พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

แนวทางการตรวจ DNA (โดย…ทนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ)

แชร์เลย

ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ (พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘) ส่งผลให้พี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง หนึ่งในประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบและสร้างความห่วงกังวลต่อพี่น้องประชาชน คือการที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้เข้าตรวจค้นและเก็บสารพันธุกรรม (DNA) จากประชาชน
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562 เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสนธิกำลังเข้าตรวจค้น และเก็บสารพันธุกรรม (DNA) ของประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา และมีการตรวจเก็บสารพันธุกรรม (DNA) ของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เมี่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562


กรณีปัญหาการตรวจเก็บดีเอ็นเอ (DNA) ผมได้นำเรื่องปรึกษาหารือในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 1 ครั้งที่ 12 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2562 ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา ซึ่งผลการดำเนินการตาข้อหารือคือ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 ได้มีหนังสือแจ้งมาว่า “…….แนวทางการปฏิบัติการตรวจเก็บดีเอ็นเอ (DNA) กรณีผู้ถูกตรวจเก็บเป็นผู้ต้องหา/ผู้ต้องสงสัย ต้องอยู่ในอำนาจการดูแลของพนักงานสอบสวน และต้องให้มีความยินยอม การให้ไปตรวจเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ (DNA) ในที่เกิดเหตุหรือบุคคล ผู้ร้องขอไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่สืบสวนจะต้องเป็นผู้ประสานในเรื่องความยินยอมให้เข้าตรวจหรือเก็บดีเอ็นเอ (DNA)จากบุคคลหรือต้องมีหมายค้นตามข้อกฎหมายและระเบียบจึงจะดำเนินการได้…..”
ดังนั้นเพื่อให้ลดความกังวลของพี่น้องประชาชน ขอให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ หากต้องมีการตรวจเก็บดีเอ็นเอ (DNA) ขอให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ และสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้บ้านเราครับ./

#เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ผู้คุ้มครองสิทธิฯของประชาชน

 1,422 total views,  2 views today

You may have missed