โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk, http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ในห้วงของวันที่ 1 มีนาคม 2563 มาเลเซียมีนายกรัฐมนตรีใหม่(คนที่8)ที่มีนามว่า Tan Sri Muhyidddin Mohd Yassin แทนที่ Tun Mahathir Muhammad ท่ามเกมส์พลิกไปพลิกมา นาทีต่อนาที ระหว่าง Mahathir กับ Anwar Ibrahim ที่Mahathir เคยสัญญาว่าจะส่งต่อให้เมื่อสองปีที่ผ่านเพื่อคว่ำ Tan Sri Najib อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่6 อย่างไรก็แล้วแต่ตาอยู่อย่าง Muhyiddin ก็คว้าพุงปลาไปกิน หลังจากMahathir แถลงข่าวว่าเขา พลาดเอง ในเกมส์การเมืองครั้งนี้
ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่เมื่อ Muhyiddin ได้เป็นนายกรัฐมนตรี นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศมองว่า ท่านอาจจะต้องเผชิญความท้าทายมากมาย
(ในตอนที่ผ่านมา COVID-19
:โปรดดูใน
เกาะติดการเมืองมาเลเซีย: #COVID-19 ความท้าทายรัฐบาลใหม่มาเลเซีย ภายใต้การนำ Muhyidddin “โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)http://spmcnews.com/?p=26450)
ลำดับต่อไปขอกล่าวถึง
คดีทุจริต 1MDB
Malaysia Development Berhad (1MDB) หรือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติมาเลเซีย ก่อตั้งโดยรัฐบาลมาเลเซีย แรกเริ่มเดิมทีหลักคิดของกองทุนนี้คือการนำเงินสำรองระหว่างประเทศซึ่งมีไว้สำหรับควบคุมค่าเงินระหว่างประเทศ โดยทั่วไปเงินก้อนนี้จะถูกเก็บและไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น แต่ภายหลังมีความเชื่อว่าหากนำมาลงทุนภายในประเทศ จะก่อดอกออกผลมากว่าปล่อยมันนอนนิ่งๆ เพื่อพยุงค่าเงินของประเทศ
มาเลเซียไม่ใช่ที่แรก กองทุนในลักษณะนี้เคยมีบางประเทศดำเนินการจนประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ในกรณีของสิงคโปร์ ในชื่อ ‘กองทุนเทมาเส็ก’ หรือในชื่อทางการคือ บริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์ (Temasek Holdings) เป็นกองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1975 โดยมีกระทรวงพาณิชย์ของสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายเดียว
กองทุน ‘1MDB’ ของมาเลเซีย เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 2008 โดย นาจิบ รอซัก รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศว่า กองทุนนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของมาเลเซียในระยะยาว และตั้งเป้าให้กัวลาลัมเปอร์ เป็น HUB ทางการเงินของเอเชีย หลักคิดดูเหมือนว่าจะดี แต่หลังจากการก่อตั้งกองทุน 1MDB กลับประสบสภาวะขาดทุนต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสความนิยมของรัฐบาลอัมโน ที่มีนายราจิบ รอซักขึ้นมาเป็นผู้นำตกต่ำลงจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มใน
คดีอื้อฉาวนี้ทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีนายิบ รอซักแพ้การเลือกตั้งต่อ พันธมิตรฝ่ายค้าน PH ที่นำโดยมหาเดร์ร่วมมือกับอันวาร์ อิบรอฮีมและMuhyiddin ด้วยที่ตอนเป็นรองนายกรัฐมนตรีนายิบก็โดนปลดจากนายิบ
ดังนั้นการได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เพราะได้เสียงสนับสนุนจากส.ส.พรรคUMNO ของนายิบดังนั้นจึงไม่แปลกที่สื่อและผู้คนจะตั้งข้อสังเกตว่าท่านจะกล้าดำเนินการเรื่องนี้ทางกฎหมายต่อไหม? เพราะคดีนี้ไม่เพียงแต่นายิบ รอซักเท่าที่โดนข้อกล่าวหาแต่ผู้นำพรรค UMNO หลายคนที่ใกล้ชิดกับท่านก็โดนและร่วมรัฐบาลภายใต้Muhyiddin นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เสียงข้อครหานี้ดังมากขึ้นเพราะก่อนหน้านี้อัยการสูงสุดนายทอมมี โทมัส ที่ทำคดีนี้โดยตรงลาออกและวันนี้ 5 มีนาคม 2563 นางลาตีฟ๊ะ โกยา ผอ.สำนักงานป้องกันและปราบปรามการการทุจริต(คอรัปชั่น ) ที่แต่งตั้งในสมัยตุน ดร. มหาเดร์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ยื่นหนังสือลาออกด้วย
(โปรดดู
https://www.freemalaysiatoday.com/category/nation/2020/03/06/resigning-as-anti-graft-chief-latheefa-says-business-as-usual-for-macc/)
ดังนั้นผู้ติดตามการเมืองมาเลเซียอย่างใกล้ชิดกำลังเฝ้ามองเรื่องนี้แม้คนของพรรคร่วมอย่างหัวหน้าพรรคพาส Tuan Guru Haji Abdulhadee Awang (เป็นผู้รู้ศาสนาอิสลามด้วย) ประกาศก่อนและหลังร่วมรัฐบาลว่า จะไม่ยอมให้รัฐบาลนี้ละเว้นปัญหาคอรัปชั่น
1,339 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.