เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เกาะติดCovid-19:ปิดมัสยิดเปลี่ยนแค่สถานที่แต่ไม่สามารถเปลี่ยนจิตผู้ดำรงละหมาดญามาอะห์ที่มัสยิดเป็นอาจิณได้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์
(อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk http://www.oknation.net/blog/shukur

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานี
เสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


สถานการณ์Covid-19จังหวัดชายแดนภาคใต้นับวันสถิติยิ่งทวีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตามข้อสังเกตการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดวิทยาต่อเรื่องนี้ ทำให้สำนักจุฬาราชมนตรีจำเป็นจะต้องประกาศฉบับที่3 อันมีผลรวมถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าดูTime Line พบว่า ก่อนจะมีประกาศฉบับนี้มีการประชุมที่มัสยิดกลางจัดสงขลา เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ระหว่างสำนักจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บรรดาผู้รู้ศาสนาจากสภาอุลามาอ์ปตานีดารุสลาม ตัวแทนผู้นำดะวะห์ตับลีฆ ตัวแทนแพทย์ สาธารณสุขมุสลิม วันอังคารที่24 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรีประกาศพ.ร.ก ต่อเรื่องนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้แต่ละจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศห้ามหลายประการ ตามที่เป็นข่าว วันนี้25 มีนาคม 2563 เครือข่ายแพทย์ สาธารณสุขมุสลิมนำโดยสมาคมจันทร์เสี้ยวอันมีหมออารีฟีน ไทยปาทาน นำคณะไปพบผู้นำศาสนาภายใต้การนำของบาบอแม มะมิงจิประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานีเพื่อยื่นหนังสือเปิดผนึกซึ่งในหนังสือเปิดผนึกดังกล่าวเนื้อหาเล่าสถานการณ์Covid-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตราการต่างๆที่จะสามารถลดความสูญเสียในอนาคต จนในที่สุดสำนักจุฬาราชมนตรีก็ประกาศฉบับที่3 ซึ่งเนื้อหาหลักที่ผู้คนโฟกัสคือการงดเว้นละหมาดรวม 5เวลาและละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้น
ผลของมาตราการนี้แน่นอนที่สุดสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะคนที่ละหมาดที่มัสยิดผู้อาวุโสที่ไม่เคยขาดละหมาด 40-50 ปีคงเจ็บปวด ยากที่จะทำใจได้


ผู้เขียนพบกับคนอายุ80 กว่าปีที่ผู้เขียนเห็นเขาตั้งแต่เด็ก ผ่านหน้าบ้านไปมัสยิดละหมาด 5 เวลาไม่เคยขาดยกเว้นจำเป็นจริงๆ ในอดีตผู้เขียนเห็นเขาเดินไปกลับมัสยิด หลังจากพัฒนาเป็นจักรยาน หลังจากนั้นพัฒนาเป็นจักรยานยนต์ หลังจากนั้นเป็นรถยนต์ หลังจากจากเมื่ออายุมากขึ้นอยากมีสุขภาพดีกลับมาปั้นจักรยาน จนปั้นไม่ไหว ก็ให้ลูกหลานมาส่งที่มัสยิดทุกเวลา
คนที่ผมยกตัวอย่างนี้เขาคงไม่คิดว่าเป็นไปได้หรือจะเป็นวันนี้ วันที่มัสยิดต้องถูกปิด เขาต้องละหมาดบ้าน อย่างไรก็แล้วแต่เมื่อเขาฟังผู้รู้อธิบายให้ฟัง แม้จะเจ็บปวดรวดร้าวแค่ไหนเขาก็ต้องทำใจ ผู้รู้บอกเขาว่าแม้การละหมาดจำเป็นต้องทำที่บ้าน ละหมาดรวมกับครอบครัว การละหมาดในอิสลามตอนสบายดีกับไม่สบายก็ต่างกัน จากยืนอนุญาตให้นั่ง ให้นอน การละหมาดช่วงสงครามกับปกติก็ต่างกัน มันเปลี่ยนแค่สถานที่แต่มันไม่สามารถเปลี่ยนจิตวิญญาณของเขา(อาเยาะได้)”
สำหรับหลักการศาสนาไม่ว่าอัลกุรอาน วัจนะศาสดา หรือฟัตวา จากผู้รู้ระดับที่ยืนยันเรื่องนี้ผู้เขียนคงไม่กล่าวถึง ซึ่งสามารถหาอ่านได้ง่ายในสื่อโซเชี่ยลปัจจุบัน

ครับนับว่าเป็นความโชคดีของสังคมมุสลิมคือความร่วมมือระหว่างแพทย์มุสลิม(นำโดยสมาคมจันทร์เสี้ยวและเครื่อข่าย)และผู้รู้ศาสนา(นำโดยสำนักจุฬาราชมนตรี)แม้บางคนมองว่า น่าจะตัดสินใจเร็วกว่านี้
#อยู่ที่เราจะช่วยร่วมมือร่วมใจในการน้อมนำไปปฏิบัติและช่วยกันสื่อสารเพื่อประชาชาติ

////////////////////////

 985 total views,  2 views today

You may have missed