พฤษภาคม 17, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ข้อคิดว่าด้วย คืนประทานอัลกุรอาน (รอมฎอนเดือนแห่งอัลกุรอาน)

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

คืนนี้คือคืนที่ 17 เดือนรอมฎอน ตามปฏิทินอิสลามถือเป็นคืนสำคัญอีกคืนหนึ่งที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกุรอาน(แม้ปราชญ์อิสลามบางท่านเห็นแย้ง ,โปรดศึกษาเพิ่มเติมใน
ليلة نزول القران
https://m.facebook.com/permalink.php?story_fbid=994073704024858&id=745069708925260)
บางคนอาจจะเลือกคืนนี้ อ่านมากเป็นพิเศษ บางคนอาจจะเลือกอ่านจบเล่มคืนนี้ บางคนอาจจะบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความสำคัญของอัลกุรอาน หรือเชื่อมหลักคำสอนอัลกุรอานกับวิกฤติโควิด-19 เป็นต้น

คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมวจนะของอัลลอฮ์ที่ทรงมีต่อมนุษย์โดยผ่านศาสดาหรือบางท่านเรียกศาสนฑูตมุฮัมมัด ทั้งนี้โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษยชาติ คัมภีร์นี้มิใช่คัมภีร์ที่มีไว้เพื่อสักการบูชาและมิใช่เป็นคัมภีร์ที่มีวัตถุประสงค์ทางไสยศาสตร์หากแต่เป็นคัมภีร์เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตในทุกๆด้านและมิติทีเกี่ยวข้องกับมนุษย์ สำหรับมุสลิมแล้วบทบัญญัติที่มีอยู่ในคัมภีร์คือกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ทุกคนต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อที่จะนำมาใช้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของอัลกุรอาน

อัลกุรอานและหนังสือทั่วไป

การประทานอัลกุรอานของอัลลอฮ์แก่ศาสดามูฮัมมัดได้ทยอยโองการต่างๆเรื่อยๆ ตามมูลเหตุและสถานการณ์รวมระยะเวลา เกือบ 23ปี ( ขณะที่ท่านอยู่ ณ เมืองเมกกะ 13 ปี และเมืองมะดีนา ประเทศซาอุดิอารเบีย 10 ปี และเมื่อท่านศาสดาได้รับโองการแต่ละครั้ง ท่านจะอ่านให้อัครสาวกผู้ใกล้ชิดฟังเพื่อให้ท่องจำและบันทึกไว้

คัมภีร์อัลกุรอานแบ่งออกเป็นบท ทั้งหมด 114 บท แต่ละบทเรียกว่าซูเราะห์ซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน โดยจำนวนวรรคมากบ้างน้อยบ้างต่างกัน แต่ละวรรคเรียกว่าอายะห์ โดยมีทั้งหมด 6348 วรรค (รวมกับبسم الله 112 วรรค ถ้าไม่รวมจะได้ 6,236 วรรค )ถึงแม้คัมภีร์อัลกุอานจะแบ่งเป็นบท เป็นวรรค หากแต่ละบทของอัลกุอานจะต่างกับหนังสือทั่วไป ที่แบ่งแยกหัวข้อเรื่องต่างๆ ไว้ตามลำดับ ในทางกลับกันแต่ละบทของคัมภีร์อัลกุรอานจะมีเรื่องต่างๆปะปนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักศรัทธา ศีลธรรม กฎหมาย ประวัติศาสตร์ ในบางแห่งเรื่องเดียวกันจะถูกนำมากล่าวทวนในลักษณะต่างๆ กันและเรื่องหนึ่งจะตามอีกเรื่องหนึ่งโดยไม่มีการเกี่ยวเนื่องกันให้เห็นได้ชัดในขณะที่มีการนำเสนอเรื่องหนึ่งอยู่ บางครั้งมีการนำเสนออีกเรื่องหนึ่งในบทหรือตอนเดียวกันโดยไม่มีเครื่องหมายหรือการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

การนำเสนอประวัติศาสตร์ในคัมภีร์อัลกรุอานต่างกับหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป การกล่าวถึงวิทยาศาสตร์ในอัลกรุอานจะใช้สำนวนต่างจากภาษาทางวิทยาศาสตร์ ในทำนองเดียวกันคัมภีร์อัลกรุอานก็จะมีวิธีของตัวเองในการแก้ปัญหาทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและสังคมและที่สำคัญคัมภีร์อัลกรุอานมิใช่คัมภีร์ว่าด้วย “ศาสนา” ในความเข้าใจของคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้เริ่มศึกษาอัลกุรอานหรืออ่านคำแปลอัลกรุอาน อาจทำให้รู้สึกงงและไม่เข้าใจได้

ศ.ด.ร.อับดุลลอฮ. บิน อับดุลมุห์ซิน อัตตุรกีย์ รมว. ศาสนสมบัติของซาอุดิอารเบีย ผู้จัดทำโครงการ แปลอัลกุรอานเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย กล่าวว่า “ข้าพเจ้าทราบดีว่าการแปลความหมายอัลกุรอานนั้นแม้จะใช้ความละเอียดถี่ถ้วนอย่างไรก็ยังไม่สามารถสื่อถึงความหมายอันยิ่งใหญ่ของตัวบทที่มีความมหัศจรรย์ได้ ความหมายต่างๆ ที่แปลออกมาจึงเป็นเพียงผลของความรู้และความเข้าใจของผู้แปลที่มีต่ออัลกรุอาน แน่นอนย่อมมีความผิดพลาด และขาดตกบกพร่องได้เหมือนงานอื่นๆของมนุษย์บุถุชนทั่วไป”

การรวบรวม พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน

เป็นที่ทราบว่าพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ทยอยประทานมาให้แก่ท่านนบีมุฮัมมัด นับตั้งแต่ท่านได้รับวะหฺยุ (วิวรณ์) ครั้งแรก ขณะที่ท่านอายุ 40 ปี จนถึงอายุ 63 ปี รวมเวลาของการประทานอัลกุรอานทั้งหมด 23 ปี

ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (วะฟาต) ท่านได้อ่านอัลกุรอานทั้งหมดต่อหน้าญิบรีลในเดือนรอมฎอนสุดท้ายของชีวิตท่าน 2 ครั้ง ซึ่งเดิมแล้วท่านจะอ่านต่อหน้าญิบรีลทุกๆ ปีในเดือนรอมฎอน 1 ครั้ง และการอ่านครั้งสุดท้ายนี้ท่านได้อ่านอัลกุรอานเรียงตามอายะฮฺเหมือนดังรูปเล่มอัลกุรอานที่เราได้อ่านกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ญิบรีลยังได้สอนการอ่านอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียงอีกด้วย

เพราะฉะนั้นอายะฮฺแต่ละอายะฮฺจึงได้รับการตรวจสอบจากท่านนบียฺเองโดยตรง บรรดาเศาะฮาบะฮฺจำนวนหลายร้อยคนที่จดจำอัลกุรอานทั้งเล่ม อย่างไรก็ดีอัลกุรอานยังไม่มีการจัดพิมพ์ให้อยู่ในเล่มเดียวเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษและระบบการพิมพ์ บรรดาเศาะฮาบะฮฺแต่ละท่านก็มีการรวบรวมอัลกุรอานกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งแน่นอนว่ามีการจัดลำดับก่อนหลังที่ไม่ตรงกัน

ภายหลังท่านนบีได้จากไปท่านอุมัรได้สนับสนุนให้ท่านอบูบักร (ค.ศ.632-634) คอลีฟะฮฺ(กาหลิบ)แห่งอิสลาม รวบรวมอัลกุรอานให้อยู่ในเล่มเดียวกันอย่างเป็นสากล ให้เป็นไปตามลำดับที่ท่านนบี(ศาสดา)ได้อ่านให้ญิบรีล(ชื่อเทวฑูต) ก่อนจากโลกนี้ไป เนื่องจากว่าได้มีเศาะฮาบะฮฺ (สหายศาสดา) ที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มเสียชีวิตไปในสงครามยะมามะฮฺหลายท่าน ท่านอบูบักรได้มอบงานนี้ให้กับซัยดฺ บิน ษาบิต เศาะฮาบะฮฺที่เชี่ยวชาญอัลกุรอาน ทำการรวบรวมอัลกุรอานตามที่ท่านนบีได้อ่านเป็นครั้งสุดท้ายกับญิบรีล อัลกุรอานฉบับนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่บ้านของฮับเซาะฮฺ บุตรสาวของท่านอุมัร

ในสมัยของท่านเคาะลีฟะฮฺคนที่สามแห่งอิสลามคือท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน รัฐอิสลามได้ขยายตัวออกไปกว้างไกล ท่านจึงต้องการที่จะทำการคัดลอกต้นฉบับของอัลกุรอานส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อการเผยแผ่อัลกุรอานที่เป็นระบบ มีการจัดเรียงลำดับซูเราะฮฺอย่างถูกต้อง รวมไปถึงการออกเสียงที่สอดคล้องกันทั้งรัฐ ท่านได้มอบงานนี้ให้ซัยดฺ บิน ษาบิต และเศาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งทำการคัดสำเนาจากอัลกุรอานของท่านหญิงฮับเซาะฮฺส่งออกไปทั่วโลกมุสลิม ต้นฉบับชุดนี้บางเล่มยังคงมีอยู่ในโลกมุสลิม

เมื่อเราทราบประวัติความเป็นมาของอัลกุรอานโดยย่อ เราก็พอจะเห็นเป็นเค้าโครงว่าอัลกุรอานได้รับการบันทึกเป็นเล่มอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเด่นที่รักษาอัลกุรอานไว้ได้อย่างไม่มีใครเถียงนั่นก็คือ “การท่องจำ” ที่ดำเนินผ่านศตวรรษแล้วศตวรรษเล่า บุคคลแรกที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มก็คือ ท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งท่านได้รับอัลกุรอานทะยอยลงมา 22.5 ปี และคนรุ่นแรกที่จดจำต่อจากท่านก็คือบรรดาเศาะฮาบะฮฺจำนวนหลายร้อยคน จากนั้นก็ถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป จนถึงทุกวันนี้ ชาวมุสลิมแทบทุกคนจะจำอัลกุรอานได้บางส่วน และมีบางคนสามารถจดจำได้ตลอดทั้งเล่ม ฉะนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าวิธีการจดจำอัลกุรอานแบบท่องจำ กลายเป็นวิธีการหลักในการรักษาอัลกุรอานเอาไว้ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

มูลเหตุหรือภูมิหลังแห่งการประทานโองการต่างๆในคัมภีร์อัลกุรอาน

ผู้อ่านคัมภีร์อัลกุรอานจะไม่สามารถเข้าใจความหมายเรื่องราวและบทบัญญัติที่แท้จริงและถูกต้องหากผู้อ่านขาดความรู้เกี่ยวมูลเหตุหรือภูมิหลังของการประทานคัมภีร์ซึ่งศัพท์ทางวิชาการศาสนา เรียกว่า ” อัซบาบุนนุซูล “ทั้งนี้เพราะคัมภีร์อัลกุรอานมิได้ถูกประทานลงมาเป็นเล่มอย่างสมบูรณ์ในที่เดียว เวลาเดียว แต่มันถูกประทานมาแต่ละโองการล้วนแล้วแต่มีสาเหตุและความเหมาะสม ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 23 ปี

ประโยชน์ของการรู้ถึงมูลเหตุหรือภูมิหลัง
ก. ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงวิทยปัญญา(ภาษาอาหรับเรียกว่าหิกมะฮ์)ที่ก่อให้เกิดหลักการ
ข. ทำให้รู้ถึงสำนวนและความมุ่งหมายของอัลกรุอานซึ่งบางครั้งมีมาในลักษณะที่กว้าง ครอบคลุมไปถึง สิ่งที่อยู่ในแวดวงเดียวกันทั้งหมด แต่มีหลักฐานบ่งบอกเพียงเฉพาะเหตุการณ์ นั้นๆ
ค. ทำให้รู้ถึงความหมายอันแท้จริง เช่น อัลลอฮได้ดำรัสว่า”ทั้งทิศตะวันออกและตะวันตกนั้นเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮ์ดังนั้นไม่ว่าท่านทั้งหลายจะผินหน้าไปทางทิศไหนท่านก็จะพบกับพระพักตร์แห่งอัลลอฮ์

ตามความหมายของโองการนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ละหมาดไม่จำเป็นต้องผินหน้าไปทางบัยตุลลอฮ(กิบละฮ์)เมืองเมกกะฮประเทศซาอุดิอารเบียแต่เมื่อพิจารณาถึงมูลเหตุและภูมิหลังของการประทานโองการนี้จะพบว่ามีชนกลุ่มหนึ่งไม่รู้แน่ชัดว่า ทางไหนหรือทิศไหนคือตำแหน่งบัยตุลลอฮ์ดังนั้นต่างคน ต่างหันไปยังทิศที่ต่างได้วินิจฉัยด้วยสติปัญญาว่าน่าจะเป็นตำแหน่งบัยตุลลอฮ เพราะช่วงเวลานั้นเป็นเวลากลางคืน ท้องฟ้ามืดมิดและไม่มีเข็มทิศด้วยในสมัยนั้น พอรุ่งเช้าก็เป็นที่แน่ชัดว่า บางคนนั้นวินิฉัยผิด ซึ่งในโอง การนี้อัลลอฮได้แจ้งแก่ศาสดามูฮัมมัดให้ทราบว่าอัลลอฮทรงผ่อนปรน ในการหันไปทางบัยตุลลอฮ เมื่อมีเหตุการณ์ความจำเป็น

นี่เป็นเพียง 1ตัวอย่างจากอัลกุรอานทั้งเล่มว่าการเข้าใจและสามารถอธิบายอัลกุรอานซึ่งเป็นภาษาอาหรับ ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ท่านอีหม่ามอัลวาฮิดีย์ ปราชญ์ด้านวิชาการการอธิบายอัลกุรอานกล่าวว่า”ไม่เป็นที่อนุญาตให้อธิบายอัลกุรอาน สำหรับผู้ที่ไม่ทราบมูลเหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน”

หนังสือศาสนาและวิชาการหรือบทความเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม

จากเหตุผลที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าใจอัลกรุอานอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้อง ในขณะที่อัลกรุอานเป็นบทบัญญัติที่มุสลิมทุกคนจะ ต้องนำมาปฏิบัติ จึงเป็นหน้าที่ของปราชญ์มุสลิมสาขาต่างๆ จะต้องแต่งตำราโดยดึงโองการบางโองการที่มีความเกี่ยวข้องมาเป็นหลักฐานดังนั้นเราจะพบตำราทางวิชาการหรือบทความซึ่งเขียนโดยผู้รู้มากมายจะมีหลักฐานอัลกรุอานประกอบเพื่อความหนักแน่น ส่วนความถูกต้องหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพทางวิชาการของผู้รู้แต่ละท่าน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีมาตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
ช่วงท้ายขอฝาก
1.จุดที่หลายคนอาจอ่านผิด แต่ก็น่าจะเอะใจตั้งแต่แรกเห็น
.
ฟังการอ่านจริงจากคลิปนี้

.
ฟังเน้นๆอีกคลิปครับ ตัวที่สองออกเสียงครึ่งๆ
ไม่ใช่ อะอะอ์ ชัดๆซะทีเดียว
แต่เขียนแบบนี้น่าจะใกล้เคียงสุดแล้ว
ลองฟังกันดูครับ

คำอธิบายภาษามลายู

https://www.facebook.com/100002625858311/posts/2772359422861559/?d=n
2.อธิบายการอ่านกุรอาน(ตำแหน่ง)ที่ยากให้เห็นภาพ
https://www.facebook.com/1114141710/posts/10215619393853949/?d=n

 3,325 total views,  2 views today

You may have missed