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2559 ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อรองรับการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยอ้างว่าเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เรื่องสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2563 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมโยธาธิการและผังเมือง และจังหวัดสงขลาดําเนินการปรับปรุง การใช้ประโยชน์ที่ดินในส่วนพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชน 3 ตําบล (ตําบลนาทับ ตําบลสะกอม และตําบลตลิ่งชัน อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา) ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นท่ี ตามแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชนและผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามที่ศูนย์อํานวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
ผู้เขียนได้พูดคุยกับดร.มังโสด หมะเต๊ะในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะซึ่งไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการทางกฎหมายในการเปลี่ยนสีผังเมืองครั้งนี้และพิจารณาผ่านมติคณะกรรมการระดับจังหวัดตามที่เป็นข่าวนั้น ซึ่งดร.มังโสด หมะเต๊ะชี้แจงว่า
“ทำไม
ประเด็นความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแก้ไขผังเมืองจะนะ”มีดังนี้
1. การดำเนินการขอแก้ไขผังเมือง ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ.๒๕๖๒ ที่กำหนดไว้ใน อย่างน้อยตาม มาตรา ๓๕ มาตรา ๒๗ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๗ เนื่องจากกฎหมายกำหนดเงื่อนไข คือ
– การแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วน จะต้องดำเนินการ
o เนื่องจากสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งกรณีจะนะ ไม่ได้เป็นไปเรื่องจากสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด และไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากจะนำเอาเขตอุตสาหกรรมไปให้กับภาคเอกชน ๒ บริษัทเท่านั้น
o อีกทั้ง ขัดต่อนโยบายของจังหวัดที่ไม่ได้หนุนเสริมเรื่องอุตสาหกรรมแต่อย่างใด
– ผู้เสนอแก้ไขจะต้องเป็น กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือ เจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นผู้เสนอต่อคณะกรรมการผังเมือง หรือคณะกรรมการผังเมืองจังหวัด พิจารณา เท่านั้น แต่กรณีของจะนะเป็นไปโดย ศอ.บต. ไม่ใช่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามบทบัญญัติมาตรา ๔
– กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการแก้ไข จะต้องนำเอา มาตรา ๒๗ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับ กล่าวคือ
o ก่อนเสนอไปยังคณะกรรมการผังเมืองจังหวัด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอแก้ไขต้องขอความเห็นไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง และ เสนอความเห็นพร้อมเหตุผลของกรมโยธาธิการและผังเมืองไปยังคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดเพื่อพิจารณา ในกรณีที่คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดไม่เห็นด้วยกับความเห็นของกรมโยธาธิการและผังเมืองและไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดเสนอประเด็นที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้นั้นให้คณะกรรมการผังเมืองพิจารณา เมื่อคณะกรรมการผังเมืองพิจารณาเป็นประการใดแล้ว ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น
o ในกรณีที่คณะกรรมการผังเมืองเห็นว่าผังเมืองรวมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางและจัดทำไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือมาตรฐานเกี่ยวกับการผังเมือง หรือไม่เหมาะสมด้วยเหตุอื่นใดอันอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ให้คณะกรรมการผังเมืองมีอำนาจสั่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นแก้ไขพร้อมกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไขในคราวเดียวกันด้วย หรือจะสั่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุติการวางและจัดทำผังเมืองรวมดังกล่าว และสั่งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทาแทนก็ได้
– เมื่อคณะกรรมการผังเมืองหรือคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดเห็นชอบ ให้มีการปิดประกาศแผนที่แสดงเขตของผังเมืองที่แก้ไข ไม่น้อยว่า ๓๐ วัน นับแต่วันประกาศ และให้เชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร

2. การดำเนินการแก้ไขผังเมือง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๕ ที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐต้องพิจารณาข้อเสนอแนะโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณา และการทำยุทธศาสตร์ชาติจะต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง

3. การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ไม่เป็นไปตามขั้นตอนแห่งพระราชบัญญัติผังเมืองดังกล่าวในข้อ ๒ และไม่เป็นไปหลักการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘”ด้วยเหตุดังกล่าวขอให้กรมโยธาธิการพิจารณาให้ดีว่าจะมีมติ ผ่านหรือ
ไม่ผ่าน แต่สำหรับภาคประชาชนมองว่าต้องไม่ผ่านการเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะจากสีเขียวเป็นสีม่วงที่ผลักดันเสนอผ่านจังหวัดสงขลาเพราะไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายไม่ว่าจะพิจารณาจากเจตนารมณ์กฎหมายไทย มาตรฐานสากลและหลักธรรมาภิบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนผังเมือง”

สำหรับการแก้ไขผังเมืองรวมเพื่อรองรับโครงการ “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” ครั้งนี้
นอกจากจะเป็นโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยง สูงในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิตของประชาชน ไม่เพียงแต่อำเภอจะนะแต่ทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการเรียกร้องสู่สัจธรรมเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกองค์กรชายแดนภาคใต้
ดูสารคดีข่าวเพิ่มเติมใน

 860 total views,  2 views today

You may have missed