พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

บทความพิเศษ..ประชาธิปไตย คือ ทางออกอย่างยั่งยืนในปัญหาชายแดนใต้ วาระ (16ปี)ไฟใต้ปะทุ

แชร์เลย

จากรุ่นพี่ผู้มากประสบการณ์ด้านการต่อสู้ประชาธิปไตย (ขอสงวนนาม)


…เวียนครบ (4 มกราคม 2563)ครบรอบ16ปีของ #จุดไฟใต้ ครั้งใหม่ ที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งหากจะนับจำนวนปีกันอย่างเคร่งครัด ผมคิดว่าควรครบ 19 ย่างปีที่ 20 เสียมากกว่า เพราะความรุนแรง ความไม่สงบลักษณะ ที่ จังหัดชายแดนภาคใต้ครั้งใหม่ ได้เริ่มชัดเจนมาตั้งแต่ปี2544แล้ว คือผมนับจากเหตุการณ์สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ถูกระเบิดเสียหายยับเยิน เมื่อ 7เมษายน 2544 และหลังจากนั้นก็มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง…
…แต่นั่นแหละดูเหมือนสังคมต่างยอมรับให้ถือเอาวันที่ 4 มกราคม 2547 จากกรณี #เหตุการณ์เจาะไอร้อง ที่ขบวนการต่อต้านรัฐด้วยกำลังอาวุธ บุกจู่โจมเข้าโจมตีและยึดกองพันพัฒนาที่4ไว้ชั่วคราวโดยทำลายชีวิตทหารในค่ายจำนวนหนึ่งและยึดปืนและยุทธภัณฑ์อื่นๆในคลังอาวุธของค่ายไปเป็นจำนวนมากเป็นหมุดหมาย เมื่อเป็นดังนั้นก็ว่ากันไปเถอะครับ และเหตุการณ์นี้ดูเหมือนทุกฝ่ายรวมถึงกลุ่มพลเมืองที่ได้ชื่อว่าก้าวหน้าของสังคมซึ่งเรียกตัวเองว่าประชาสังคม และไม่เว้นสื่อที่เรียกตัวเองว่า #สื่อสันติภาพ ก็ต่างพากันเฮละโลเรียกว่า #เหตุการณ์ปล้นปืน เช่นกันอันเป็นการเรียกที่มีนัยชี้ไปในทางที่เป็นเพียง #อาชญากรรมธรรมดา หาใช่เป็น #อาชญากรรมทางการเมือง อย่างที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ส่งผลในการทำความเข้าใจสงครามที่ชายแดนใต้ของสังคมไทยไม่น้อย…
…และหากถือเอาจำนวน 16 ปี อย่างที่คนทั่วไปยึดถือกัน จากวันนี้ในปี2563 เมื่อมองกลับไปที่สงครามที่ชายแดนใต้ สำหรับตัวผมตัวเอง
ก็ถือว่ามันเป็น #16ปีแห่งความหลัง ทั้งรัก ทั้งชัง ทั้งหวาน และขมขื่น ครบทุกรส…
…ในฐานะผู้สนใจสถานการณ์อย่างต่อเนื่องมาตลอด 16 ปี หากถามว่าผมมีข้อสังเกตุอะไรบ้างที่มีนัยจะแปรเปลี่ยนจาก #สงครามสู่สันติภาพ …
… ประะมาณกลางปี 2551 ผมอาศัยสติปัญญาอันน้อยนิดไปตั้งข้อสังเกตุแบบ #ฟันธง กับเพื่อนมิตรที่สนใจปัญหาร่วมกันอย่างมั่นใจว่า #สันติภาพชายแดนใต้ไม่มีทางลัดและสูตรสำเร็จ เหตุผลเป็นอย่างไรนั้น ผมได้ใช้พื้นที่เฟซบุ๊กของผมแสดงเหตุผลข้อสังเกตุนั้นเป็นระยะๆตลอด10ปีที่ผ่านมา วันนี้จึงไม่ขอพูดถึงอีกครับ…
…สำหรับปีนี้ในฐานะเป็นคนหนึ่งที่ร่วมสมัยสงครามเย็นสงครามกลางเมือง ก็อดไม่ได้ที่จะตั้งข้อสังเกตุในเชิงเปรียบเทียบกับสงครามที่ชายแดนใต้เรื่องหนึ่งว่า สงครามปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท)ในอดีตถูกนับว่าเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 สิงหาคม 2508 และอ่อนแรงลงหลังผ่านเหตุการณ์6ตุลา19ไม่นาน จนในที่สุดได้มาถึงจุดจบคือราวๆปลายปี2524 ก็นับเวลาได้16ปีเท่ากับสงครามซึ่งดำเนินมาที่ชายแดนใต้จนถึงวันนี้เช่นกัน ในสงครามกลางเมืองครั้งนั้น สำหรับผมก็ยิ่งเป็น 16 ปีแห่งความหลัง(ทั้งๆตัวเองเข้าร่วมในเขตป่าเขาแค่เกือบๆ5ปีเท่านั้น)ที่มีทั้งรัก ทั้งชัง ทั้งหวาน และขมขื่น เช่นกัน ผิดกันเพียงว่า สงครามปฏิวัติของ พคท.แม้มีขนาดใหญ่กว่า แต่เมื่อครบ16ปีสงครามก็สิ้นสุดลง เกิดเป็นสันติภาพเป็นสันติภาพที่มีผู้ชนะผู้แพ้…

…ศึกที่ชายแดนใต้ซึ่งผ่านมา16ปีแล้วนั้น แม้ขนาดของสงครามจะเล็กมาก เมื่อเทียบกับสงครามปฏิวัติของ พคท.แต่ผลสะเทือนโดยเฉพาะทางความคิดของผู้คนภายในประเทศกลับกว้างไกลลึกซึ้งหลายมิติกว่าสงครามที่นำโดย พคท.มากมายยิ่งนัก…
…พรุ่งนี้วันที่ 5 มกราคม ก็ย่างปีที่ 17 ของความรุนแรง ก่อความไม่สงบ ที่ จชต.แม้การสู้รบดูอ่อนแรงลง แต่ดูเหมือนยังไม่เห็นวี่แววว่าจะสิ้นสุดลงอย่างง่ายๆอย่างที่ใครๆปราถนา…
…แล้วมันจะจบแบบไหน? เมื่อไร? ผู้เคยนำเสนอคำตอบแบบเพ้อฝัน ต่างเงียบเสียงมานักต่อนักแล้ว...
…สถานการณ์อนาคตจากนี้ ตามความคาดหมายของผม #ในวิถีสงคราม หากด้านขบวนการต่อต้านรัฐยังยืนหยัดอุดมการณ์และเป้าหมายทางการเมืองคือ #เอกราชปาตานีและถือการต่อสู้เพื่อเอกราชเป็นข้อบังคับเด็ดขาดของศาสนาหรือวาญิบ และด้านรัฐยังไม่มีท่าทีที่จะ #แก้ปัญหาด้วยนโยบายทางการเมืองเป็นด้านหลัก แล้วไซร้ สงครามที่ชายแดนใต้ก็คงดำรงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน #ยาวนานจนยากที่ทำนายเวลาสิ้นสุด…
...ส่วน #วิถีสันติวิธี ที่แกนกลางของมันมุ่งยุติสงครามด้วยกระบวนการทางการเมือง ก็ขึ้นอยู่ว่าระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นพื้นฐานอันดับแรกของวิถีนี้ (เข้าใจว่าภาษาวิชาการน่าจะเรียกว่า platformกระมัง)จะแข็งแรงมีประสิทธิภาพได้รวดเร็วแค่ไหน ประการต่อมายังต้องขึ้นกับว่าสังคมไทยได้เข้าใจปัญหาและความต้องการของสังคมมลายูมุสลิมอย่างเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกๆส่วนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงด้วยสันติวิธียังต้องลงเรี่ยวลงแรงอีกมากมายโดยเฉพาะชาวมลายูมุสลิม เพราะปัจจุบันสิ่งดังว่ายังอยู่ในลักษณะจำกัดกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มาก ที่พูดอย่างนั้นก็เพราะความเป็นจริงที่ #สันติภาพด้วยวิถีการเมือง ความยอมรับของสังคมไทยเป็นตัวชี้ขาด หาใช่ #สันติภาพจากคนใน (สังคมมลายูมุสลิม)ตามวาทกรรมที่เป็นกระแสในพื้นที่ จชต.อยู่หลายปีแต่อย่างใด เมื่อเป็นดังนั้น จึงย่อมไม่ง่ายที่จะทำให้สังคมไทยเข้าใจและยอมรับว่าสงครามที่ชายแดนใต้ #สาเหตุ มาจากความขัดแย้งทางการเมือง เป็นการเมืองในเรื่อง #ประวัติศาสตร์ #ชาติพันธ์ #ศาสนา และ #วัฒนธรรม เพราะพิจารณาความเป็นจริงในปัจจุบันจากกระแสความรู้สึกนึกของทั้งสองสังคม คือสังคมชาวมลายูมุสลิมกับสังคมไทยทั่วไป ผมเห็นว่ายังห่างไกลกับสันติภาพที่ผู้คนปราถนามากมายนัก เมื่อเป็นเช่นนั้นจะปราถนาหรือไม่ปราถนาก็ตาม แม้สถานการณ์ในอนาคตอาจไม่รุนแรงเท่า10ปีแรกของอดีต แต่สงครามที่ชายแดนใต้ ยังจะเป็น #สงครามยืดเยื้อต่อไป ผมคิดว่าไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นผู้นำขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายให้ จชต.บังเกิดสันติภาพ ก็ล้วนถูกบังคับโดยสภาพให้ต้องเผชิญกับเวลาที่ยืดเยื้อทั้งสิ้น แต่ลึกๆผมก็ภาวนาขอให้ข้อสังเกตุของผมเกิดมีผลตรงกันข้ามครับนะครับ…
… ส่วนทางออกไปสู่สันติภาพนั้น ผมมั่นใจว่า #ทิศทางใหญ่ ของสันติภาพชายแดนใต้ พื้นฐานที่สุด คือการร่วมกันผลักดันให้ประชาธิปไตยในสังคมไทยเป็นประชาธิปไตยของปวงชนโดยแท้จริงให้ได้ สันติภาพชายแดนใต้ก็น่าจะเดินทางไปถึงอย่างน้อยๆก็ใกล้ๆครึ่งทางแล้วครับ…
และทั้งหมดคงเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาจากข้อสังเกตุเดิมที่ว่า สันติภาพชายแดนใต้ไม่มีทางลัดและสูตรสำเร็จของผมในวาระย่างปีที่ 17 ของความรุนแรง ความไม่สงบ (สงคราม) ที่ปลายด้ามขวาน ซึ่งเป็นแต่เพียงข้อสังเกตุแบบบ้านๆเท่านั้นครับ…

 905 total views,  2 views today

You may have missed