เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

แม่ทัพภาค 4 แจงทหารปะทะ เขาตะเว 3 ศพ เป็นศพชาวบ้าน ไม่ใช่แนวร่วม ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ประกาศขยายเวลาใช้ พรก.ฉุกเฉิน จชต.ต่อไป

แชร์เลย

ทีมข่าว SPM news รายงาน..

เวลา 15.00 น.วันที่ 17 ธ.ค.62 ที่ห้องประชุมโรงเรียนชุมชนสหพัฒนา บ้านยะหอ ม.2 ต.บองอ อ.ระแงะ พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4   พล.ท.สมพล ปานกุล แม่ทัพน้อยที่ 4 พลตรี เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ลงพื้นที่ พบปะญาติ และชี้แจงทำความเข้า ให้กับญาติ และประชาชนในพื้นที่ กรณี เหตุยิงปะทะบนเขาตะเวะ ต.บองอ อ.ระแงะ จนเป็นเหตุ ผู้เสียชีวิตทั้ง 3 คน ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญ ประกอบด้วย 1.นายฮาพีซี มะดาโอะ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 134/2 ม.8 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 2. นายบูดีมัน มะลี 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 134/4 ม.8 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และ 3. นายมะนาซี สะมะแอ 27 ปี อยู่บ้านเลขที่ 175/2 ม.8 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เกิดเกิดในช่วงเวลา 18.00 น.ของเย็นวันที่ 16 ธ.ค. 62 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวแสดงความเสียใจ ต่อหน้าญาติ ผู้เสียชีวิต และยืนยัน ความบริสุทธิใจ และโปร่งใส   ต่อการปฎิบัติหน้าที่ และกรณีที่เจ้าหน้าที่ ได้ใช้อาวุธปืน เป็นเหตุให้ชาวบ้าน 3 ราย ซึ่งมีอาชีพในป่า เสียชีวิต กองทัพไมได้แก้ตัวแลยอมรับ ในความผิดพลาด และสาเหตุที่ล่าช้าในการนำศพลงมา สืบเนื่องจาก จุดเกิดเหตุห่างไกล และลำบากพื้นที่ป่าเขา ไม่มีสัญญาณสื่อสาร ซึ่งวันนี้ได้ ให้ส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานตำรวจพิสจน์หลักฐาน ทหาร ปกครอง แพทย์ นักสิทธิมนุษยชน เดินทางขึ้นป่าเขา เพื่อตรวจสอบจุดเกิด ว่าไม่มีการสร้างฉาก เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด จากนี้ไป จำเป็นต้องให้เกิดความยุติธรรม 3 ข้อหลัก 1.นำคนผิดผู้ก่อเหตุมาลงโทษ ตามกฎหมาย 2.การดูและเยียวยา ให้ญาติหรือทายาทให้เกิด.ความเป็นธรรมทุกราย 3.ให้องค์กรอิสระ คณะกรรมสิทธิ์มนุษยชนแห่งชาติ ที่มีนายแวดือราแม มะมิงจิ  เป็นประธาน ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงาน คืบหน้าต่อไป เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน สู่กระบวนการยุติธรรม นำพาสันติสุขให้กับพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรานงานว่า หลังแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวชี้แจง ทางญาติผู้เสียชีวิต ได้กล่าว   ความรู้สึก ว่าเสียใจจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  และไม่มีใครอยากเห็น ความรุนแรงที่เกิดต่อชีวิต และอยากให้แม่ทัพภาคที่ 4 เข้มงวดกวดขัน การใช้อาวุธปืน โดยเฉพาะ ความละเอียดอ่อน ในการปฎิบัติ เพราะอาจผิดพลาด โดนชาวบ้านหาเช้ากินค่ำ หรือผู้บริสุทธิ์ได้ อย่างไรก็ตามในเรื่อง ที่แม่ทัพภาค 4 ได้ชี้แจงกับทางญาติดังกล่าว ขอให้กองทัพ ทำให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความ เป็นธรรมและยุติธรรม ด้วย

หลังเสร็จคำชี้แจง พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4    ได้แถลงข่าวกับผู้สื่อข่าว  ในเรื่องข้อเท็จจริง เหตุยิงราษฎรเสียชีวิต  3 ราย ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ว่าจากกรณีเจ้าหน้าที่ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารหรานที่ 45 ได้ปะทะกับกลุ่มบุคคล ไม่ทราบฝ่าย เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต บนเทือกเขาตะเว ตำบองอ อำเภอระแงะ งังหวัดนราธิวาส นั้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าลชี้แจงให้ทราบดังนี้

ในนามของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง ๓ ราย ที่เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยขอยืนยันว่าจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ด้วยความโปร่งใสและพร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ แม้เบื้องตันพบว่าเป็นการสำคัญผิด

ของเจ้าหน้าที่ อย่างโรก็ตามหากภายหลังพบว่าเจ้าหน้าที่กระทำความผิดด้วยความจงใจ ก็จะดำเนินการทั้งทางวินัยและอาญาทหารขั้นสูงสุดโดยไม่มีข้อยกเว้น

๒. จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นพบว่าการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เป็นการยายผลจากเหตุปะทะกับกลุ่มคนร้ายเมื่อ 4 ธันวาคม 2562 ในพื้นที่ หมู่ ๑๓ ตำบลตันหยงมัสส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส แต่คนร้ายได้หลบหนีไปได้ และจากภาพข่าว ความเคลื่อนไหวของคนร้ายอย่างต่อเนื่องในห้วงที่ผ่านมา จึงได้จัดกำลังเข้าไปพิสูจน์ทราบ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่เคยปะทะกับกลุ่มคนร้ยหลายครั้งในห้วงที่ผ่านมา เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุได้เจอกับกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่ายประมาณ ๙ – ๕ คน เจ้าหน้าที่ จึงได้แสดงตัว เพื่อตรวจอบแต่กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้วิ่งหลบหนีพร้อมกับได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 3-4 นัค เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการยิงตอบโต้และเมื่อเข้าตรวจอบที่เกิดเหตุพบมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ส่วนที่เหลือได้หลบหนีไปได้

ในห้วงที่ผ่านมา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ได้เปิดแผนเข้ากดดันบังคับไมมายกลุ่มคนร้ายในพื้นที่ป่าภูเขาทุกพื้นที่ พร้อมได้ออกคำสั่งห้ามราษฎรขึ้นไปหาของป่าหรือกระทำสิ่งอื่นใดในพื้นที่ป่าภูเขา ทั้งนี้ได้แจ้งผ่านกำนัน

ผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่เทือกเขาเมาะแต และเทือกเขาตะเว ถือเป็นพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาดเพราะเป็นพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ ได้เคยปะทะกับกลุ่มคนร้ายมาแล้วหลายครั้ง โดยที่ผ่านมาสามารถตรวจยึดฐานที่มั่นบนพื้นที่ เขาตะเว และเขาเมาะแตได้ถึง 8 ฐาน “.

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นทั้ง 3 รายเป็นราษฎร์ในหมู่บ้าน ไม่ใช่ผู้ก่อเหตุรุนแรงแต่อย่างใด ถึงแม้เจ้าหน้าที่ จะปฎิบัติอย่างระมัดระวัง แต่ได้สำคัญผิดว่า เป็นผู้ก่อเหตุรุนแรง ที่ปรากฏภาพข่าวความเคลื่อนไหวพื้นที่ดังกล่าว ก็ตาม แต่เมื่อเกิดความสูญเสียขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน ก็ไม่สามารถที่จะปฎิเสธความรับผิดชอบได้ โดยจะต้องเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนของกฏหมาย พร้อมตั้งคณะกรรมสอบสวน ของหน่วยเพื่อดำเนินการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งทางวินัย และอาญา ขั้นเด็ดขาด โดยไม่มีข้อละเว้น นอกจากนี้ นอกจากนี้ยังไต้มอบหมายไห้คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน ที่เป็นองค์กรอิสระผู้แทนของทุกภาคส่วนที่ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ เข้าทำการตามข้อเท็จจริง คู่ขนานอย่างเป็นอิสระด้วยความโปร่งใส เพื่อหาข้อสรุป

ร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาให้เหมาะสมและเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่บทสรุปดังกล่าว จะไม่มีข้อพันธะผูกพันทางกฏหมาย ทั้งนี้ จะรายงานความคืบหน้า การดำเนินการให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป

ด้าน นางพรวิลัย บวรณรงค์เดช คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้ ซึ่งได้ร่วมแถลงข่าว ได้กล่าว ได้รับทราบว่า ตนได้เดินทางขึ้นไปดูจุดเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ราย อยู่ในสภาพที่นอนเสียชีวิตอยู่ข้างกองไม้แปรรูป โดยที่ไม่มีอาวุธปืนแต่อย่างใด และเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้มีการจัดฉาก ซึ่งขอให้ชาวบ้านทุกคนไว้วางใจการสอบสวนข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตนถือว่าพอใจที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้เจ้าหน้าที่จะสำคัญผิดว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ราย เป็นกลุ่มคนร้ายจึงถูกวิสามัญดังกล่าว อย่างไรก็ตาม รายงานของสิทธิมนุษยชน ได้เริ่มต้น การทำงานเริ่มแล้วนับแต่วันนี้ และจะรายงานผลภายใน 7 วัน หลังจากนี้ไป

รายงานแจงว่า ศพที่เสียชีวิต ทั้ง 3 ราย ล่าสุดเวลา 21.00 น.วันเดียวกันนี้ ทางญาติ และชาวบ้านในพื้นที่และผู้นำศาสนา ได้ทำพิธีละหมาดญานาซะ หรือละหมาดแก่ผู้เสียชีวิต และดำเนินการฝังศพ ที่สุสานหรือกูโบร์ บ้านยะหอ ม.10 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ตามหลักศาสนาอิสลาม ท่ามกลางบรรยากาศความโศกเศร้า ของญาติและชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าว

ในวันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรี กำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2550 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้มีผลในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 นี้เป็นต้นไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

////////////////////////////////////

 

 844 total views,  2 views today

You may have missed