อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ผู้เขียนเคยได้รับการอบรมสัมมนาเรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืนหลายต่อหลายครั้งโดยเฉพาะ การนำเครื่องมือการพัฒนาที่ยั่งหรือ SDG (Sustainable Development Goal) เมื่อ
ดูตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้อบรม เกิดความสงสัยในใจว่า ทำไมมันค้านกับโครงการมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีประยุทธ์จันทร์โอชา แถลงไว้ที่สภาผู้เเทนราษฎร แต่ไม่สามารถทำตามที่แถลงไว้
(ดูได้ในรายงาน https://m.youtube.com/watch?v=rxWqvVrG3ao)
สำหรับกลุ่มทรัพยากร (อาหาร น้ำ และพลังงาน) ว่าเป็นต้นทุนสำคัญพื้นฐานในการดำรงชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ทำให้เกิดความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ เช่น การลดความยากจน การมีสุขภาพที่ดี เราเอาน้ำ อาหาร พลังงานมาใช้เพื่อการผลิตและบริโภค แต่ในระบบเศรษฐกิจจะมีคนบางกลุ่มเข้าถึงและบางกลุ่มก็เข้าไม่ถึงทรัพยากรเหล่านี้ ในขณะเดียวกัน การเอาทรัพยากรมาใช้อย่างไร้ขีดจำกัดและกระบวนการผลิต/รูปแบบการบริโภคอย่างไร้ความรับผิดชอบก็ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายกลุ่มสิ่งแวดล้อม (สภาพภูมิอากาศ มหาสมุทร และพื้นดิน) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดพรมแดนแห่งพิภพ (PLANETARY BOUNDARIES) ว่าเราไม่สามารถอยู่บนโลกนี้อย่างยั่งยืนได้หากการกระทำของมนุษย์สร้างผลกระทบซึ่งเกินขอบเขตที่สิ่งแวดล้อมจะรับไหว สภาพภูมิอากาศ ระบบนิเวศน์ทางทะเล และระบบนิเวศน์ทางบกที่ถูกทำลายอาจจะไม่สามารถทำหน้าที่ป้อนทรัพยากรให้กับเป้าหมาย กลุ่มเศรษฐกิจ (การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เมืองยั่งยืน โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และนวัตกรรม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน) ได้อีกต่อไป
เมื่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมย่ำแย่ ระบบเศรษฐกิจก็จะไม่สามารถทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรและจัดการการผลิตเพื่อความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม มีคนบางกลุ่มเข้าถึงและร่ำรวยจากระบบนี้ ในขณะที่มีคนอีกจำนวนมากมายถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ยากจน เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ อดอยาก ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีการศึกษา และไม่มีงานทำ ซึ่งก็คือเป้าหมายทางสังคม ทั้งนี้ เป้าหมายกลุ่มสุขภาพและการศึกษา จึงเป็นทั้งหนทางและเป้าหมาย เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นทั้งเป้าหมายของการอยู่ดีมีสุขและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย
ดังนั้น จึงพบว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืนยังไม่ไปด้วยกันระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติซึ่งจะนำความขัดแย้งระหว่างภาคประชาชนในชุมชนในทุกๆโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐและยังเป็นความท้าทายของของรัฐอีกต่อไปเช่นโครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรม”
ดร.มังโสด หมะเต๊ะ ให้ทัศนะว่า “โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรมมีเป้าหมายพัฒนาเพื่อความมั่นคง ความมั่งคั่ง และยั่งยืนมิได้เพราะ
ความไม่ชอบธรรมถึงวิธีการการทำงานของรัฐหรือ ศอบต.ต่อโครงการนี้หลายประการ
1.กระดุมเม็ดแรกเริ่มผิดในการอนุมัติโครงการจากการขาดเอกสารหรืองานวิจัยที่น่าเชื่อถือ
2.การติดกระดุมเม็ดที่ 2 ผิดอีก เมื่อการลงพื้นที่ในการให้ความรู้แก่ประชาชน ศอ.บต.พูดถึงความคาดการณ์สิ่งดีๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพื่อประชาชนได้ประกอบการตัดสินใจและศอ.บต.ขาดการปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กรต่างๆที่มีอยู่ในพื้นที่
3.กระดุมเม็ดที่ 3 ตอกย้ำความผิด เมื่อศอ.บต.จัดเวที่รับความคิดเห็นเห็นเพียงพิธีกรรม
4.กระดุมเม็ดต่อไปยิ่งหนักไปใหญ่เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองเดินหน้าเพื่อเสนอเปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วง
อ่านเพิ่มเติมใน
1. https://medium.com/intermingle-in-trang/sdgs-เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน-b68e02ddc965
2.
http://osthailand.nic.go.th/files/policy_sector/File_Download/204_Indicator_SDGs.pdf
หมายเหตุ
อาจารย์โซรายา จามจุรี รายงานว่า “ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจชต. (ศป.ดส.) เป็นองค์กรภาคี ร่วมกับสำนักงานสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย สภาประชาสังคมชายแดนใต้ SDG MOVE สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)วิทยาเขตปัตตานี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประยุกต์ใช้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการติดตามและประเมินผลการพัฒนาชายแดนใต้ มีผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากภาคประชาสังคมและนักวิชาการจำนวน 60 คน ที่ห้องประชุมคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เมื่อ 23-24 ต.ค.2563
กิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG (Sustainable Development Goal) สามารถนำ SDG ไปปรับประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานของตนเอง และการวางแนวทางการติดตาม/ประเมินผลการพัฒนาชายแดนใต้
เมื่อเดือนก.ย. 2558 ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 193 ประเทศ ที่ได้ลงนามรับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 ที่เสนอโดยองค์การสหประชาชาติ กำหนดบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลา 15 ปี ประกอบด้วย 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมี 169 เป้าหมายเฉพาะเจาะจง และ 230 ตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
3,498 total views, 2 views today
More Stories
วิถีชุมชน มาแกนาซิเมาะโนะ พหุวัฒนธรรมชุมชนต้นแบบพุทธ-มุสลิม
ในหลวงพระราชทานดินฝังศพเป็นกรณีพิเศษ แก่ นายเจ๊ะมูหามะญากี เจ๊ะเด็ง ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 บ้านดอนรัก เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ขณะช่วยเจรจากับผู้ก่อเหตุรุนแรง
ปรากฏการณ์ใหม่ยกระดับและเสริมศักยภาพสตรี ผ่านกิจกรรมแคมป์ปิ้งในงานเลดี้แคมป์ 2022