มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

วัฒนธรรมเยี่ยมกุโบร์(สุสาน)มลายูมุสลิมชายแดนภาคใต้:ผลพลอยได้มากกว่าที่คิด

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


การเยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) ของมลายูมุสลิมชายแดนภาคใต้ จนเป็นวิถีวัฒนธรรม นั้นเราจะพบว่า “ปกติ นั้น สัปดาห์ละครั้ง ทุกเช้าวันศุกร์ ปีละครั้ง ก็จะเป็นรายอเเนและอาจปีละครั้งเช่นกันอันนี้แล้วแต่กำหนดของแต่ละกุโบร์(สุสาน)ของแต่ละชุมชน”
ดังนั้นจึงไม่แปลกวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ตรงกับวันที่ 8 เดือนเชาวาล 1441 ปีนี้ที่ชายแดนภาคใต้ซึ่งในพื้นที่เรียกว่ารายอแน จึงเห็นผู้คนไปเยี่ยมกุโบร์ ของพ่อแม่ พี่น้องญาติสนิทมิตรหายมากมายตั้งแต่เช้า ยันคำ่
ความเป็นจริงการเยี่ยมกุโบร์ตามหลักการอิสลามแล้วสนับสนุนให้กระทำเพื่อรำลึกถึงความตายหรือเพื่อผู้ตาย
إِنِّي كُنْتُ نَهَيْتُكُمْ عَنْ زِيَارَةِ الْقُبُورِ فَزُورُوهَا ، فَإِنَّهَا تُذَكِّرُ بِالآخِرَةِ ”

ก่อนนั้นฉันเคยห้ามสูเจ้าจากการไปเยี่ยมกุโบร์ แต่บัดนี้เจ้าจงไปเยี่ยมเถิด เพราะมันจะให้นึกถึงอาคีรัต(โลกหน้า)แต่
นักวิชาการอิสลาม(สายมัซฮับชาฟิอีย์ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ชายแดนภาคใต้ยึดถือ)มีความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า “สำหรับผู้ชาย การเยี่ยมกุโบร์เป็นสุนัต (สนับสนุน)เพราะการอนุญาตในฮาดีษ (วัจนศาสดา)ดังกล่าวเจาะจงเฉพาะผู้ชาย “ แต่สำหรับสตรีนั้นนักวิชาการมีความคิดเห็นเเตกต่างกันทั้งอนุญาตโดยมีเงื่อนไขและไม่อนุญาต(อันนี้คงต้องไปถกเถียงเชิงวิชาการ)

(อ้างอิงจาก
https://www.fikhguide.com/tourist/historical/248) ด้วยเหตุนี้จึงไม่เห็นสุภาพสตรีอยู่ในบริเวณ กุโบร์ (สุสาน)อาจเห็นบ้างอาจอยู่รอบนอกกุโบร์ ที่เป็นสัดส่วน อย่างไรก็แล้วแต่สุภาพสตรีเกือบทุกคนก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้โดยเป็นคนคอยหุงข้าวปลาอาหารคาวหวานเลี้ยงผู้มาเยี่ยมกุโบร์ จะที่บ้าน ที่มัสยิด ที่ชุมชนจัดเตรียมไว้
สำหรับผู้ที่จะไปเยี่ยมในการกุโบร์มิใช่ใคร่คิดจะเข้าก็เข้าจะออกออกก็ออก มีอิสระจะทำอะไรก็ได้ที่บริเวณกุโบร์
แต่จะมีกฎกติกาจรรยามารยาทบางประการเช่น

1. ทำความสะอาดร่างกาย และเครื่องนุงห่มที่สอดคล้องกับหลักการอิสลามและเหมาะสมกับสถานที่พร้อมทั้งสุนัต(สนับสนุน)ให้อาบละหมาดก่อนเข้ากุโบร์

2.สนับสนุนให้กล่าวขอความสันติสุขหรือสลามแก่บรรดาผู้เสียชีวิตทั้งก่อนเข้ากุโบร์ และหน้าหลุมศพ เช่นกล่าวว่า “

سَلامٌ عَلَيْكُمْ دَارَ قَوْمٍ مُؤْمِنِينَ وَإِنَّا إنْ شَاءَ اللَّهُ بِكُمْ لاحِقُونَ اللَّهُمَّ لا تَحْرِمْنَا أَجْرَهُمْ وَلا تَفْتِنَّا بَعْدَهُمْ
“ เพราะมีหลักฐานจากหะดีษ(วัจนะศาสดา)

ความว่า “ไม่มีผู้ใดที่เดินผ่านหลุมศพพี่น้องมุสลิมของเขาที่เคยรู้จักกันในดุนยา (โลกนี้)แล้วเขาก็ให้สาลาม นอกจากว่าคนในหลุมศพนั้นจะรู้จักเขาและตอบสลามให้แก่เขา”
สายรายงานถูกต้อง

3.อ่านกุรอ่านแล้วแต่ที่เขาสะดวก แล้วฮาดียะห์(มอบ)ผลบุญให้กับผู้ตายคนเดียวหรือให้พร้อมกับผู้ตายคนอื่นทั้งหมดในหลุมศพนั้น หรือตั้งใจจะอ่านกุรอ่านให้ผู้เสียชีวิตนั้น ผลบุญการอ่านก็จะถึงผู้เสียชีวิตเช่นกัน หรือไปอ่านกุรอ่านใกล้ผู้เสียชีวิตเลย ที่ดีหันหน้าไปทางผู้เสียชีวิต
(สำหรับการอ่านอัลกุรอานมอบให้แก่ผู้เสียชีวิตผลบุญจะถึงเจาหรือไม่นั้นนักวิชาการอิสลามมีความคิดเห็นแตกต่างกัน)
4.ดุอาอฺ (ขอพร)ให้พระเจ้าอภัยโทษและอื่นๆต่อผู้เสียชีวิต


ผลที่ได้รับจะเห็นได้ว่า เมื่อเข้าไปในสุสาน จะสะอาดมากเพราะแต่ละกุโบร์ที่มีการบริหารจัดการที่ดีมีการเตรียมความพร้อมโดยชุมชนจะมีผู้มีจิตอาสา ทั้งเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ทำความสะอาดกุโบร์และเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆที่จะบริการคนมาเยี่ยมกุโบร์เรียกว่าอาจจะปีละครั้งที่คนในชุมชนจะมาพัฒนากุโบร์
คนที่อยู่ต่างถิ่นต่างอำเภอ ต่างจังหวัดได้มาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หลายๆคนจูงลูกจูงหลานมาทำความรู้จักกัน นอกจากนี้ยังมีการบริจาคต่อญาติๆ เด็ก หรือบ้างกุโบร์มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนากุโบร์ นอกจากนี้หลายกุโบร์ที่อยู่ในระดับอำเภอระดับจังหวัดก็เป็นกุโบร์ที่ฝังศพคนไร้ญาติก็มีซึ่งแน่นอนที่สุดเขาเหล่านั้นก็จะได้อนิสงค์จากกิจกรรมนี้ไม่มากก็น้อยที่นำไปใช้ในกุโบร์ของพวกเขา(ซึ่งเขาเหล่านี้อาจจะรอคอยนับปีกว่าจะได้พบอีก)

 4,275 total views,  2 views today

You may have missed