พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

บทเรียนการจัดขยะ ที่เทศบาลตำบลปริก เพื่อสิ่งแวดล้อม

แชร์เลย

โดยนายสุริยา ยีขุนนายกเทศบาลตำบลปริก…


การจัดการขยะ เป็นงานบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังที่เราเคยได้ยิน กันบ่อยๆในอดีตว่า ถ้ามีขยะเกิดขึ้น ที่ไหนเมื่อไหร่ ก็เรียกเทศบาลหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจัดการ เหมือนกับว่าเป็นงานที่จะต้องบริการไปโดยที่น้อยคนนักจะเห็นคุณค่า ความดีงามของการบริการสาธารณะประเภทนี้ เพราะเห็นว่าขยะเป็นเรื่องของความสกปรก ทุกคนอยากจะทิ้งให้ไกล ทิ้งให้ห่างจากบ้านเรือนของตนเอง เช่นคำปรารภแต่ก่อนเก่า ที่ว่า อะไรก็ตามที่เป็นของไม่ใช้แล้วหรือเป็นขยะนั้น จะเอาไปทิ้งที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่บ้านของฉันหรือบริเวณสนามหญ้าหลังบ้านของฉันก็แล้วกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมนิยมที่ตรงกับคำของคนตะวันตกที่มักจะพูดกันบ่อยมาก ในช่วง 3-4 ทศวรรษ ที่ผ่านมา ด้วยคำว่า “นิม” NIM ที่ย่อมาจากคำว่า Not In My Backyard


นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา เทศบาลตำบลปริกได้ใช้แนวคิดหลักในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ด้วยการรณรงค์ให้ผู้คนในสังคมได้เรียนรู้และเข้าใจว่าขยะนั้นควรจะเป็นเรื่องของทุกๆคนมิใช่เป็นภาระของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะแต่ในขณะนั้นก็ยังไม่ได้รับความร่วมมือและการให้ความสำคัญจากสังคมเท่าไหร่นัก..หรืออาจจะเป็น เพราะว่า ในตอนนั้นผู้คนเห็นว่าเรื่องของขยะไม่น่าจะเป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบในวงกว้าง จึงยังไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดการขยะดังเช่นในปัจจุบัน… และในขณะเดียวกันก็จะมีเสียงสะท้อนจากผู้คนในชุมชน ออกมาในเชิงเสียดสี ประชดประชัน ว่า ” นายกฯคนนี้นะหรือที่ชาวบ้านเลือกเข้ามา ไม่เห็นมันจะทำอะไรเป็นเลยสักนิด มันไปเอาความคิดมาจากไหน ที่ วัน ๆ เห็นแต่ไปเที่ยวเดินเก็บขยะ หรือไม่ก็เที่ยวมาชวนให้ชาวบ้านออกมาเก็บขยะกับมัน ทั้งๆที่เป็นภาระหน้าที่ของคนกวาดขยะ คนเก็บขยะของเทศบาลโดยตรง…ดู ๆ แล้วไม่เห็นว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งเลยสักนิด ชาวบ้านเลือกเข้ามาได้อย่างไรกัน…” …และอื่น ๆ อีกหลายประการ …แต่ เทศบาลตำบลปริกของเรา ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค หรือการเสียดสี ต่าง ๆ นานาแต่ประการใด จึงได้เพียรพยายามที่จะเดินหน้า เพื่อสานต่อแนวคิดในเรื่องการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมด้วยการเริ่มหาเพื่อน เครือข่ายทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนแนวคิดและค้นหาวิธีการในการดำเนินงานเรื่องการจัดการขยะในชุมชนเทศบาลตำบลปริก ด้วยการประสานงานไปยังคณะการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ ทางด้านความรู้วิชาการ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากท่านคณบดี คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้นเป็นอย่างดี


หมายเหตุโครงการเปลี่ยนขยะเป็นศูนย์

 2,126 total views,  2 views today

You may have missed