พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ข้อกังวล “สถาบันสอนศาสนาอิสลามกรณีจะนะเมืองอุตสาหกรรม”ที่ยังไม่มีในรายงานและวัดทางตัวเลขไม่ได้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

อันเนื่องมาจากชาวจะนะได้บทเรียนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มิสามารถประเมินตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน (ในข้อ 5ใน 6ข้อ)

ซึ่งคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสันติสุข สถาบันพระปกเกล้าหรือที่เรียกว่า 4 ส รุ่นที่ 8 นำโดยนายแพทย์นันทวัช สิทธิรักษ์ได้สรุป ว่า

1. แก่นหลักที่นำมาสู่ความขัดแย้งและความแข็งขืนต่อต้านโครงการนี้ในนภาพรวมคือ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (no trust) ประเด็นหลักที่พบได้แก่ ชุดข้อมูลที่ฝ่ายรัฐและแนวร่วมรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการมีอยู่มักถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในวงจำกัด ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการตัดทอนหรือเซ็นเซอร์ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออาจให้ข้อมูลไม่ตรงตามเอกสารจริง ในขณะที่อีกฝ่ายที่เป็นองค์กรเอกชนถูกอีกฝ่ายอ้างด้วยเช่นกันว่าข้อมูลด้านตรงกันข้ามรวมทั้งมีการใช้วาทกรรมสร้างความแตกแยก

2. การไม่ยอมรับผลการประเมิน EIA (Environmental Impact Assessment) คือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” EHIA (Environment and Health Impact Assessment) คือการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดยให้มีส่วนร่วมและรับฟังเสียงจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจากหลายเหตุผล

3. กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่รวบรัด ดำเนินการโดยฝ่ายรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการแต่เพียงฝ่ายเดียว

4. ความไม่ยืดหยุ่นของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์โครงการที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน

5. กระบวนการลดผลกระทบเชิงลบและการเยียวยาของโครงการที่มีต่อประชาชนที่มิได้ศึกษามิติต่างๆ ทั้งระดับปัจเจก ชุมชน สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งที่สามารถตีค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ (tangible) และมีคุณค่าที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

6. ไม่มีกระบวนการติดตามโครงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ในส่วนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันสอนศาสนาอิสลามในอำเภอจะนะ ซึ่งมีผู้เรียนประมาณ 20,000 คน ผู้นำศาสนา ครูศาสนาและสามัญ ประมาณ 2,000 คน กำลังกังวลผลกระทบของสถานศึกษา บุคคากร และผู้เรียน วิถีวัฒนธรรมอิสลามอันดีงาม ซึ่งยังมิได้รับการประเมินรวมทั้งมิสามารถประเมินตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

ขนาดโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังไม่ลง มีแหล่งบันเทิง และมีการนำมโหรสพวงดนตรี มาแสดงในชุมชนมุสลิม 100%
บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้บริหารโรงเรียนศาสนบำรุงและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดสงขลา ให้ทัศนะว่า “โครงจะนะเมืองอุตสาหกรรม ในการต่อเพื่อสัจจธรรมนั้น ไม่ว่าจะคว้าชัยหรือเเพ้พ่ายทุกอย่างก้าวคือความรับผิดชอบ ทุกดีตัดสินใจคือตำนานให้รุ่นหลังได้เล่าขาน ว่า เราได้เตือนและชี้แนะตามวิถีของเรา และปกป้องสิ่งที่ควรปกป้อง มิได้เป็นเครื่องมือของผู้ใด “
ดังนั้นจะต้องไม่นำอบายมุข มโหรสพ เช่นดนตรีและอื่นๆที่หมิ่นแหม่ผิดหลักศาสนาเข้ามาในชุมชนมุสลิมจะนะ
ในส่วนโครงการต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้นำศาสนา ครูและนักเรียนร่วมออกแบบตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล(ทั้งต้นนำ้ กลางและปลายนำ้)เพื่อพัฒนาจะนะสู่ชุมชนมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอันจะสร้างความชอบธรรมทั้งกระบวนการและกฎหมายซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ช่วงระยะๆ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการต้องเปิดให้มีส่วนร่วมที่น่าเชื่อถืออย่างรอบด้าน

ขั้นตอนที่ 2 การร่วมกำหนดเป้าหมายโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความจำเป็นของรัฐ

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการลดผลกระทบโครงการและการเยียวยาอย่างมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างมีส่วนร่วม

ปัญหาการประท้วงที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ต่อโครงการลักษณะนี้ซึ่งจะกระทบเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา วิถีวัฒนธรรมและสิทธิชุมชนจนบานปลายสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือถ้าได้รับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไร สังคมในพื้นที่และภายนอกจะยอมรับได้ในกติกานี้ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือหนุนปัญหาการไม่ยอมกันคงมีแต่อาจจะน้อย การประท้วงหน้าทำเนียบก็คงจะลด หรือถ้ามีประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นโล่ให้รัฐเพราะผ่านกระบวนการที่โปร่งใส เป็นธรรม และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

 1,801 total views,  2 views today

You may have missed