อนัส เจริญจิต(เด็กสะกอม)
1. สะพานเชื่อมต่อระหว่างดินแดนสะกอมทั้งสอง ฝั่งบน ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และฝั่งล่าง ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาซึ่งทั้งสองนี้เคยเป็นหมู่บ้านเดียวกันมาก่อน มีชื่อว่า “บ้านปากบางสะกอม” ส่วนที่มีน้ำไหลมาจรดทะเล ได้ชื่อว่า “บางสะกอม” ส่วนคำว่า ปาก ก็คือ ปากแม่น้ำ ก่อนที่ทางการจะแยกฝั่งบนเป็น “บ้านปากบาง” และฝั่งล่างเป็น “บ้านปากบางสะกอม” เพื่อให้ง่ายต่อการเรียก ไม่สับสน
2. แม่น้ำที่เห็นอยู่คือ แม่น้ำนาทวี ไหลมาจากอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ไม่ใช่แม่น้ำสะกอม และไม่ใช่คลองสะกอม เพราะคลอง เกิดขี้นเพราะการขุด แต่นี่ไม่ใช่
3. สีของแม่น้ำที่เห็นนี่เป็นสีเหมือนชานม ก็เพราะว่า ช่วงนี้มีฝนตกและเกิดการไหลของน้ำในพื้นที่ต่างๆ ชะล้างเอาดินจากที่ต่างๆ ลงมาสู่แม่น้ำ ซึ่งมันเก็บมาตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงจุดนี้ นั่นก็คือปลายน้ำ สีจึงเป็นดังที่เห็น
4. ท่าจอดเรือประมงพื้นบ้านที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของอำเภอจะนะ มีทั้งเรือเล็ก เรือใหญ่ แต่ใหญ่ในที่นี้ไม่ใช่การประมงเชิงพานิชย์ เพราะมีขนาดไม่ถึง
5. เรือขุดลอกทรายบริเวณปากแม่น้ำ เนื่องจากมีการไหลลงมาของน้ำและตะกอนดินทรายจากข้างบนลงมาทำให้บริเวณปากแม่น้ำเกิดการตื้นเขินอยู่เป็นประจำ ทำให้กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ส่งเรือขุดลอกมาทำการขุดลอกดินทรายบริเวณนี้ให้เกิดความลึก เพื่อให้มีการสัญจรเข้า-ออกของเรือประมง และมีการไหลของน้ำได้อย่างสะดวก
6. โค้งสะกอม เก่าและใหม่ โดยจะเห็นได้ว่า โค้งเก่ามีความโค้งที่มาก เป็นทางโค้งอันตรายระดับต้นๆ ของประเทศไทย อันตรายมากโดยเฉพาะในช่วงฝนตก หรือตอนกลางคืน ซึ่งสำหรับผู้ขับขี่ที่สัญจรมาจากต่างถิ่นมักไม่ชินและชำนาญเส้นทาง คิดว่าหมดโค้งแล้ว และด้วยการที่ขับเร็วจนเกิดอุบัติเหตุทำให้รถพุ่งลงแม่น้ำ หรือไม่ก็ลงข้างทางหรือชนกันอยู่เป็นประจำ ส่วนโค้งใหม่ แม้มีการตัดทางผ่านขึ้นใหม่แล้ว ทำให้ความโค้งลดลง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีอุบัติเหตุอยู่โดยเฉพาะในเวลาที่ฝนตก
7. ร่องรอยบริเวณพื้นที่ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนสะกอม เป็นแหล่งที่สองในการตั้งรกรากดำรงอยู่อาศัยของชนชาวสะกอม หลังจากที่เกิดโรคระบาดที่บริเวณบ้านบางพังกา จึงต้องย้ายมาตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยในบริเวณที่เหมาะสม ซึ่งมีปากแม่น้ำเหมาะแก่การทำการประมงและเกษตรกรรม ก่อนที่อีกส่วนนึงจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ ในปัจจุบันนี้ ที่นี่จึงถูกเรียกว่า เป็น”สะกอมเล็ก” ส่วนบ้านสะกอมในปัจจุบัน เรียกว่า “สะกอมใหญ่” นั่นเอง ซึ่งในด้านสำเนียงภาษาจะต่างกัน คนในพื้นที่สะกอมจะรู้
8. ร่องรอยประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจของชาวบ้านในละแวกนี้เมื่อครั้งอดีต ซึ่งสมัยก่อนนับว่ามีความเจริญอย่างมาก มีการเข้ามาจอดของเรือสำเภาจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีการค้าเครื่องปั้นดินเผา ถ้วยชาม ยาสมุนไพรจีนแผนโบราณ และเสื้อผ้า อาหาร เครื่องใช้ ปศุสัตว์ ผลไม้ พืชท้องถิ่น ของคนพื้นบ้าน จนไปถึงบ้านสะกอม ริมท่าน้ำมีหมู่บ้านชาวจีนซึ่งอาศัยอยู่มากมาย มีศาลจีน ไปจนถึงบ้านท่าแมงลัก ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปอยู่ในเมืองเพราะชาวจีนชอบทำการค้า ชอบความเจริญ แต่ก็ยังมีลูกหลานชาวจีนอาศัยอยู่ในพื้นที่สะกอมอยู่ในสะกอมบ้านใหญ่ เรียกว่า “บ้านจีน” ทุกวันนี้นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ใช้ภาษาสะกอมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนน้อยที่จะพูดภาษาจีนได้ เพราะไม่ได้ถูกส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน
อ้างอิงจาก
https://www.facebook.com/1065070272/posts/10219990364603850/?d=n
2,921 total views, 4 views today
More Stories
ด่วน ! INC ออกแถลงการณ์ ต่อรัฐบาล ยกเลิกใช้ พรก.ฉุกเฉิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ หนุนพูดคุยโต๊ะเจรจาสันติภาพ (มีคลิปแถลง)
แม่ทัพภาคที่ 4 พบปะผู้บริหารทางการศึกษาเอกชน,ผู้บริหารมูลนิธิตาดีกา แดนใต้ ร่วมหารือแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อสันติสุข เน้นย้ำ ใกล้ถึงถึงเดือนศิลอด ขอทุกฝ่ายจับมือ “รอมฎอนสันติ” ไม่เกิดเหตุรุนแรง เดือนอันประเสริฐ
กลุ่มพลังมวลชน ผู้นำศาสนา นักเรียน นักศึกษา รวมกว่า 500 คน ”รวมพลังต่อต้านความรุนแรง” ทุกรูปแบบ หน้าแฟลตตำรวจนราธิวาสจุดเกิดเหตุบอมบ์