พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

O-NET กับศักยภาพเด็กนักเรียน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)

เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีจะมีการสอบ ระดับชาติ ที่เรียกว่า
O-NET

O-NET คืออะไร ? มันสำคัญอย่างไร จากข้อมูล ของ www.campus-star.com ให้ข้อมูลว่า O-NET หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า Ordinary National Education Test คือการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่ถูกจัดสอบขึ้นโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ซึ่งเป็นการจัดสอบสำหรับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพื่อชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษานักเรียนและโรงเรียน

เรื่องน่ารู้ก่อนเข้าสอบ O-NET คืออะไร ?
ทั้งนี้คะแนนสอบ O-NET ยังสามารถนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาต่อได้ด้วยนะ โดยเฉพาะน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 ต้องนำคะแนน O-NET มาใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยด้วย (นอกจากนี้ยังมีผลคะแนน GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ ที่นำมาใช้ประกอบกันอีกด้วย) สำหรับวิชาที่ใช้ในการสอบ O-NET ของนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 มีดังนี้วิชาสอบของนักเรียน ป.6 และม.3 คณิตศาสตร์
ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ภาษาอังฤษ แต่ ม.6 จะสอบ
วิชาสอบของนักเรียน ม.6 จะเพิ่มอีก1วิชาคือ
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผลสอบO-NET ของ
ป.6 และ ม.3 อาจไม่มีผลเท่า ม.6 แต่อาจจะมีผลสำหรับบางคนที่จะเข้าไปเรียนต่อบางโรงเรียน และสำคัญต่อทุกโรงเรียนในการวัดคุณภาพวิชาการหรือพูดง่ายๆคือหน้าตาของทุกโรงเรียน
สำหรับO-NET ม.6 นั้นมีสำคัญสำหรับคนที่จะเรียนต่อ ในประเทศในหลายๆสถาบัน เพราะ
คะแนน O-NET จะติดตัวเราไปตลอด
การสอบ O-NET จัดสอบโดย สทศ. และสามารถสอบได้เพียงครั้งเดียว
ถ้าขาดสอบ หรือไม่ได้เข้าสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการสมัครแอดมิชชั่น
บางคณะ/สาขาวิชาของมหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ เป็นเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย
O-NET เกี่ยวกับข้องกับสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร ?


คะแนนสอบ O-NET ถือว่าเป็นสิ่งที่สำหรับการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะเป็นคะแนนที่บ่งบอกถึงความรู้ทางวิชาการขั้นพื้นฐาน ที่ทางมหาวิทยาลัยจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเข้าเรียนต่อ ดังนั้นเราจึงต้องเข้าสอบ O-NET และนำหลักฐานผลคะแนนมายื่นในการสมัครเข้าเรียนต่อด้วย โดยคะแนน O-NET สามารถที่จะใช้ยื่นรับตรงและแอดมมิชชั่นได้ ดังนี้

1. รับตรง กสพท
สำหรับการสมัครรับตรงในกลุ่ม กสพท จะไม่ได้นำคะแนนสอบ O-NET มารวมในน้ำหนักของคะแนน แต่มีเงื่อนไขว่านักเรียนที่สมัครสอบ กสพท จะต้องมีคะแนน O-NET รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 (ใน 5 กลุ่มสาระวิชา)

2. รอบแอดมิชชั่น
ในรอบแอดมิชชั่น สำหรับนักเรียนทั่วไป (รอบที่ 4 ในระบบ TCAS) จะใช้คะแนน O-NET เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก โดยจะมีค่าน้ำหนักคะแนนร้อยละ 30 และในบางคณะ/สาขาวิชาจะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำของ O-NET เอาไว้ด้วย

3. รับตรงในบางโครงการ
สำหรับบางคณะ/สาขาวิชาในบางมหาวิทยาลัยจะมีการเปิดรับสมัครตรงเอง โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เอง โดยนอกจากจะมีการสอบ เกรดเฉลี่ยสะสมแล้ว บางโครงการยังมีการกำหนดให้ต้องใช้คะแนนสอบ O-NET ด้วย

จากความสำคัญดังกล่าวการแก้ปัญหาของหลายๆโรงเรียนคือการ ติว ก่อนสอบ

ผศ.ดร.จารุวัจน์ สองเมือง ผู้จัดการหลักสูตรวิทยาการทางการศึกษาและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ให้ทัศนะว่า “

ผมอยากชวนตั้งประเด็นคิด 3-4 ประเด็นดังนี้ครับ
**โรงเรียนของท่านใช้เวลาในการติวนานเท่าไหร ถ้า 1-2 สัปดาห์ อันนี้ผมถือว่าปกติครับเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กที่น่าจะได้ผล การติวระยะสั้นจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็กได้ แต่ถ้าใช้เวลามากกว่านั้นเช่นติวกันเป็นเดือนๆ อันนี้มันเป็นอีกเรื่องที่ควรทบทวน
**อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ รร. ของท่านเลือกใช้วิธีการติวให้กับเด็กก่อนสอบระยะเวลายาวๆ
*****ถ้าเหตุผลเพราะท่านคิดว่าเด็กไม่น่าจะสอบผ่านเพราะเด็กไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับสิ่งที่จะสอบ มันจะย้อนกลับมาว่า แสดงว่าการออกแบบการสอน การจัดทำแผนการสอนตลอดการเรียนของเด็กนั้นไม่สอดคล้องกับหลักสูตรเหรอ ถ้าเป็นแบบนั้น ปีหน้าปรับกระบวนการใหม่ดีไหม ทำหน่วยการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนสอน จะได้ไม่เสี่ยเวลาสอน อีกประเด็นที่อยากบอกคือ ถ้าสอนตามหนังสือไม่มีทางที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กจะทำข้อสอบโอเน็ตได้
*****หากคุณคิดว่าจริงๆ แล้วเด็กฉันเก่งครูฉันสอนดีแล้ว เพียงแต่เอาให้มั่นใจว่าจะดีขึ้นเลยต้องติวนาน ๆ คิดว่า ติวก็เหมือนสอนแบบเข้มข้น ยิ่งมากยิ่งดี ต้องขอบอกว่าคิดแบบนี้ถือว่า “พลาด” ครับ การติวเป็นเพียงการสรุปให้เห็นภาพรวมของเนื้อหา แต่การสอนโอเน็ตเป็นการสอบที่วัดทักษะการคิดมากกว่าเนื้อหา ดังนั้นเมื่อพยายามใส่เนื้อหาให้เด็กมากๆ ก็จะทำให้เด็กให้ความสำคัญกับเนื้อหา ทำให้ทักษะการเดาข้อสอบหายไป และจะยิ่งแย่ถ้าการติวเป็นการเอาข้อสอบเก่ามาอธิบายให้เด็ก แล้วบอกว่าถ้าถามแบบนี้ให้ตอบแบบนี้ จบเลยครับ คะแนนตกแน่ๆ เพราะตอนสอบเด็กจะพวงกับเรียกความจำในสิ่งที่ครูติวไปมาใช้
*****ที่ติวเพราะเห็นโรงเรียนอื่นเขาติวกัน แถมบางโรงยืนยันเลยว่าได้ผลแน่ๆ อันนี้ไม่ต้องคิดอะไรมากเลยครับ เชิญ ผอ.โรงเรียนนั้นมาบริหารแทนท่านเลย เพราะท่านจะเอานวัตกรรมอะไรมาใช้ที่โรงเรียนท่านต้องรู้จักบริบทความเป็นท่านก่อนและปรับใช้ เลือกใช้นวัตกรรมอย่างมีเหตุมีผล


**กี่ปีที่ท่านติวเข้มให้กับเด็กของท่าน ท่านคิดมันได้ผลจริงหรือเปล่า คุ้มไหมกับการสูญเสียเวลาไปเป็นเดือนๆ เพื่อให้เด็กได้คะแนนเพิ่มขึ้นไม่ถึง 4% จากปีที่ผ่านมา (ซึ่งแนวคิดแบบเปรียบเทียบกับคะแนนปีที่ผ่านมาไม่แนะนำให้เอามาใช้ครับ) และลองเปรียบเทียบว่าอันดับของโรงเรียนเราดีขึ้นมาจริงหรือเปล่า หรือยังเกาะกุมกับโรงเรียนกลุ่มเดิมๆ ถ้าเป็นแบบนั้นไม่ติวคะแนนก็ได้เหมือนเดิมครับ
**เมื่อเนื้อหาการสอบโอเน็ตมีส่วนที่เป็นเนื้อหาวิชาเรียนเพียงไม่ถึง 30% การสร้างความพร้อมให้กับเด็กที่เป็นระยะยาวมีความสำคัญ แต่ปัจจุบันการสอนปกติก็เน่นเนื้อหา ติวอีกก็ยังเน่นเนื้อหา สุดท้ายเด็กก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือการฝึกทักษะที่จำเป็นสำคัญเขาเลย และผลสุดท้ายก็คือ รร.ได้คะแนนโอเน็ตต่ำเหมือนเดิม
**ท่านเคยถามเด็กไหมว่า ชอบการติวไหม ส่วนตัวพบคำตอบว่า ตอนติวเห็นความทุ่มเทในการสอนของครูมากกว่าการสอนเวลาปกติเท่านั้นเอง ลองถามเด็กดูนะครับแล้วท่านอาจจะได้ข้อมูลว่า การติวต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเหมือน เพราะการติวบางรูปแบบที่ครูใช้อาจจะสร้างความสับสนให้กับเด็กได้

เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไม่มีปัญหาอะไรครับ ผมไม่ได้ปฏิเสธการติว แต่ผมคิดว่ามันไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาโอเน็ตได้ ที่สำคัญถ้าเราพัฒนาเด็กได้รอบด้าน เราก็จะไม่ต้องกังวลกับคะแนนโอเน็ตเลย”
อย่างไรก็แล้วผล O-NET มันคือกระบวนการหนึ่งในการวัดองค์ความรู้ทางวิชาการ
อาจารย์ชากิรีน สุมาลี ผู้อำนวยการโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิให้ทัศนะว่า
“Onet ไม่ได้เป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษา
แต่เป็นเพียงแค่กระบวนการวัดผลประเมินผล

แต่เป้าหมายหลักของการจัดการศึกษาอิสลาม
คือ การนำพาเยาวชน ไปสู่ความยำเกรง เพื่อ
การเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮ์ ดังที่ อัลลอฮ์ทรง
ตรัสว่า
#และเรามิได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่ออิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์#
หากดูความสำเร็จของมนุษย์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากผลการเรียนดี จากการวัดทางวิชาการของระบบการศึกษาปัจจุบัน คนเรามีความสามารถไม่เหมือนกัน
เหมือนสัตว์ต่างๆเช่นไก่ เป็ด ลิง ปลา จรเข้และอื่นๆ
(https://teeneethailand2.com/archives/19223)
ดร.ประสาท มีแต้ม เปรียบการจัดการศึกษากับ

“โรงเรียนสัตว์”ซึ่งเขียนโดย George H. Reavis ท่านได้ถอดความว่า

“กาลครั้งหนึ่ง พวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายได้ตัดสินใจร่วมกัน ว่า เพื่อที่จะให้พวกเราเหล่าสัตว์ทั้งหลายสามารถรู้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เราควรจะต้องจัดการให้มีโรงเรียนขึ้นมา ถึงเวลาจะต้องพัฒนาแล้ว

เพื่อความรวดเร็ว พวกเขาจึงได้ลอกหลักสูตรมาจากสำนักแห่งหนึ่งซึ่งประกอบด้วย 4 วิชา คือวิชา วิ่ง ว่ายน้ำ ปีนต้นไม้ และ บิน คณะกรรมการโรงเรียนก็อนุมัติในทันทีและเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารหลักสูตร พวกเขาจึงตั้งกติกาว่า “สัตว์ทุกตัวต้องลงทะเบียนเรียนทั้งสี่วิชานี้เหมือนกันหมด สัตว์ตัวใดต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษก็ค่อยไปศึกษาระดับปริญญาในมหาวิทยาลัยก็แล้วกัน”

นักเรียนทั้งหมดมี 5 ท่าน คือ เป็ด กระต่าย กระรอก นกอินทรีย์ และปลาไหล แต่มีตัวละครเพิ่มอีก 1 ตัว คือหนู นักเรียนเป็ดซึ่งมีความสามารถสูงมากในด้านการว่ายน้ำ และจริงๆแล้วเขามีความสามารถมากกว่าครูผู้สอนเสียอีก แต่ด้วยความที่จ้าวเป็ดน้อยกลัวจะสอบตกในวิชาการวิ่ง เป็ดจึงต้องอยู่ตอนเย็นหลังเลิกเรียนเพื่อเรียนพิเศษเพิ่มเติม เธอต้องฝึกวิ่งอย่างหนักจน “พายตีน” ฉีกขาด

ในที่สุดนักเรียนเป็ดผู้น่าสงสารก็สอบวิชาว่ายน้ำศาสตร์ได้ เกรดเพียงแค่ผ่าน หรือได้ระดับซีเท่านั้น ส่วนผลการเรียนวิชาอื่น ๆ ปรากฏว่า เป็ดได้เพียงเกรดซีในวิชาการบินและปีนต้นไม้ ส่วนวิชาการวิ่งเธอได้เกรดดีลบ เพราะว่าเท้าของเป็ดน้อยผู้น่าสงสารเต็มไปด้วยแผลเหวอะหวะ

กระต่ายซึ่งมีความสามารถในการวิ่งสูงกว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน แต่กระต่ายก็ต้อง “ประสาทกิน” เพราะวิชาว่ายน้ำแย่งเวลาไปเกือบหมด

เจ้ากระรอกน้อยซึ่งเป็นเลิศในวิชาปีนต้นไม้ก็ต้องมาเซ็งอย่างสุดๆ กับเงื่อนไขของครูที่ว่า “เธอจะต้องบินจากพื้นดินข้างล่างขึ้นสู่ข้างบนเท่นั้น” กระรอกน้อยก็ขอร้องว่า “ครูครับผมขอบินจากที่สูงคือจากยอดไม้ลงไปสู่พื้นดินซึ่งผมถนัด” แต่คุณครูบอกว่า “ทำไม่ได้ เพราะผิดระเบียบ”

ในที่สุดกระรอกก็ต้องออกแรงมากในการบินจนเกิดอาการปวดขา จึงได้เกรดซีในวิชาปีนต้นไม้และได้เกรดดีในวิชาวิ่งและวิชาการบิน

ส่วนนกอินทรีย์ซึ่งเป็นเด็กมีปัญหาและถูกกวดขันให้อยู่ในวินัยอย่างเข้มงวด ในวิชาปีนต้นไม้ครูบอกว่า “เธอต้องปีนจากตำแหน่งนี้ไปสู่อีกตำแหน่งหนึ่งที่ฉันกำหนดให้” เจ้านกอินทรีย์รู้สึกอึดอัดมากจึงดื้อแพ่งที่จะใช้วิธีการของตนเองพร้อมบอกกับคุณครูว่า “หนูสามารถออกจากจุดนี้ไปยังจุดที่คุณครูกำหนดได้อย่างรวดเร็วและเร็วกว่าใคร ๆ ในปฐพีนี้ แต่ขอให้หนูไปโดยวิธีการบิน ขอไม่ปีนได้ไหม” ในที่สุดครูก็ไม่ยอมและให้นกอินทรีย์สอบตก

เมื่อวันสิ้นสุดการศึกษามาถึง ทางโรงเรียนจัดพิธีคล้ายๆ กับเด็กอนุบาลรับปริญญาในเมืองไทย ปลาไหลพิการได้รับเลือกให้เป็นประธานรุ่น ประธานซึ่งสามารถสอบผ่านได้ทุกวิชา คือ ว่ายน้ำได้ดีกว่าใคร ๆ วิ่งก็ได้ ปีนต้นไม้และบินได้เล็กน้อยก็ได้เกรดเฉลี่ยสูงที่สุดในชั้น จนได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนนักเรียนเพื่อกล่าวขอบคุณในงานเลี้ยงอำลาโรงเรียน

ยังมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือ วันหนึ่งแม่หนู (หนูจริง ๆ มีสี่ขามีหางด้วย-ไม่ใช่สาว ๆ ที่แทนตนเองว่าหนู) ได้มาติดต่อกับโรงเรียนเพื่อขอให้ทางโรงเรียนนี้เปิดสอนวิชาขุดดินและการหลบซ่อนตัวให้กับลูกของตน แต่ทางโรงเรียนไม่ยอมเปิดสอน ในที่สุดแม่หนูก็ต้องส่งลูก ๆของตนไปเรียนในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในที่สุดลูกหนูตนนี้ก็สำเร็จการศึกษาและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานี้ในเวลา ต่อมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ระบบการศึกษามีความสามารถในการทำลายศักยภาพของนักเรียนได้อย่างยอดเยี่ยม แทนที่การศึกษาจะช่วยค้นหาศักยภาพของผู้เรียนแล้วพัฒนาให้สูงขึ้น”(โปรดดูรายละเอียดบทความใน
https://blogazine.pub/blogs/prasart/post/3133)
ดังนั้นก็ฝากสำหรับทุกคน และครอบครัวที่อยู่เบื้องหลังว่า คะแนน O-NET ไม่ใช่ทุกคำตอบแม้ไม่สามารถที่จะมองข้ามมัน โดยเฉพาะคุณค่าของความเป็นมนุษย์ภายใต้ศักยภาพของทุกคนที่แตกต่างกัน
เป็นกำลังใจกับลูกๆม . 6 ที่จะสอบ O-NET อีกไม่กี่วัน

////////////////////

 1,294 total views,  2 views today

You may have missed