พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ทำไมมาตราการการเว้นระยะห่างทางสังคม:พูดง่าย แต่ทำโคตรยาก

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
Shukur2003@yahoo.co.uk http://www.oknation.net/blog/shukur

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานี
เสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


จากสถิติเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 เห็นได้ว่า มีการติดเชื้อทั่วโลก 2 แสน มีผู้เสียชีวิต 8,784 คน ซึ่งมีประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย 790 ราย อินโดนีเซีย 227 ราย และประเทศไทย 599 ราย
สำหรับชายแดนใต้ 22 มีนาคม 2563
ผู้ป่วยติดเชื้อ 26 ราย รอยืนยันผลตรวจ 62 ราย
จังหวัดสตูล 0 ราย: รอผลยืนยันผลตรวจ 0 ราย: ผู้ป่วยติดเชื้อ 0 รายจังหวัดสงขลา 43 ราย: รอผลยืนยันผลตรวจ 38 ราย: ผู้ป่วยติดเชื้อ 5 รายจังหวัดปัตตานี 20 ราย: รอผลยืนยันผลตรวจ 8 ราย: ผู้ป่วยติดเชื้อ 12 ราย
จังหวัดยะลา 16 ราย: รอผลยืนยันผลตรวจ 12 ราย: ผู้ป่วยติดเชื้อ 4 รายจังหวัดนราธิวาส 9 ราย: รอผลยืนยันผลตรวจ 4 ราย: ผู้ป่วยติดเชื้อ 5 ราย
สำหรับการขับเคลื่อนการป้องกันโรค ระบาด Covid-19 ที่ดีที่สุดจากคำแนะนำของแพทย์และประสบการณ์การแพร่ระบาดของโรคนี้คือ “ ชวนคนไทยร่วมเข้าสู่ “Social distance” การเพิ่มระยะห่างในการเข้าสังคม หลังการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ลดการเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม ยกเลิกการประชุม ร่วมงานบุญ งานแต่ง ปฏิบัติศาสนกิจจำนวนคนหมู่มากโดย ทำงานที่บ้าน ปฏิบัติศาสนกิจที่บ้าน
หมอารีฟีน ไทยประธาน แพทย์ที่ได้รับการยอมรับจากคนมุสลิมมากที่สุด (หลังจากท่านผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน นักการเมือง และภาครัฐ)เปิดเผยซึ่งใจความพอสรุปได้ว่า “ทฤษฎีพูดง่าย แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากมากในวิถีชีวิตคนมุสลิมชายแดนใต้ที่เขาปฏิบัติมาจากรุ่นสู่รุ่น มีงานปฏิบัติศาสนกิจรวมวันละห้าเวลา มีงานบุญ งานแต่ง และงานอื่นๆที่ปฏิเสธมารยาททางสังคมยาก แม้สำนักจุฬาราชมนตรีจะออกมาตรการทางด้านศาสนามากมายจากเบาไปหาหนัก”
(เก็บตกจากวงเสวนาใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10222250653435676/?d=n)

เพื่อนผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า “พอนึกออกมั้ยครับ เมื่อ 2-3 วันก่อน มีข่าวคนติดเชื้อโควิดจากสนามมวยเดียวกัน จนถึงวันนี้ล่อไป 60 กว่าคน (ไม่นับรวมจากไปงานการชุมนุมนักเผยแพร่ศาสนาที่มาเลเซีย132 ที่ติดไปแล้ว 10 กว่าคน )เป็นคนที่รู้จักกันบ้าง ไม่รู้จักกันบ้าง แทบไม่มีใครรู้ว่าติดว่าจากใคร จากนี้ไปก็พร้อมจะแพร่เชื้อกันต่อไป จังหวัดโน้น จังหวัดนี้ เป็นลูกโซ่ต่อเนื่อง แต่เริ่มยากที่จะหาว่า ต้นและปลายเป็นที่ใด

ลองคิดดูครับ หากในพื้นที่ๆ ที่ประกาศไปแล้วว่ามีผู้ป่วยโควิท19 มัสยิดไหนก็ตามที่ยังมีการละหมาดรวมอยู่ ต่อให้มีมาตรการดีแค่ไหน ก็อย่ามั่นใจครับว่าจะหลีกเลี่ยงได้ เพราะกว่าที่เราจะสร้างนิสัยเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ไม่ใช่สิ่งง่ายๆเลย (พูดง่ายทำอยาก)เช่น

-สลามไม่จับมือ อันนี้ผมก็ลองทำดูแล้ว พบว่าล้มเหลวอยู่หลายที บางทีผู้ใหญ่ยื่นมือมา ไม่ไปจับมือรับสลาม ก็จะหาว่าไม่ให้เกียรติ จะอธิบายก็เดี๋ยวยาว บางทีผมก็เผลอ ไปยื่นมือให้ก่อนอีก มาตอนหลังเริ่มมีคนทำมากขึ้น ก็เผลอน้อยลง แต่ก็ยังหลุดอยู่บ้าง ต้องไปล้างมือในที่ลับตาด้วย ขืนรีบไปล้างมือให้เขาเห็น ก็เข้าใจผิดอีก หาว่าเรารังเกียจ ว่าไปโน่น ดังนั้น อันนี้ไม่ง่าย

-ยืนห่างกัน 1-2 เมตร อันนี้พอได้ เห็นมัสยิดต่างประเทศเริ่มใช้มาตรการนี้กัน แต่ตอนก่อนละหมาด หรือหลังละหมาด เจอคนคุ้นเคย เดี๋ยวเพื่อน เดี๋ยวพี่ อ้าว ยืนห่างตรู ไป 2 เมตร จะให้คุยยังไงดีครับ ก็ต้องเข้าไปคุยใกล้ๆ และถึงแม้ว่าจะพยายามห่างกันแค่ไหน ตอนเข้าออกมัสยิด ถอดรองเท้า วางรองเท้า ใส่รองเท้า ยังไงก็มีโอกาสมาใกล้กันจนได้อยู่ดี

-แกะเอาพรมออก เอาผ้าปูละหมาดมาเอง ทำความสะอาดพื้นทุกเวลาละหมาด อันนี้ก็พอได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเอาพรมมาเอง การแพร่เชื้อก็จะ random ไปสู่คนอื่นที่ไม่ได้ป้องกัน หรือป้องกันน้อยที่สุด

-เราไม่รู้ว่าใครเป็นใครที่ติดเชื้อ อย่างในสนามมวย คนที่ป่วยมีไข้มีน้ำมูก คงไม่มีใครไปสนามมวย ประเภทดูไป ไอไป เชียร์ไป สั่งน้ำมูกไป นั้นไม่น่ามี แต่ผู้ที่ไปสนามมวยอาจจะมีอาการน้อยๆ ที่คิดว่าตัวเองไม่น่าเป็นอะไรมาก ก็เลยไปสนามมวย ผลคือแพร่เชื้อไป หลายสิบ ลองคิดดูครับ ว่าสถานการณ์อย่างนี้ จะมีโอกาสเกิดขึ้นในมัสยิดได้มั้ย ถ้าใจไม่อคติเกินไป ทุกคนคงไม่ปฏิเสธ “
ที่ชายแดนภาคใต้ไม่นับรวมงานแต่งงานแต่งงานศพ งานบุญ 7 วัน ผู้เขียนโดนด้วยตนเองเมื่อต้องปฏิเสธ(โกหกว่ามีธุระ)ไปละหมาดศพมัสยิดหน้าบ้านของแม่โต๊ะครูที่มีคนร่วมกว่า 500 คน

ดังนั้นเพื่อความปลอดโรค ช่วงนี้ ก็ขอให้ช่วยกันใช้มาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด พร้อมทั้งขอพรต่อพระเจ้าเพื่อสังคมโดยส่วนรวม มาละหมาดที่บ้านกันเถิดครับ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นและเชื่อเลยว่า การไปละหมาดที่มัสยิดจะเกิดขึ้นอีก ในเวลาไม่นาน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ครับ เดี๋ยวมันก็ผ่านไปซึ่งการปฏิบัติศาสนกิจในยามวิกฤตินั้นศาสนาอนุมัติ
(โปรดดูบทความผู้เขียนเกี่ยวกับหลักการต่อเรื่องนี้ใน http://spmcnews.com/?p=27158)
สิ่งสำคัญ “ความท้าทายใหญ่”คือเราจะสื่อให้สังคมมุสลิมเราอย่างไร ต่อประเด็นนี้เมื่อต้องปฏิวัติวิถีชีวิตปัจจุบันประจำวัน งานบุญ งานแต่ง งานตาย ละหมาดที่มัสยิดและอื่นๆ ร่วมรณรงค์ทำเท่าที่ท่านแต่ละคนมีความสามารถ ขอพรและตะวักกัล(มอบต่อพระองค์ )
อย่างไรก็แล้วแต่ปัจจุบันในสื่อโซเชี่ยลเป็นที่น่ายินดีว่าเริ่มมีการนำวัจนะศาสดาพูดถึงความสำคัญของการอยู่ บ้านโดยอัครสาวกท่านหนึ่งถามท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด (รอซูล)ว่า ฉันได้ถามท่านรอซูลถึงกาฬโรค ท่านรอซูล ก็ได้บอกกับฉันว่า “แท้จริงมันคือ บทลงโทษที่อัลลอฮ์ส่งมาให้ประสบกับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮ์ทำให้มันเป็นความเมตตาแก่ผู้ศรัทธา และผู้ใดก็ตามได้ประสบกับกาฬโรค แล้วเขาพำนักอยู่แต่ในบ้านด้วยความอดทนและหวังในความโปรดปราน โดยรู้ว่าสิ่งที่เขาประสบนั้นอัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดไว้ เขาจะได้รับผลบุญเสมือนผู้ที่ตายชะฮีด (ผู้พลีชีพเพื่อศาสนา)”
หมายเหตุ
ภาพนี้สะท้อนคลิปนี้ได้ดีและมาเลเซียเป็นตัวอย่าง
https://www.facebook.com/741499413/posts/10158179405714414/?d=n
และอ่านบทคนี้

บทเรียนจากมาเลเซีย เมื่อมาตรการปิดประเทศทำให้คลื่นมหาชนหลั่งไหลกลับภูมิลำเนาจนควบคุมโควิด-19 ได้ยากขึ้น

 2,528 total views,  2 views today

You may have missed