พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ประเด็นการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญ ต่อประเด็นแก้รธน.60 ชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk  ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


วันที่ 15 กันยายน 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี( Deep south watch )ผู้เขียนได้ร่วมแลกเปลี่ยน

เสวนาโต๊ะกลม ( เนื่องในวันประชาธิปไตยสากล 15 กันยายน )
หัวข้อ “ ปาตานีในสภาวะวิกฤตการเมืองไทย ”
โดยมีวิทยากรหลัก 3 ท่าน

-ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ (อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

-รอมฎอน ปันจอร์ (บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deep south watch

-นายซูกริฟฟี ลาเตะ (ประธานนิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS)

ดำเนินรายการโดย ซูรัยยา วาหะ

ซึ่งจัดโดย…
สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS
มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าการเมืองส่วนกลางมีส่วนอย่างมากต่ออนาคตและความเป็นไปในอดีตของปาตานี/ชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีพลวัตจากรุ่นสู่รุ่น อันจะส่งต่อภาพรวมต่อสันติภาพชายแดนภาคใต้/ปาตานี อย่างไรก็แล้วแต่ สำหรับผู้เขียนมีทัศนะว่า การศึกษาที่ผ่านระบอบโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยในการสร้างโอกาสให้คนพื้นที่จากทุกสาขาอาชีพได้ต่อรองกับอำนาจส่วนกลางผ่านทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฏรรวมหน่วยงานต่างๆทั้งรัฐและเอกชน เมื่อกลับไปดูการเมืองส่วนกลาง ประเด็น เรียกร้องแก้รัฐธรรมนูญ 60
“นอกจากประเด็นสว.ในรัฐธรรมนูญที่เขาถกเถียงที่กรุงเทพมหานคร ยังมีประเด็นการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญ ต่อประเด็นแก้รธน.60 ที่ชายแดนภาคใต้ในอนาคตหากรณรงค์ในเรื่องนี้ที่ชายแดนใต้ก็จะจุดติด เพราะ
หากศึกษากรณีชายแดนใต้/ปาตานีไม่รับรัฐธรรมนูญ 60 เพราะ
มาตรา 31 , 67 และมาตราที่เกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่มาตรา 54 อย่างไรก็แล้วแต่ แม้ประเด็นทางศาสนาและการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนในการตัดสินใจของประชาชนอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ควรมองข้ามประเด็นการโหยหาเสรีภาพในการเลือกผู้นำที่พร้อมจะเข้าใจพวกเขาด้วย”
สำหรับมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญ 60 ที่ผ่านการเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 61 นั้น บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพ ในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”
ในขณะที่รัฐ

ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชนชาวไทยไว้ในมาตรา 38 ความว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตาม ศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนเมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
และมาตรา 67 บัญญัติว่า “รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย”


ข้อสังเกต
วรรคแรกที่บัญญัติว่า “รัฐพึงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น” ข้อความนี้นักกฎหมายพออ่านปุ๊บก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นสำนวนเนื้อความ ความจริงเป็นเนื้อความเดียวกับคำว่า รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาทุกศาสนา แต่ที่ระบุชื่อพระพุทธศาสนาก็เพื่อป้องกันชาวพุทธเรียกร้องพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายต่อการปกครองในเวลานั้นได้ ประเด็นที่ตั้งคำถามก็คือ คำว่า รัฐจะพึงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นอย่างไร เพราะคำว่า “อุปถัมภ์” คำนี้ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า “อุปถัมภ์ หมายถึง การค้ำจุน, การค้ำชู, การสนับสนุนและการเลี้ยงดู” ปัญหาที่สำคัญก็คือ รัฐจะอุปถัมภ์ทุกศาสนาอย่างไรให้ยุติธรรม สมมุติว่า ในตำบลหนึ่งมีประชาชนชาวไทยอยู่ร่วมกันจำนวน 1,000 คน มีประชาชนที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่จำนวน 800 คนและมีวัดตั้งอยู่จำนวน 4 วัด มีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 100 คนและมีมัสยิดตั้งอยู่จำนวน 1 มัสยิด และมีประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่จำนวน 100 คน มีโบสถ์คริสต์ตั้งอยู่จำนวน 1 โบสถ์ รัฐจัดเก็บภาษีจากประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนเงินคนละเท่า ๆ กัน รัฐมีนโยบายจะอุปถัมภ์ศาสนสถานทุก ๆ ศาสนา ด้วยการสนับสนุนการสร้างศาสนสถาน คำถามก็คือว่า รัฐจะแบ่งการอุปถัมภ์ศาสนาอย่างไรจึงจะมีความยุติธรรม กล่าวคือ 1) รัฐจะแบ่งการสนับสนุนด้วยจำนวนเงินในอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการนำเงินทั้งหมดมาแบ่ง 3 ส่วน ด้วยการนำเงินภาษีของประชาชนที่นับถือศาสนาที่มีจำนวนมากกว่าแบ่งเฉลี่ยแก่คนที่นับถือศาสนาที่น้อยกว่าอย่างละเท่ากันด้วยการหารสาม เช่น วัดพุทธ 1 ส่วน มัสยิด 1 ส่วน โบสถ์คริสต์ 1 ส่วน หรือ 2) รัฐจะแบ่งการสนับสนุนจำนวนเงินตามอัตราส่วนที่เก็บจากศาสนิกแล้วแบ่งอุปถัมภ์กลับไปตามจำนวนที่เก็บได้แต่ละศาสนิก เช่น เก็บภาษีจากประชาชนชาวพุทธเป็นจำนวนเงิน 800 บาท แบ่งการสนับสนุนให้กับวัดเป็นเงินจำนวน 800 บาท แบ่งการสนับสนุนให้กับศาสนาอิสลามไปเป็นเงินจำนวน 100 บาท และแบ่งการสนับสนุนให้ศาสนาคริสต์ไปเป็นเงินจำนวน 100 บาท เรื่องนี้รัฐบาลจะจัดการอย่างไร”
(โปรดดู https://mgronline.com/daily/detail/9610000088194)
มาตรา 54
รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามวรรคหนึ่งเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจวินัยอารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรปกครอส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการด าเนินการด้วย

รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับและ โดยรัฐมีหน้าที่เนินการ ากับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภได้มาตรฐานสากลพทั้งนี้ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งช และการด าเนินการและตรวจสอบการด าเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย

การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามวรรคสรัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน

ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ในการศึกษาและเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณ ให้แก่กองทุน หรือใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษีรวมทั้งการให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุน ได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีดทั้วยงนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว อย่างน้อยต้องก าหนดให้การบริหารจัดการกองทุนเป็นอิสระและกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินกองทุน เพื่อบรรลุ
วัตถุประสงค์ดังกล่าว
ข้อสังเกต
การศึกษาไม่เป็น “สิทธิ” รัฐต้องจัดเรียนฟรี 12 ปี จากอนุบาล 1 ถึงม.3 แต่รัฐธรรมนูญ 40และ50
ป.1-ม.6

“ในประเด็นการศึกษาภาคบังคับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 และ 2550 กำหนดไว้เหมือนกันให้เป็น “สิทธิ” ของทุกคน คือ ให้มีสิทธิเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ที่รัฐจัดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 43 เขียนไว้ชัดเจนว่า บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับ “การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี” ที่รัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ดังนั้นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ทุกคนจึงมีสิทธิเรียนฟรีตั้งแต่ ป.1-ม.6 และหากรัฐบาลใดจะจัดการศึกษาฟรีให้มากกว่านั้นก็ได้

รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 49 กำหนดว่า บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับ “การศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี” ที่รัฐจะต้องจัดโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ตัดคำว่า “ขั้นพื้นฐาน” ออก เปิดช่องให้ตีความเพิ่มได้ว่า การศึกษาสิบสองปีนั้นเริ่มจากเมื่อใดถึงเมื่อใดบ้าง

ส่วนรเซธรรมนูญ60 ฉบับลงประชามติ ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่กำหนดให้การศึกษาเป็น “สิทธิ” ของประชาชน ย้ายไปไว้ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ให้รัฐมี “หน้าที่” จัดการศึกษาให้ประชาชน ตามมาตรา 54”
อย่างไรก็แล้วแต่ “แม้ประเด็นทางศาสนาและการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนในการตัดสินใจของประชาชนอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ควรมองข้ามประเด็นการโหยหาเสรีภาพในการเลือกผู้นำที่พร้อมจะเข้าใจพวกเขาด้วย”

หมายเหตุ
1.ฟังเสวนาย้อนหลังใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10224060671685001/?extid=YQDXPBqOkJD5ATjk&d=n
2.สำหรับมาตราต่างๆ
มาตรา 31 ดูใน http://wiki.ocsc.go.th/องค์ความรู้กฎหมาย/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560/มาตรา_31
มาตรา 67 ดูใน
http://wiki.ocsc.go.th/องค์ความรู้กฎหมาย/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560/มาตรา_67
มาตรา 54 โปรดดูใน http://wiki.ocsc.go.th/องค์ความรู้กฎหมาย/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560/มาตรา_54
ศึกษาเพิ่มเติมใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10224060549321942/?extid=q6cFiT546iekYZFI&d=n

 887 total views,  2 views today

You may have missed