เมษายน 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

R.I.P คณากร : #คืนความเป็นธรรม หยุดแทรกแซง สร้างหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

วันที่ 7 มีนาคม 2563 โลกโซเชี่ยลก็ตกตลึ่งข่าวการเสียชีวิตของผู้พิพากษา คณากร เพียรชนะ
มีการเขียนแสดงความเสียใจ ด้วยคำว่า R.I.P ต่อท่านและครอบครัว
คำว่าR.I.P
เป็นตัวอย่อของ Rest in Peace แปลว่า พักผ่อนในสันติสุข หมายถึงขอให้พักผ่อนด้วยความสงบ ซึ่งภาษาไทยเราจะมักจะพูดว่า “ขอให้หลับสบาย ไม่ต้องห่วงคนข้างหลัง” วลี “Rest in peace” มาจากภาษาละติน Requiescat in Pace
สำหรับมุสลิมจะใช้คำว่า
انالله وانااليه راجعون
ความว่า “แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์และจะกลับไปสู่พระองค์”

ผู้คนส่วนใหญ่แสดงความเสียใจต่อครอบครัวท่านกับการจากไปของ ท่านผู้พิพากษาผู้นี้
แต่ก็มีส่วนน้อยฟังดูแล้วไม่ค่อยให้เกียรติท่านแม้ท่านเสียชีวิต อาจจะด้วยทัศนะที่เคยแสดงออกของท่านที่คนฟังดูแล้ว(อาจทำให้คนเชียร์รัฐบาลหรือไม่เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน)ว่าท่านฝักใฝ่พรรคอนาคตใหม่

“เราจึงไม่แปลกที่ความคิดเห็นทางการเมืองต่างกันทำให้ คน เหยียดหยามกันได้ โดยเฉพาะสื่อใหญ่ เพียงแค่คนเดียว นักการเมืองสตรีด้อยค่าคนหนึ่ง หรือเมื่อเห็น คอมเมนท์ในโลกโซเชี่ยลของผู้คนแล้วเศร้า กรณี คณากร ตัดสินใจ ปลิดชีวิตตัวเองครั้งที่สอง และทิ้งจม.ให้เหตุผล”
สิ่งเหล่านี้มันควรคำนึงถึงมนุษยธรรมหรือความเป็นมนุษย์มากกว่าทัศนะทางการเมือง
เป็นที่ทราบกันดีว่า “ท่านผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ” อดีตผู้พิพากษาจังหวัดยะลา เคยเปิดเผยจดหมายถึงสาเหตุของการยิงตัวเองในศาลจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 และต่อมาได้ถูกสั่งตั้งคณะกรรมการสอบกรณีที่ถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย และมีมติให้นายคณากรไป “ช่วยทำงานชั่วคราว” ในกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ สื่อและคนทั่วไปโดยเฉพาะชายแดนใต้ ตั้งคำถาม ว่า “จากวันนั้นสถานะผู้พิพากษาก็กลับกลายตาลปัตรเป็น “ผู้ต้องหาเสียเอง” หรือ? ในโลกโซเชี่ยลมีข้อความตั้งคำถามมากมายที่แสดงออก

แม้ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีฆ่าตัวตาย ในการเรียกร้องความยุติธรรมของผู้พิพากษาคุณากร (โดยเฉพาะตามหลักการอิสลามที่ผู้เขียนนับถือ)อย่างไรก็แล้วแต่มิได้หมายความว่า เราจะละเลยหาต้นสายปลายเหตุของปัญหานี้
หากเราอ่านจดหมายลาตายทั้งสองครั้งของท่านคณากร ก็จะทราบดีว่า “กระบวนการยุติธรรมแม้ท่านเป็นถึงผู้พากษายัง อาจถูกแทรกแซง”และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งชาวบ้าน คนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและประชาสังคมชายแดนใต้สงสัยมาตลอดโดยมีหลักฐานยืนยันในรายงานการศึกษา(โปรดดูรายละเอียดใน
https://voicefromthais.wordpress.com/2019/10/12/)
เรียกร้องคนมีชีวิตขับเคลื่อนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสนับสนุนแถลงการณ์ภาคประชาชนต่อเรื่องนี้ “’คืนความเป็นธรรม หยุดแทรกแซงผู้พิพากษา สร้างหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ”

(โปรดดู

https://prachatai.com/journal/2020/03/86701)

 746 total views,  2 views today

You may have missed