เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

บทเรียนการต่อต้าน”รัฐประหาร”ตุรกี ที่ไทยควรเรียนรู้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ข่าวลือรัฐประหารกระฉ่อนในสถานการณ์”ลุงตู่”อ่วมเจอสารพัดปัญหา”แก้รัฐธรรมนูญ-เรือดำน้ำ-ม็อบนักเรียนนักศึกษา-ผู้ประท้วงสิ่งแวดล้อมจากภาคใต้-เศรษฐกิจรวมทั้งล่าสุด นายแพทย์วรงค์นัดหรือเกณฑ์มวลชนแสดงพลังต่อต้านนักเรียนนักศึกษาด้วยวาทกรรมล้มเจ้า /ด้วยสโลแกน “รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์” สอดรับอีกทีมที่พยายามทำผัง เครือข่ายต่างชาตินำโดยอเมริกา เป็นท่อน้ำเลี้ยงหนุนม็อบ ฝ่ายนักเรียนนักศึกษา จากเหตุการณ์วังวนสถานการณ์แบบนี้ เหมือนสมัยคสช.อ้างประชาชนเพื่อยึดอำนาจ แม้ทั้งนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวงกลาโหม วอนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ข่าวลือนี้
อย่างไรก็แล้วแต่ ข่าวลือ แบบนี้ สำหรับประเทศไทยมีสิทธิ์เป็นไปได้ทั้งนั้น แม้จะมีผู้ใหญ่หลายๆท่านทั้งยืนยันนอนยัน และผลวิจัย ก็ยันข้อมูลทางวิชาการนี้ เช่นเมรีโอ นักวิจัยชาวเยอรมันระบุว่า

“ไทยผ่านรัฐประหารมาหลายครั้งจนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉลี่ยแล้วจะมีการรัฐประหารทุกๆ เจ็ดปี สิ่งที่โดดเด่นของการเข้าควบคุมประเทศโดยกองทัพก็คือการผสมผสานระหว่างการควบคุมทางการเมืองและการกดปราบ พร้อมกับกุญแจสำคัญคือการได้รับการอำนวยพรจากผู้พิทักษ์ที่ทรงพลัง (blessing fo powerful protector)โดยเขาระบุสาเหตุรัฐประหารไทยสามสาเหตุ สาเหตุแรกคือการประเมินจากประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมาตั้งแต่เปลี่ยนระบอบการปกครองเมื่อปี 2475 คณะรัฐประหารมีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากไม่มีใครเลยที่ถูกดำเนินคดี และยังนิรโทษกรรมให้ตัวเองภายในรัฐธรรมนูญใหม่ทุกครั้ง

ประการที่สอง เคยมีนักวิชาการชื่อ โจฮันเนส เกอชิวสกี วิเคราะห์ไว้ว่ารัฐบาลเผด็จการทหารไทยหลังรัฐประหารมักจะใช้วิธีผสมผสานระหว่างการให้ความชอบธรรมตัวเอง การเอาใจชนชั้นนำ และกดขี่ปราบปรามประชาชนที่ไม่มีอภิสิทธิ์ นอกจากนั้นกลุ่มประชาสังคมที่สนับสนุนทหาร ซึ่งบ่อยครั้งเป็นกลุ่มชนชั้นกลางก็สนับสนุนการรัฐประหารเพราะมองว่ามันเป็น “รัฐประหารเพื่อประชาธิปไตย” ที่จะดำรงไว้ซึ่งโครงสร้างทางสังคมตามธรรมเนียมเดิมที่พวกเขาพึงพอใจ ส่วนผู้ต่อต้านกองทัพ หรือรัฐบาลที่สนับสนุนกองทัพ ซึ่งบ่อยครั้งเป็นคนที่มีอภิสิทธิ์น้อยกว่าก็ถูกต่อต้านและปิดปากด้วยการนองเลือด ในอดีตมีเหตุนองเลือดที่ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมากจากการใช้ความรุนแรงของทหารในปี 2529 2535 และ 2553

สาเหตุประการที่สาม คือการที่ฝ่ายรัฐประหารอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ ในการรัฐประหารปี 2549 การประกาศยึดอำนาจที่ถูกเผยแพร่ทางโทรทัศน์กระทำต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระราชินี และหลังจากนั้นคณะรัฐประหารได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระที่นั่งจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ส่วนการรัฐประหารในปี 2557 แม้ในหลวง ร.9 จะประชวรหนักแต่ก็ยังอยู่ในแผนการสร้างความชอบธรรมของกองทัพ หลังยึดอำนาจ ตามหน้าหนังสือพิมพ์มีภาพ พล.อ.ประยุทธ์โค้งคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดเท่าพระองค์ และหลังจากนั้นประยุทธ์ก็ได้เข้าเฝ้าในภายหลัง”
(โปรดดู https://prachatai.com/journal/2019/03/81648)
ที่สำคัญสุดการรัฐประหารในไทยทุกครั้งประชาชนไม่เคยต่อต้านสำเร็จซึ่งต่างจากบทเรียนการต่อต้านรัฐประหารที่ตุรกีครั้งล่าสุด

ดร.อันวาร์ กอมะ นักวิชาการตุรกีศึกษา กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์ที่ใกล้ที่สุดสำหรับการต่อต้านรัฐประหารที่สำเร็จคือ บทเรียนจากประเทศตุรกีในวันที่ 15กรกฎาคม 2016 แต่บังเอิญว่าปัญญาชนฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยไทยกลับมองตุรกีว่าเป็นประเทศเผด็จการ หากมองย้อนกลับไปใน ประวัติศาสตร์การเมืองตุรกีเราจะเห็นว่ากองทัพนั้นสัมพันธ์แนบชิดกับฝ่ายซ้ายมาโดยตลอด ซึ่งน่ากลัวไม่น้อยกว่าระบอบปัจจุบัน (เช่นประหารผู้นำทางการเมือง) ผมแค่อยากจะบอกว่า การขึ้นมาของแอรโดอานผู้นำตุรกีเปรียบได้กับการขึ้นมาของทักษิณ ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายประชาธิปไตยและความหวังใหม่ในยุคนั้น แต่บังเอิญว่ากองทัพรัฐประหารสำเร็จที่ไทยแต่ล้มเหลวที่ตุรกี ตัวแปรที่สำคัญคือประชาชนที่กล้าหาญและมีอุดมการณ์


ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด ให้ทัศนะว่า “บทเรียนการต่อต้านรัฐประหารที่ตุรกีดีมาก เสียดายที่ฝ่ายเสรีนิยมบ้านเรามองข้าม เพียงเพราะเป็นความเป็นมุสลิม เพราะแกนนำหลายๆคน ต่อต้านอิสลาม จึงไม่เคยรับรู้ถึงการต่อสู้ของฝ่ายประชาชนในโลกมุสลิม ทั้งในอียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย ฯลฯ”
บทเรียนตุรกีที่ต่อต้านรัฐประหารสำเร็จแต่ตะวันตกไม่ชอบ สามารถตั้งข้อสังเกตเชิงประจักษ์สองประการ ดังนี้
1.ผู้อยู่เบื้องหลังผู้นำจิตวิญญาณตุรกีที่ลี้ภัยในอเมริกา คือ “ฟัตฮุลเลาะห์ กูเลน”… อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/foreign/509368
2.ดูได้จากบทวิเคราะห์ในประชาไทจากสื่อตะวันตก
“การรัฐประหารในครั้งนี้จึงทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะยิ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการเสริมสร้างอำนาจให้กับตัวเองมากขึ้นไปอีก บทเรียนที่สำคัญจากตุรกีคือ แม้ว่าพรรคฝ่ายค้านของตุรกีจะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลของนายแอร์โดอันเพียงใด แต่พวกเขาก็เห็นว่าการใช้กองทัพมายึดอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม ซึ่งต่างจากฝ่ายค้านไทยที่เห็นด้วยและมีส่วนสำคัญในการล้มรัฐบาลเลือกตั้งยิ่งลักษณ์ คำถามสำคัญต่อไปก็คือในระบอบประชาธิปไตย เราจะต่อสู้กับรัฐบาลอำนาจนิยมได้อย่างไรโดยไม่ใช้กำลังทหาร?”


(โปรดดูใน ประชาไท July 2016

ประชาไท July 2016

บทเรียนที่ทั่วโลกยอมรับว่าสาเหตุความล้มเหลวการรัฐประหารครั้งนี้ คือการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งผู้ก่อรัฐประหารประเมินผิดพลาด “ผู้ร่วมก่อการรัฐประหารในตุรกีครั้งนี้ประกอบด้วยกำลังพลจากกองทัพอากาศ กองพลยานเกราะและกองพันสารวัตรทหาร ทั้งหมดมีทหารยศนายพล 5 นายและนายพัน 30 นาย ซึ่งมีจำนวนน้อยจึงเป็นเหตุให้การยึดอำนาจไม่สำเร็จ ยิ่งกว่านี้ยังมีการกล่าวกันด้วยว่าคณะผู้ก่อการรัฐประหารชุดนี้ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะนึกว่าจะมีประชาชนออกมาสนับสนุนฝ่ายตนเป็นจำนวนมาก แต่การกลับเป็นไปในทางตรงข้าม ”(โปรดดูใน
รัฐประหารตุรกีล้มเหลว เพราะประเมินสถานการณ์ผิดพลาด

รัฐประหารตุรกีล้มเหลว เพราะประเมินสถานการณ์ผิดพลาด
การรัฐประหารในตุรกีนั้นมีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 265 คน โดยผู้ก่อการพยายามสังหารประธานาธิบดีด้วย แต่พลาด ซึ่งสาเหตุที่ล้มเหลวจนกลายเป็นการกบฏนั้นก็เพราะว่าทหารที่เข้าร่วมก่อการมีน้อยแถมยังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด
ดังนั้นสำหรับประเทศไทยความท้าทายอยู่ที่ประชาชนเช่นกัน นักเรียน นักศึกษา ประชาสังคมรวมทั้งนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยกล้าออกมาต่อต้านรัฐประหารแม้จะคว่ำรัฐบาลประยุทธ์ที่ฝ่ายประชาธิปไตยเองไม่ชอบ หรือจะเหมือนกับอดีตฝั่งกปปส.ที่เห็นชอบกับการัฐประหารครั้งที่ผ่านมาซึ่งก่อนหน้านี้เดือนกุมภาพันธ์ฝ่ายค้านเคยพยายามอภิปรายในรัฐสภานำเสนอ “การกำจัดวงจรรัฐประหารด้วยกระบวนการของรัฐสภา”ซึ่งสอดคล้องกับบทเรียนจากหลายประเทศที่ชี้ว่า กระบวนการรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นช่องทางสำคัญในการยุติปัญหาทางการเมือง
ดังนั้นหากผู้ก่อรัฐประหารประเมินแล้วพลังประชาชนที่จะต่อต้านรัฐประหารน้อยเขาก็ทำรัฐประหารอีก
ดังนั้นบทเรียนการต่อต้านรัฐประหารของประชาชนประเทศตุรกีนั้นมวลชนชาวไทยควรเรียนรู้

 2,573 total views,  4 views today

You may have missed