พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

โควิดรอบใหม่มาเลเซีย ข้อเสนอแนะจากพื้นที่

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

แม้ขณะนี้ไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เฉพาะที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น แต่อย่าได้ประมาท เพราะประเทศทั้งเมียนมา และมาเลเซียเพื่อนบ้านของไทย กำลังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นประชิดติดชายแดนไทยทั้งเหนือ ตะวันออกและใต้ที่มีชายแดนยาวมากๆและมีช่องทางธรรมชาตินับพันๆจุดยากแก่การป้องกัน

อาจารย์รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ นักวิชาการชาวไทยเชื้อสายมลายูปาตานีปัจจุบันเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซียอธิบายสถานการณ์โควิดที่มาเลเซีย
ว่า “11/10/2020 ภาพให้เห็นถึงการระบาดของโควิด-19 ในมาเลเซีย ซึ่งเกิดขึ้นเป็น 3 ระลอก ดังนี้

ระลอกแรก – มาจากเคสอิมพอร์ตจากนักท่องเที่ยวชาวจีนและมีการระบาดในกลุ่มที่ใกล้ชิดแต่ยังไม่มีคนมาเลเซียในพื้นที่ติดโควิดจากกลุ่มนี้ ระลอกแรกเริ่มตั้งแต่ 4/1/2020 – 25/2/2020

ระลอกที่ 2 – เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ภายในประเทศ 3 คลัสเตอร์ ซึ่งก็เกิดจากเคสอิมพอร์ตเช่นกัน คือ
– คลัสเตอร์ UDA เคส 0 เป็นผู้บริหารบริษัทที่ไปประชุมที่เซี่ยงไฮ้ก่อนการระบาดใหญ่จะแพร่ในหลายประเทศ
– คลัสเตอร์ Sri Petaling เคส 0 มาจากนักศึกษาที่กลับมาจากเกาหลีใต้และไปร่วมงานชุมนุมทางศาสนาที่มัสยิด Sri Petaling คลัสเตอร์นี้ถือว่าเป็นคลัสเตอร์ที่ใหญ่สุด
– คลัสเตอร์ TDI
ระลอกนี้ เริ่มการระบาดตั้งแต่ 29/2/2020 – 2/7/2020

ระลอกที่ 3 – คือที่เกิดการระบาดในตอนนี้ เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ในซาบาห์และเกอดะห์ เริ่มตั้งแต่ 20/9/2020

” นอกจากนี้ท่านยังสะท้อนถึงวิกฤตโควิดรอบนี้ เมื่อดูสถานการณ์โลกที่ยังระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งกระทบต่อทุกประเทศในระยะยาวและเป็นวงกว้างในทุกด้าน มหาวิทยาลัยที่ท่านสอนก็ต้องปรับตัวต่อ ผลกระทบครั้งนี้ ส่งผลต่อคนงานไทย แรงงานไทย และนักศึกษาไทยที่เรียนที่มาเลเซียซึ่งเดินทางกลับไทยและจะไม่สามารถเข้ามาเลเซียยาวแน่แม้จะประกาศ จนถึง 31 ธันวาคม 2563 แต่อาจมีต่อหลังจากประกาศนี้ “มหาวิทยาลัยเรียนทางออนไลน์ยาวไปค่ะ แต่นักศึกษาต่างชาติก็โดนชะลอไม่ให้เข้ามาก่อนจนถึงสิ้นปี เด็กใหม่ก็เรียนออนไลน์ค่ะ คาดว่าน่าจะตลอดปีการศึกษา 2020/2021 ยิ่งตอนนี้ ที่UM(มหาวิทยาลัยมาลายา)ที่สอนอยู่ ยิ่งเข้มงวดมากๆเลย ดิฉันเป็นคนไทยที่สอนที่นี่ น่าจะ ไม่ได้กลับนานเลย ต้องปรับตัวและทำใจ”

ผู้บริหารโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา แจ้งว่า “นักเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ 5 คนซึ่งได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยUSAS มาเลเซียปีการศึกษา2020/2021 ได้ถอนตัวไม่ไปต่อเพราะวิกฤตโควิดมาเลเซียรอบใหม่ ในขณะเดียวกันอดีตนักศึกษาโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิอื่นๆที่ไปเรียนต่อม หาวิทยาลัยทั่วโลกไม่ว่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และโลกอาหรับรวมกับเพื่อนๆเขาอีกนับพันคนอยากให้รัฐช่วยพวกเขาในการโอนหน่วยกิตเพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทยเพราะการกลับไปเรียนที่ต่างประเทศน่าจะยากท่ามกลางวิกฤติโควิดทั่วโลก”
ผู้เขียนได้พบส่วนหนึ่งเจ้าของร้านอาหารไทยในมาเลเซียระบายทุกข์ว่า “เขาคงหมดโอกาสไปเปิดร้านอาหารต่อ แต่ค่าเช่าร้านก็ต้องจ่าย
ทุกเดือนถ้าสถานการณ์ในมาเลเซียเป็นแบบนี้ “
ในรายงานของไทยพีเอสพบว่า ที่ด่านนอก สะเดา จังหวัดสงขลา กระทบต่อเศรษฐกิจที่พึ่งคนมาเลเซียหรือคนไทยที่ทำธุรกิจข้ามแดนไปมา (โปรดดู
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10224315658939523/?extid=0&d=n)

นายทวีศักดิ์ ปิ หนึ่งใน คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการช่วยเหลือคนไทย ใน มาเลเซีย

กล่าวว่า “ณ สถานการณ์ปัจจุบัน อัตราตัวเลข ผู้ติดเชื้อ ของ มาเลเซีย ได้มีจำนวนไม่ลด

ส่งผลทำให้ คนไทย โดยเฉพาะคนชายแดนใต้ หมดกำลังใจ หมดความหวัง หมดความรู้สึก ต่อการเฝ้ารอ ที่จะเข้าไปทำงาน ในมาเลเซีย ในต้นปีหน้า ตามที่ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ประกาศไว้ ในก่อนหน้านี้ ว่าปิดด่านพรมแดน ยาวถึง ธันวาคม 2020

นั้นก็หมายความว่า ตลอดระยะเวลา ที่เหลือใคร ปี 2020 นี้ ไม่สามารถข้ามไป ทำงานได้แล้ว ใน ทุกกรณี

คนไทย ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับ มาเลเซีย มีจำนวนมาก

ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการและ ลูกจ้างร้านอาหาร ผู้ใช้แรงงาน หรือแม้กระทั่ง คนทำงานใน บริษัทระหว่างประเทศ เป็นอันต้องชะงักลง

หากว่า มี วีซ่า แล้ว ตัวเอง อยู่มาเลเซีย ก็ไม่อยากกลับไทย ยอมที่ไม่กลับมา เยี่ยมครอบครัว เยี่ยมญาติ เป็นเวลา 6 เดือนแล้ว เนื่องจาก หากกลับไทย ก็จะเข้าไป ในมาเลเซียไม่ได้แล้ว พวกเขา จึงเลือกงาน เลือกอาชีพที่ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้

หากพวกเราอยู่ในไทย เป็นอันว่า ต้องตกงาน เพราะ พรมแดนไม่เปิด หรือต้องหาอาชีพใหม่ทำ ซึ่งมีคนไทย จำนวน ไม่น้อยกว่า 50,000 อยู่ใน ระหว่างรอคอย กลับไป ทำงานใน ประเทศมาเลเซียอีกครั้ง

รวมทั้ง คนไทยที่ อยู่ตามชายแดนไทย ไม่ว่า จะเป็น สุไหงโกลก ตากใบ หรือ สะเดา พวกเขา ก็รอเวลาที่ด่านเปิดกลับมา อีกครั้ง เพราะตอนนี้ ไม่มี ผู้คนผ่านไป ผ่านมา ค้าขายก็ไม่ได้ หลายเจ้าเป็นอันต้องคืน แผนลอย ร้านค้า เนื่องจาก ทนกับ ค่าจ้างไม่ไหว

พวกเขาเหล่านี้ รอเวลาเพียงแค่ ด่านพรมแดนไทย-มาเลเซีย เปิดอีกครั้ง

หากดูตัวเลข ผู้ติดเชื้อ ของ มาเลเซียที่เพิ่มขึ้น ใน ช่วงนี้ ทำให้ พวกเขา สิ้นหวัง กับการรอคอย”
นอกจากนี้ท่านเสนอว่า

1. ให้ รัฐบาล ช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ ร้านค้า ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่ ทำค้าขาย ที่ ตลาดชายแดน ไทย-มาเลย์ เช่น ให้ทุนหมุนเวียน แบบกู้ หรือ ผ่อนพรน ค่าเช่า ร้านค้า แผนลอย

2. รัฐบาลต้องช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนให้ อยู่สภาพที่ ไม่นิ่งตาย

เช่น เปิดโครงการฯจัดแสดงสินค้า บริเวณตลาดชายแดน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจใน ช่วงเวลานี้

3. สำหรับ แรงงานมาเลเซีย คืนถิ่น ที่ กลับบ้าน แล้ว ตกงาน อยากให้ รัฐบาล จ้างงาน ใน ระดับชุมชน ให้ กับ พวกเขา


ในขณะที่ผศ.ดร.ชลิตา บันฑุวงศ์ ได้เสนอว่า

“จากงานวิจัยลงพื้นที่พบว่าควรให้เงินเยียวยาแรงงานไทยในมาเลเซียทั้งคนที่อยู่ในมาเลเซียและคนที่เดินทางกลับไทย เพื่อความยั่งยืน ควร

ทำข้อตกลงกับรัฐบาลมาเลเซียในการจัดการให้แรงงานไทยในมาเลเซียมีสถานะเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย

ในขณะเดียวกันเตรียมแผนรองรับเรื่องอาชีพและการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของแรงงานที่กลับบ้านเมื่อโควิดยาว”

ขอเชิญดาวน์โหลดเพื่ออ่านรายงานฉบับเต็ม ได้ที่
ไฟล์ PDF https://drive.google.com/open?id=1A_k7Sd6cK8nfSxgbj6g3qke1kojkodyo
ในขณะเดียวกันส.ส.ในฐานะคนได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนไม่ว่าฝ่ายค้านและรัฐบาล อาจต้องรวมทีมทำงานอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหานี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำได้ดีสามารถนำ
รายงานผลการดำเนินงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาต่อยอด แต่จะฝากเพิ่มขึ้น ใน2 เขตเลือกตั้งของห้าอำเภอสงขลา อันรวมถึงสะเดา และจังหวัดสตูลที่มีด่านและชายแดนติดกับมาเลเซียทั้งบนบกและทางนำ้

(โปรดดู
https://drive.google.com/file/d/1jIMTm0-kfhEyXlylpmTglV_E8nKzYf3h/view)

 1,339 total views,  8 views today

You may have missed