อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
สัมภาษณ์พิเศษ..นายกามาล อับดุลวาฮับ ผู้อำนวยการ
โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถานถือเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีวิวัฒนาการจากสถาบันปอเนาะสอนศาสนาอิสลามอย่างเดียวเดิมและเป็นสอนสองหลักสูตรทั้งศาสนาและสามัญ เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงระดับต้นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ยิ่งปัจจุบันมีการเปิดแผนการจัดการเรียนรู้หลายแผนการเรียนโดยเฉพาะ “
โครงการโรงเรียนห้องเรียนพิเศษโปรแกรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือ Science Mathematics Program:SMP “หลังจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายการเรียนออนไลน์ ตามที่เป็นข่าวในโลกโซเซี่ยล 19 พฤษภาคม 2563 ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสผู้คุย
นายกามาล อับดุลวาฮับ ผู้อำนวยการ
โรงเรียนถึงการบริหารจัดการของโรงเรียนต่อนโยบายนี้
ท่านให้ทัศนะว่า การสร้างความเข้าใจต่อนักเรียนและผู้ปกครองมีความสำคัญโดยท่านกล่าวว่า “นโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่จัดให้มีการเรียนออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบระบบการเรียนออนไลน์ เป็นการเตรียมความพร้อม เมื่อเปิดภาคเรียนไปแล้ว หากพบว่ามีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสองรุนแรงจนถึงขั้นที่ไม่สามารถจะจัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติได้ โรงเรียนก็จะได้หันเข้าสู่โหมดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ …. วัลอิยาซุบิลลาฮฺฯ …ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺอย่าให้สถานการณ์เลวร้ายถึงขั้นนั้นเลย…ในส่วนของโรงเรียน กำหนดเป้าหมายจะทดลองการเรียนออนไลน์ในบางรายวิชาของชั้นซานะวีย์/มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. โดยใช้แพลทฟอร์มเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้ว คือโปรแกรม Moodle ซึ่งนักเรียนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ไม่ได้เน้นการออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ ทุกคนสามารถเข้าศึกษาในเวลาใดก็ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป จะมีการวัด/ประเมินผลการเรียนการสอนแบบนี้กับนักเรียนในรูปแบบเรียลไทม์บ้างเป็นบางครั้ง โดยการสอบออนไลน์ การสอบสัมภาษณ์ผ่านโปรแกรม Google Meet หรือ Microsoft Teams ฯลฯ เป็นทักษะเบื้องต้นที่นักเรียนจะได้เรียนรู้เพื่อไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์นี้ได้จริงๆ ได้กำหนดแนวทางและจัดห้องเรียนคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนสำหรับนักเรียนกลุ่มนั้นไว้แล้ว และเมื่อถึงเวลาเปิดภาคเรียนในเดือนกรกฎาคม โปรแกรมห้องเรียนออนไลน์นี้ก็จะเป็นระบบการจัดการห้องเรียนที่มาช่วยครูผู้สอนและนักเรียนในการเรียนรูปแบบปกติต่อไป…อุปกรณ์สื่อสารเพื่อเข้าถึงระบบการเรียนออนไลน์ที่โรงเรียนใช้อยู่ ที่ถูกที่สุดและไม่เป็นภาระของผู้ปกครองมากนักก็คือใช้งานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทางโรงเรียนจึงกำหนดให้มีการทดสอบระบบการเรียนออนไลน์นี้เฉพาะกับนักเรียนระดับม.ปลาย/ปวช. เท่านั้น ยังไม่มีแนวคิดและไม่เห็นด้วยที่จะให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใช้ (อายุ<15 ปี)… ขอย้ำว่าในเดือนมิถุนายนนี้ ยังไม่มีการจัดการเรียนออนไลน์ในส่วนของโรงเรียนสำหรับนักเรียนระดับ ม.ต้น แต่อย่างใด…นักเรียน ระดับ ม.ต้นที่มีความพร้อม ขอแนะนำให้ใช้เวลาในช่วงรอเปิดภาคเรียน เรียนรู้ผ่านทางรายการโทรทัศน์ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ https://dltv.ac.th แนะนำนักเรียนที่มีโอกาสเข้าถึงช่วยแบ่งปันการเรียนรู้เหล่านี้กับเพื่อนนักเรียนที่ยังขาดความพร้อม อาจจะชวนมาดูรายการทีวี เรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่ม และอีกหลายวิธีที่จะแบ่งปันกัน ส่วนนักเรียนที่ไม่พร้อมจริงๆ…. อินชาอัลลอฮ…. เมื่อถึงเวลาเปิดเทอม นักเรียน ม.ต้น ทุกคนจะได้เรียนเต็มหลักสูตรที่โรงเรียนพร้อมๆกัน”
เนื่องจากเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาดังนั้นวิชาศาสนาจัดการอย่างไร
“ตอนนี้ นักเรียนยังไม่ได้เรียน จะเริ่มในเดือนมิถุนายนนี้ (หลังถือศีลอด)เพราะต้องให้เวลาครูผู้สอนจัดทำสื่อการสอนในรูปแบบคลิปการสอน (ไม่ใช่สอนแบบเรียลไทม์/ถ่ายทอดการบรรยายของครูในชั้นเรียน) ต้องมีการตัดต่อคลิปการสอนและเน้นสื่อผสมมากกว่าการบรรยายทั่วไป
… ในเมื่อเป็นการทดลองความพร้อม จึงกำหนดจะให้เรียนเฉพาะบางรายวิชา ที่เป็นวิชาพื้นฐาน รวมถึงวิชาศาสนา สำหรับนักเรียน ม.ปลาย โดยใช้แพลทฟอร์มเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้ว คือโปรแกรม Moodle ซึ่งนักเรียนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว”
ทำไมไม่ลงสู่มัธยมศึกษาตอนต้น
ท่านให้ทัศนะว่า “สำหรับนักเรียน ม.ต้น ยังไม่จัดให้เรียนออนไลน์ หากจำเป็นจริงๆ โรงเรียนต้องสื่อสารและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองมากกว่านี้ และต้องมั่นใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง(ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน) สามารถดูแลติดตามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนอย่างทั่วถึง มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียตามมามากกว่า”
มีอะไรน่าเป็นห่วงบ้างหากทำที่วางแผนไว้ และอยากให้รัฐหนุนเสริมอย่างไร ท่านเสนอว่า “
การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร/เรียนรู้ของวัยรุ่น(ระดับมัธยม) ควรเน้นผ่านกิจกรรมกลุ่ม การเรียนรู้ร่วมกัน ต้องพัฒนาคุณธรรมจิตสำนึกมาเป็นพื้นฐาน ผ่านการเรียนรู้/ปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ทั้งกับผู้ปกครองและครู ที่จะคอยหนุนให้ก้าวผ่านพร้อมทักษะชีวิต ฉะนั้นถ้าจะต้องใช้สำหรับ ม.ต้นจริงๆ ต้องสื่อสารกับผู้ปกครองมากกว่านี้… อยากเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะเข้ามาสนับสนุนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต อาจจะจัดไวไฟโซนสำหรับนักเรียนลงทะเบียนเพื่อเข้าเรียน อาจจะต้องมีระบบป้องกันไม่ให้ใช้เพื่อการอื่น เป็นการเปิดโอกาสการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ส่วนโรงเรียนก็อาจจะจัดห้องคอมพิวเตอร์ไว้เพิ่มขึ้น”
1,483 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.