พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

อดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นต่าง คือแนวทางสู่สันติภาพ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
รายงานจากกรุงเทพมหานคร
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

วันพฤหัสบดี-ศุกร์ ที่ 21-22 พฤศจิกายน 2562 ผู้เขียนได้เข้าร่วมสัมมนานานาชาติ (Tolerance and Coexistance Forum 2.0) ณ โรงแรมเชอร์ราตันแกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ซึ่งการเสวนาพูดคุยในครั้งนี้มุ่งส่งเสริมการแสดงออกอย่างสันติบนปริภูมิไซเบอร์ และพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมการเปิดใจรับฟัง อดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นต่าง การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายอย่างสันติ และร่วมต่อต้านความรุนแรงและข้อมูลเท็จบนโลกออนไลน์
การสัมมนานี้ เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรเอกชนไม่เเสวงหาผลกำไร ผู้วางนโยบายองค์กรเอกชนหรือหน่วยงานรัฐ องค์กรสื่อสมัยใหม่ นักเทคโนโลยี และนักพัฒนาด้านเทคโนโลยีเเละนวัตกรรมเพื่อสังคมทุกท่านทั้งในและต่างประเทศ เช่นกลุ่มประเทศอาเซี่ยน อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา ประมาณ 100 คน
มีตัวแทนแต่ละประเทศนำเสนอหลายหัวข้อเช่น ศาสนสัมพันธ์และสันติภาพโลกในยุคดิจิตอล การเสริมศักยภาพให้กับภาคประชาสังคมด้วยเทคโนโลยี
ความอดกลั้นและความเข้าใจซึ่งกันและกันในยุคติจิตอล การป้องกัน การศึกษา และการลงมือทำ ยาต้านวาจาที่สร้างความเกลียดชังทางศาสนา เมื่อได้รับข้อมูลใหม่
ชุดสื่อองค์ความรู้เรื่องเสรีภาพด้านศาสนาและความเชื่อ เทคโนโลยีเพื่อสภาพแวดล้อมชุมชนสำหรับทุกคน การเปิดรับความหลากหลายผ่านนวัตกรรม เข้าใจเรื่องพื้นที่ข้อมูลใหม่เพื่อต่อสู้กับการแบ่งแยกและการแบ่งขั้ว กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความสามัคคี เด็กยุคดิจิตอลในสังคมพหุวัฒนธรรม
การเตรียมตัวรับมือการการทำงานในสภาพแวดล้อมของสื่อรูปแบบใหม่อย่างไร มีการอบรมการจัดทำข้อมูลในยุคดิจิตอลให้น่าสนใจ และการทำสื่อในยุคดิจิตอล ท้ายสุดมีการสะท้อนการเรียนรู้และนำเสนอรายกลุ่มเพื่อการทำงานในแต่ละประเทศและทำงานเป็นเครือข่ายและระดมความคิดเรื่องรอยเท้าดิจิตอล”

นายฆอลี ฮาแว จากสภาประชาสังคมชายแดนใต้กล่าวว่า “โครงนี้ส่วนหนึ่งจัดขึ้นหลังจากตัวแทนประเทศไทยรวมทั้งผมไปศึกษาดูงานเรื่องนี้เป็นเวลา สองอาทิตย์ ที่สหรัฐอเมริกา และได้เลือกประเทศไทยต่อยอดโครงการนี้เพราะประเทศไทย เป็นประเทศที่อยู่ศูนย์กลางและสะดวกการจัดสัมมนา”
นางสาวมัสตูรอ และนัชชา อาดำ จากโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัด สงขลา สองคนเท่านั้นจากนักเรียนทั่วประเทศไทยที่ได้รับโอกาสจากโครงการนี้ สะท้อนเหมือนกันว่า “แน่นอนที่สุดโครงการนี้ทำให้ได้ใช้ภาษาอังกฤษจริง สถานการณ์จริง จากที่ได้เรียนในห้อง และจะนำความรู้ไปแบ่งปันให้เพื่อนๆ”
นายYanuardi Shukur จากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า “สัมมนาครั้งนี้ได้รับองค์ความรู้เพิ่มขึ้นและมันสามารถต่อยอดในงานที่ได้ทำที่อินโดนีเซียที่สำคัญได้เพิ่มเครือข่ายการทำงานสันติภาพจากหลายประเทศ”
นางสาว Suthiwi จากประเทศกัมภูชาที่มากับเพื่อนอีก4-5 คน ให้ทัศนะ ว่า “ แน่นอน มันทำให้เราได้รับประโยชน์มากๆ ได้องค์ความรู้ใหม่ในยุคดิจิตอล และมันเป็นความท้าทายในการทำงานสันติภาพจริงว่าจะนำความรู้ไปใช้อย่างไร?”

มะรูฟ เจะบือราเฮง จากชายแดนใต้ กล่าวว่า 
จากเวทีสัมมนาครั้งมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า Fake News และHate Speech เป็นมหันตภัยร้ายสร้างความเกลียดชังทั้งสังคมไทยและโลกดังนั้นวิธีแก้ปัญหาหนึ่งคือ
การทำกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกเพื่อสร้างสังคมสันติภาพ (Interreligious Dialogue for Peace Society) โดยเน้นเฝ้าระวัง ติดตาม และรับมือกับปัญหาคำพูดเเห่งความเกลียดชังบนโลกออนไลน์ (Hate Speech) เเละข้อมูลเท็จ (Disinformation) สอง
การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างความเเข็งเเกร่งร่วมกันในการผลักดันประเด็นที่เเต่ละองค์กรกำลังผลักดันอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สาม
การเรียนรู้ทักษะทางการสื่อสารเเละเทคโนโลยีใหม่ๆจากประสบการณ์ขององค์กรสื่อเเละเทคโนโลยีเพื่อสังคมจากนานาประเทศ”
ครับหวังว่าสัมมนาครั้งนี้จะนำประโยชน์สู่สังคมไทยและสังคมโลก


หมายเหตุ
โปรดดูความเป็นมาของโครงการ
https://www.facebook.com/supinya/videos/10218959902965765/

 913 total views,  2 views today

You may have missed