มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

อาจารย์ไฟศาล ดะห์ลัน “ต้นคิดกัมปงตักวา”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

อาจารย์ไฟศาล ดะห์ลัน หลานอะหมัด ดะห์ลัน (นักปฏิรูปสังคมอินโดนีเซีย)มาเยี่ยมบ้านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาสังคมโดยใช้อิสลามเป็นฐาน “ต้นคิดกัมปงตักวา”
คำว่า กำปงตักวา มาจากภาษามลายูที่แปลเป็นไทยว่า “ชุมชนศรัทธา “
“กำปงตักวา” เป็นแนวคิดที่ท่านมองว่าสังคมมุสลิมชายแดนภาคใต้มีจุดแข็งคือหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งมีโต๊ะอิหม่าม ผู้นำมัสยิดที่มีทุกชุมชนเป็นหัวใจ จิตวิญญาณหลัก ในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตชุมชนตั้งแต่เกิดจนตาย ด้วยปัจจุบันชายแดนภาคใต้มีผู้นำที่หลากหลายในพื้นที่ไม่ว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้นำศาสนา ผู้นำอื่นๆ ทำงานไม่บูรณาการกัน ดังนั้นหากจะสร้างชุมชนเข้มแข็ง น่าจะใช้ศาสนาเป็นจุดร่วมการพัฒนาโดยมีอิหม่ามนำ
ท่านไพศาล ลงพื้นที่ชายแดนภาคใต้ช่วงปลายปี48 -50 บรรยายแนวคิดนี้ต่อหลากหลายองค์กรจนสุดท้ายหน่วยงานรัฐอย่างศอ.บต.ให้ท่านเป็นที่ปรึกษาพัฒนาเป็นโมเดลนี้ กับชุมชนต่างๆช่วงปี51-53 ถ้าจำไม่ผิด ช่วงปี 54 ทางพอช.ของ
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ก็ได้นำแนวคิดไปต่อยอดในโครงการบ้านมั่นคง รวมกับประชาสังคมชายแดนภาคใต้ จนท้ายที่หน่วยความมั่นคงนำโดย พลตรีชิณวัตร แม้นเดชเอาไปขับเคลื่อนในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายและยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในเว็ปไซด์กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า
อธิบายว่า “นอกจากความเข้มแข็งของกองกำลังภาคประชาชนในการป้องกันตนเองแล้ว ความเข้มแข็งจากภายในอันเกิดความมีคุณธรรมประชาชนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางหนึ่งที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า นำมาขับเคลื่อนเพื่อจัดตั้ง “กำปงตักวา”ชุมชนสันติสุขตามวิถีทางของศาสนา ซึ่งเป็นความต้องการของผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่ อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความมั่นคงของประเทศชาติอย่างยั่งยืน”(อ้างอิงจาก
https://www.io-pr.org/300461-2/)
สำหรับท่านอายุ 70 กว่าปียังเดินทำงานบรรยายแนวคิดนี้ต่อ ผ่านบางมัสยิดชายแดนภาคใต้จับมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งน้องชายท่านดร.วินัย ดะห์ลันเป็นผู้อำนวยการ
สำหรับประวัติของท่านไพศาล ไม่ทำธรรมดามากๆท่านอธิบาย ว่า “ท่านเป็นลูกเอร์ฟาน ดะห์ลัน ชาวอินโดนีเซียซึ่งก่อนมาอาศัยประเทศไทยที่กรุงเทพมหานครนั้น พ่อท่านศึกษาที่ประเทศอินเดียหลังจากจบการศึกษาก็มาประกอบอาชีพที่ปัตตานี หลังจากนั้นนครศรีธรรมราชและท้ายสุดที่กรุงเทพมหานครและเเต่งงานที่กรุงเทพมหานคร”
ท่านเล่าเพิ่มเติมว่า “ความเป็นจริงท่านมี
คุณปู่ชื่ออะหมัด ดะห์ลัน และคุณย่าวาลีดะฮฺ ดะห์ลัน วีรบุรุษและวีรสตรีแห่งอินโดนีเซีย…

คุณพ่อของคุณพ่อท่านเอร์ฟาน ดะห์ลันเล่าว่าคุณปู่ของท่านคนอินโดนีเซียเรียกชื่อท่านว่ากิไย้ หะยี อะหมัด ดะห์ลัน (KH Ahmad Dahlan) เกิดที่เมืองย็อกยาการ์ต้า อินโดนีเซีย ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ขณะที่กลุ่มผู้รักชาติอินโดนีเซียแข็งขืนต่อการปกครองของดัทช์ คุณปู่ของท่าน จัดตั้งองค์กรมูฮำมาดียะฮฺ (เดินตามรอยนบีมูฮำมัด) ขึ้น ใช้เหตุใช้ผลตามหลักอิสลามปลุกมุสลิมให้ก้าวพ้นจากความงมงาย นับถือผีสางนางไม้ปะปนกับอิสลาม ใช้การศึกษาอิสลามที่ถูกต้องปลุกปัญญาชนอินโดนีเซีย ต่อมาคนเหล่านี้แต่ช่วงเเรกก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากชาวบ้านที่มองว่าท่านนำสำนักคิดใหม่มาเผยแผ่บ้านเราเรียกว่าสายใหม่ อย่างไรก็แล้วแต่ได้ต่อสู้ทางปัญญาร่วมกับซูกาน์โนที่ลุกฮือต่อสู้ทางอาวุธกระทั่งพ้นจากการเป็นอาณานิคมของดัทช์และต่อมาคือญี่ปุ่น คุณย่าของผมชื่อไง้วาลีดะฮฺ ดะห์ลัน ช่วงที่คุณปู่ก่อร่างสร้างองค์กรมูฮำมาดียะฮฺผลิตลูกศิษย์ลูกหานับหมื่นคนเป็นพลังทรงศักยภาพให้กับสังคมมุสลิมอินโดนีเซียต่อสู้กับองค์กรคริสต์ที่พยายามเปลี่ยนอินโดนีเซียให้เป็นประเทศคริสต์เช่นที่ในอดีตสเปนทำสำเร็จกับฟิลิปปินส์โดยเปลี่ยนคนพื้นเมืองที่นับถือผีให้เป็นคริสต์มาแล้ว คุณปู่นำอิสลามแนวใหม่ที่เต็มไปด้วยเหตุผลต่อสู้ด้วยการศึกษากระทั่งดำรงความเป็นอิสลามของอินโดนีเซียไว้ได้ ขณะที่คุณย่าก่อตั้งองค์กรอาอีซียะฮฺ (เดินตามรอยพระนางอาอีซะฮฺ) นำสตรีมุสลิมต่อสู้เคียงข้างคุณปู่อย่างห้าวหาญ

 

รัฐบาลอินโดนีเซียหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุคประธานาธิบดีซูการ์โน เมื่ออินโดนีเซียได้เอกราชสมบูรณ์แล้ว ยกย่องให้ทั้งปู่และย่าของผมเป็นวีรบุรุษและวีรสตรีอินโดนีเซีย (Pahlawan) กลายเป็นสามีภรรยาคู่เดียวที่ได้รับการยกย่องระดับนั้น ทุกเมืองใหญ่ในอินโดนีเซียมีถนนชื่อปู่และย่าของท่าน ทุกเมืองมีมหาวิทยาลัยมูฮำมาดียะฮฺ ทั้งสององค์กรในวันนี้มีสมาชิกรวมกันกว่า 60 ล้านคน สร้างมหาวิทยาลัยมากว่า 180 แห่ง สร้างสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล โรงเรียน ธนาคารรวมกันกว่า 6,000 แห่ง กลายเป็นสององค์กรอิสลามที่เข้มแข็งระดับต้นของโลก”

 1,516 total views,  2 views today

You may have missed