เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

จากIslamophobia ฝรั่งเศสสู่ Islamic Movment Phobiaที่ซาอุดีอาระเบียและจุดยืนผู้รู้ในอิสลามยุคการสื่อสารไร้พรมแดน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


หนึ่ง
Islamophobia ด้อยค่าโดยโจมตีอิสลามโดยต่างศาสนิก
คำว่า Islamophobia หมายถึงโรคหวาดกลัวอิสลาม ซึ่งเคยมีนักวิชาการเขียนในเรื่องนี้มากรวมทั้งผู้เขียน(โปรดดูบทความผู้เขียนใน https://www.publicpostonline.net/2460)
แต่ที่ดังช่วงนี้ก็น่าจะเป็นคำกล่าวหาของผู้นำฝรั่งเศสแบบเหมารวมที่มองว่า อิสลามคือศาสนาของความรุนแรงและก่อการร้ายมิหนำซ้ำยังปกป้องผู้ที่นำการ์ตูนล้อเลียนศาสนฑูตมุฮัมมัด จนโลกมุสลิมทั่วโลกออกมาประณามและบอยคอตต์สินค้าฝรั่งเศส (อ่านเพิ่มเติมบทความผู้เขียนใน https://www.matichonweekly.com/column/article_369630?fbclid=IwAR0gRJmOe_0utQWB-bA_bA9Rrg3WUA2j8DYM7ii3TY-E_MCQj-SeIpoYT34)
สอง
Islamic Movment Phobia (โรคหวาดกลัวขบวนการอิสลาม)ด้อยค่าด้วยฟัตวา “ก่อการร้ายโดยผู้รู้มุสลิม”
สำหรับคำว่า Islamic Movment หมายถึงขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามโดยเฉพาะขบวนการอิควานมุสลิมูนหรือภราดรภาพมุสลิมซึ่งสภานักวิชาการอาวุโสในราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียฟัตวา (วินิจฉัย)ว่า ขบวนการนี้
เป็นขบวนการก่อการร้ายผิดหลักการอิสลาม ทำให้องค์กรภาคประชาชนของบรรดาปราชญ์โลกอิสลามไม่ว่าสหพันธ์ปราชญ์โลกมุสลิมและปราชญ์โลกอิสลามหลายประเทศออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำประกาศของสภานักวิชาการอาวุโสในราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียนี้และกำลังเป็นข้อถกเถียงดังในโลกโซเชี่ยลมุสลิมโดยเฉพาะจากนักวิชาการและวัยรุ่นคนหนุ่มสาวมุสลิมรวมทั้ประเทศไทย

เป็นที่น่าสังเกตว่า คำประกาศนี้ สะท้อนในทางการเมืองว่าผู้ปกครองซาอุดีอาระเบียปัจจุบันกลัวจะเสียอำนาจหากประชาชนเห็นด้วยกับขบวนการนี้และเเน้วโน้ม จะเป็นเช่นนั้นไม่เพียงแต่ซาอุดีอาระเบียเท่านั้นซึ่งหลายๆประเทศอาหรับก่อนหน้านี้ผลการเลือกตั้งสะท้อนเป็นเช่นนั้น อีกประการหนึ่งจึงไม่แปลกที่ หลายๆประเทศ ใช้องค์กรศาสนาที่รัฐบาลสนับสนุน “สร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลจัดการกลุ่มเห็นต่าง”ตามบริบทที่ต่างกันจนนำไปสู่การเรียกร้องให้ปฏิรูปองค์กรศาสนาเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนมากกว่าอำนาจของกลุ่มตนเองและรัฐบาล
สำหรัขบวนการ”ภราดรภาพมุสลิม” คือ การสร้างรัฐภายใต้ อิสลามานุวัตร ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยกล่าวคือเป้าหมายคือการสร้างรัฐอิสลามอุดมคติในยุค โลกาภิวัตร โดยใช้กระแสกระบวนการประชาธิปไตยแบบ(ศึกษาเพิ่มเติมบทความผู้เขียนใน https://prachatai.com/journal/2011/02/33089)
อาจารย์มูฮำหมัดนาเซร์ หะบาเย ผู้อำนวยการสถาบันอัสสลามให้ทัศนะว่า
“การใช้อำนาจ เพื่อหวังสกัดและทำลายขบวนการอิสลามในประเทศอาหรับ ไม่ค่อยได้ผลต่อคนรุ่นใหม่มากนัก เพราะ คนรุ่นใหม่ เขาหาข้อมูลได้ ขับเคลื่อนได้โดยไม่แคร์ (สนใจ)คำฟัตวา(วินิจฉัย)ที่ไร้เหตุผล

คนมุสลิมรุ่นใหม่ต้องการแสวงหาความจริง ความเป็นธรรม ความเสมอภาคและระบบการเมืองที่ไม่ทำให้ประชาชาติอิสลามล้าหลัง เป็นเบี้ยล่างให้กับประเทศมหาอำนาจมันเป็นสิ่งท้าทายต่ออำนาจของรัฐเผด็จการอาหรับมาก ที่คนรุ่นใหม่หันไปนิยมตุรกี (ภายใต้การนำรัฐบาลโอรดุอานที่มาจากการเลือกตั้ง)ซึ่งเป็นแนวอิควาน (ขบวนการภราดรภาพมุสลิม)มีแนวนโยบายที่โดนใจคนหนุ่ม คนสาวมุสลิมทั้งในเรื่องนโยบายต่อประเทศตะวันตก การพัฒนาด้านการทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา เป็นต้น

คำฟัตวาที่ไร้เหตุผล มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไม่สอดคล้องและไม่ตอบโจทก์ปัญหาของประชาชาติ จะเป็นคำฟัตวาที่เป็นกระสุนด้าน ไม่สามารถสกัดกั้นขบวนการฟื้นฟูอิสลามได้เลย

อุลามาอ์(ผู้รู้หรือปราชญ์อิสลาม)ร่วมสมัย ควรเอาเวลาไปศึกษาและวิจัย เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมสมัยของประชาชาติอิสลาม อย่ามัวเสียเวลากับเรื่องเก่าๆเดิมๆเลย ที่มีแต่จะบั่นทอนให้มุสลิมอ่อนเปลี้ยลง”
อย่าลืมยุคการสื่อสารปัจจุบันทุกคนมีสื่อในในมือ และไร้พรมแดน (แต่สำหรับประเทศเผด็จการอย่างซาอุดีอาระเบียอาจถูกปิดกั้น)ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ประชาชน นักวิชาการที่มีอุดมการณ์จะออกมาทักท้วงสิ่งที่ไม่ชอบธรรมแม้จะทำในนามองค์กรศาสนา พวกเขารู้ว่าใครคือผู้รู้ที่เที่ยงธรรม เพราะผู้รู้ “

มีหน้าที่ชี้ทางนำให้ประชาชน

ไม่วินิจฉัยหลักการศาสนาเพื่อธงของอธรรมของผู้มีอำนาจ ไม่ประจบสอพลอ ยกย่องผู้นำ ผู้มีอำนาจเกินฐานะและกล้าติเพื่อก่อ ไม่ทำให้การวิพากษ์กลายเป็นการด้อยค่า ผู้รู้คือ

มนุษย์คือปุถุชน มีผิดมีถูก
และวิพากษ์ได้เพราะไม่มีใครได้รับการคุ้มครองให้พ้นบาป​ (มะซูม)​ หลังจากศาสนทูตคนสุดท้ายจากไป กล้าปกป้องตามหลักวิชาการปกป้องผู้ถูกอธรรม
ช่วยเหลือตามหลักการอิสลามคือช่วยป้องกันมิให้คน​ ๆ​ หนึ่งอธรรมต่อผู้อื่นและเมื่อต้องต่อสู้ก็จงต่อสู้เพื่อค้ำจุนความเป็นธรรม”

 748 total views,  2 views today

You may have missed