เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คำถามคาใจ “ทำไมติดป้ายรำลึก16 ปีตากใบจึงผิด “

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


จากโลกโซเชี่ยลที่มีการรายงานข่าว
๐ “เยาวชนแขวนป้ายรำลึกเหตุการณ์ตากใบ ถูกยึดโทรศัพท์ระหว่างสอบปากคำพร้อมทั้งปรับตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
.
.กล่าวคือ 25 ตุลาคม 2563 กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) ได้จัดกิจกรรมติดตั้งป้ายผ้าในพื้นที่ 8 ภูมิภาค ทั้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้และกรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 16 ปีก่อน
.
โดย(26 ต.ค.63) เวลาประมาณ 8.30 น. ได้รับแจ้งว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจำนวน 4-5 รายได้เดินทางไปเยี่ยมบ้านเยาวชนคนหนึ่งในจังหวัดยะลา หลังจากที่ได้นำป้ายรำลึกการสลายการชุมนุมตากใบไปติดในบริเวณพื้นที่อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยทางเจ้าหน้าที่สอบถามว่า เป็นคนนำป้ายไปแขวนหรือไม่ เมื่อเยาวชนคนดังกล่าวยอมรับ เจ้าหน้าที่จึงได้บอกว่า มีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ และขอเชิญตัวไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ หลังจากนั้น เพื่อนของเยาวชนดังกล่าวแจ้งว่า ไม่สามารถติดต่อคนที่ถูกเอาตัวไปได้ และมาทราบภายหลังว่าตำรวจได้ยึดโทรศัพท์ในระหว่างการสอบปากคำ
.
เวลาประมาณ 16.30 น. ตำรวจ สภ.บันนังสตา ปล่อยตัวเยาวชนคนดังกล่าวแล้ว โดยเปรียบเทียบปรับตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ เป็นเงินจำนวน 500 บาท รวมถึงได้คืนโทรศัพท์ให้กับเยาวชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


iLaw ให้ทัศนะ ว่า
“ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การยึดโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระหว่างการสอบปากคำนั้น มีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
.
นอกเหนือจากกฎอัยการศึก มาตรา 9 ที่ให้อำนาจในการที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้อง เข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหะสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใด ๆ และไม่ว่าเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น

และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11(3) ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทําการหรือสนับสนุนการกระทําให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน

ซึ่งทั้งสองฉบับเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะแล้ว อำนาจในการตรวจยึดสิ่งของโดยเจ้าหน้าที่ โดยหลักจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


.
โดยในมาตรา 85 กำหนดว่า “เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอํานาจค้นตัวผู้ต้องหา และ ยึดสิ่งของต่างๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
สิ่งของใดที่ยึดไว้ เจ้าพนักงานมีอํานาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น”
.
อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่เกิดขึ้น เยาวชนถูกดำเนินคดีและเปรียบเทียบปรับตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ โดยจากการสอบถาม ไม่พบว่า เยาวชนดังกล่าวมีการขัดขืนหรือไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด รวมถึงการยึดสิ่งของอย่างโทรศัพท์ก็ไม่ใช่สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ความสะอาดฯ อันจะยึดไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐาน ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 ด้วย”
การทำอย่างนี้ของรัฐมันถูกกฎหมาย?ถ้าถูกอะไรคือประโยชน์ต่อกระบวนการสันติภาพ ได้มวลชนเพิ่มขึ้น? ยิ่งสร้างแนวร่วมมุมกลับหรือ ในความขัดแย้งที่กรุงเทพมหานครกฎหมายเองมิสามารถปฏิบัติได้ นายกรัฐมนตรีได้ส่งสัญญาณถอยก้าวสองก้าวทางการเมืองเพราะพิษการใช้กฎหมายที่ไม่ถูกที่ถูกเวลา ไม่นับรวมการที่รัฐจะทำผิดเสียเองในการขอเก็บ DNA ?แต่ถูกปฏิเสธเพราะในแง่กฎหมายเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจเก็บดีเอ็นเอจากบุคคลใดๆ รวมทั้งบุคคลต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นไม่ “ยินยอมด้วยความเต็มใจ” เช่น
(1) ผู้ถูกจับ ควบคุมตัวตาม กฎอัยการศึกหรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
(2) ผู้เข้าเกณฑ์ทหาร
(3) ผู้เข้าเมืองโดยไม่ผ่านด่าน
(4) ผู้เข้ารับการตรวจรักษาโรค
(โปรดดู https://crcfthailand.org/2020/06/02/เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีอำน/)
ปฏิบัติการเหล่านี้นอกจากเป็นคำถามคาใจคนในพื้นทีจชต.มันยังเป็นสายล่อฟ้าให้คนชุมนุมขับไล่รัฐบาลเอามาเล่นต่อ(ยกเว้นกองเชียร์รัฐบาลทั้งชายแดนภาคใต้และที่อื่นๆซึ่งสามารถเช็คเร็ตติงในสื่อโซเชี่ยลเช่นกัน)

 545 total views,  2 views today

You may have missed