ที่ท่าเทียบเรือชายฝั่งปัตตานี ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี นำโดย นายดำรงค์ อินโท เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส ผู้แทนสำนักประสานนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สศส.) นายเรวัต โพธิ์เรียง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาปัตตานี นายหัสต์ดี สามะ ผู้จัดการบริษัทกมลวัฒนา นายทรงวุฒิ แก้วเมฆ กัปตันเรือบริษัททัสโก้ บราโว่ และเจ้าหน้าที่สำนักประสานนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศอ.บต. ร่วมสำรวจและติดตามปัญหาหลังเรือขนาดใหญ่ลำแรกของบริษัททัสโก้ บราโว่ ที่มีน้ำหนัก 1,300 ตัน เข้าจอดเทียบท่า ซึ่งท่าเรือดังกล่าวเป็นท่าเรือในโครงการพัฒนาท่าเรือเพื่อการพาณิชย์จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กรมเจ้าท่าดำเนินโครงการพัฒนาอ่าวปัตตานี เพื่อยกระดับท่าเทียบเรือให้สามารถรองรับเรือขนาด 5,000 ตัน และการปรับปรุงท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างการขนส่งทางน้ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายเรวัต โพธิ์เรียง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาปัตตานี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การผลักดันเศรษฐกิจตามโครงการ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยกรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่ต้องดูแลโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ ได้มีการเตรียมการดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ 1.การขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งเดิมร่องน้ำปัตตานีมีความลึกเพียง 5 เมตร แต่ต้องการขยายเพื่อรองรับเรือ 2,500 ตัน ต้องขุดให้ได้ถึง 7 เมตร ต้องใช้งบประมาณ 210 ล้านบาท และ 2.ท่าเทียบเรือ ซึ่งท่าเทียบเรือเดิมต้องได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท โดยทั้ง 2 ส่วน ได้มีการออกแบบเตรียมการไว้และรองบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการ จึงขอให้ ศอ.บต. เร่งผลักดันในส่วนของงบกลางเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการจะได้นำมาสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งในขณะนี้มีเรือพาณิชย์ของบริษัทวิมลพัฒนาเข้าเทียบท่าเป็นลำแรกที่มีขนาด 1,300 ตัน ซึ่งปัญหาที่พบคือไม่มีแผนที่ในการนำเรือเข้ามาอย่างถูกต้อง และไม่มีเรือนำร่องในการนำเรือเข้ามาโดยเฉพาะ แต่ทางกรมเจ้าท่าได้เตรียมการจัดทำเครื่องหมายการเดินเรือ โดยเฉพาะทุ่นเครื่องหมาย ที่ต้องมีการดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีปัญหาเรือเกี่ยวชน ทำให้ต้องทำการซ่อมบำรุง และนำทุ่นชั่วคราวมาวางไว้ อีกทั้งในส่วนของคนในพื้นที่ได้มีการประกาศแจ้งเรือเล็กต่างๆ ให้ทราบเวลาเข้าออกของเรือใหญ่ เพื่อลดปัญหาการเกี่ยวชน หรืออุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะไม่กระทบต่อวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน เพราะเป็นเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ และใช้ร่องน้ำเดิมแต่มีการขุดขยายให้มีความลึกเพิ่มเติม จึงขอความร่วมมือจาก ศอ.บต. ให้เป็นส่วนสำคัญในการเร่งผลักดันการอนุมัติงบประมาณโดยไว
ซึ่งหากโครงการมีการดำเนินการได้เร็วจะส่งผลดีต่อพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี จะกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางน้ำ เพราะปัจจุบันเรือใหญ่จะนำสินค้าไปขึ้นที่จังหวัดสงขลา และมีการขนถ่ายสินค้ามายังปัตตานีและจังหวัดข้างเคียง แต่เมื่อมีการขุดลอกแล้วเสร็จเรือสามารถขึ้นตรงที่ปัตตานี ก็จะสามารถกระจายสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และลดเวลาการขนส่ง อีกทั้งยังได้เป็นศูนย์กลางสำคัญในการดึงผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศให้มาลงทุน สู่การขยายเป็นท่าเทียบเรือที่มีศักยภาพในอนาคต โดยสินค้าหลักที่มีการขนเข้ามา ได้แก่ ปูน มะพร้าว ซึ่งในอนาคตจะสามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่บรรทุกสินค้าได้มากขึ้น สามารถส่งเข้านิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้ทันที เช่น การแปรรูปสินค้าปลากระป๋องที่มีคุณภาพ ซึ่งหากขุดลอกสำเร็จจะสามารถเป็นท่าเทียบเรือที่มีการขนสินค้าทั้งในและต่างประเทศต่อไป สู่การเปิดพื้นที่การลงทุนของผู้ประกอบการ และการจ้างงานแก่คนในพื้นที่ เน้นแรงงานของคนในพื้นที่ให้มีงานทำ จนสามารถสร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในพื้นที่ ตามโครงการสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ได้ในอนาคต
SPMCNEWS รายงาน
898 total views, 4 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา