พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

(ตอนที่ 5) Fake News นอกจากเรื่องหลักสูตรอิสลามศึกษาแล้วยังมีเรื่องบิดเบือนมากกว่านั้นอีก

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
หลักจากผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องFakes News มหันตภัยร้ายสังคมไทยในการสร้างความเกลียดชัง:กรณีศึกษาวิชาอิสลามศึกษา

( http://spmcnews.com/?p=22274

)
พบว่า การนำเสนอเรื่องทำนองนี้มิใช่เฉพาะเรื่องวิชาอิสลามศึกษาอย่างเดียวแต่ในภาพใหญ่ต้องการนำเสนอว่าศาสนาอิสลามวางแผนต้องการยึดประเทศไทยในหลายกรณีโดยล่าสุด
💥💥มท.ชี้แจงกรณีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางศาสนา
กล่าวคือ

✅✅ตามที่ปรากฏข่าวสารทางสื่อออนไลน์ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า ศาสนาอิสลามกำลังยึดครองประเทศไทย โดยกล่าวอ้างว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลาม ซึ่งเมื่อรวมกับกฎหมายอิสลามที่มีอยู่เดิม จึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามถึง 10 ฉบับ มีมัสยิดเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก มีการก่อสร้างมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีการสร้างห้องละหมาดไว้ตามที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งมีการรื้อทำลายวัดในศาสนาพุทธไปหลายแห่ง เป็นต้น

.
✅✅กรมการปกครอง ชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ดังนี้

.
✅✅ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องศาสนาอิสลาม จำนวน 4 ฉบับเท่านั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545

.
✅✅โดยไม่ปรากฏว่ามีพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลามแต่อย่างใด และรัฐบาลชุดปัจจุบันมิได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม จะมีก็แต่เพียงการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 เพื่อโอนภารกิจการส่งเสริมกิจการฮัจย์ให้กรมการปกครองดูแลเท่านั้น

.
✅✅ดังนั้น ประเด็นว่า มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลาม และมีกฎหมายอิสลาม จำนวน 10 ฉบับ จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ

.
✅✅มัสยิดเป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับวัดในพระพุทธศาสนา หรือโบสถ์ในศาสนาคริสต์ ซึ่งสร้างขึ้นตามศรัทธาของศาสนิกชนที่นับถือศาสนานั้นๆ โดยกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องจดทะเบียนกับทางราชการทุกแห่ง แต่หากประสงค์จะจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคลเพื่อจะถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น วัด ก็ดำเนินการตามพระราชบัญญัติสงฆ์ พ.ศ. 2505 หรือการสร้างโบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 หรือมัสยิด ก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540

.
✅✅ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมัสยิดที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 จำนวน 3,965 แห่ง ซึ่งจากการจัดเก็บสถิติย้อนหลัง 6 ปี (พ.ศ.2555-2560) พบว่า มีมัสยิดขอจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 32 แห่ง ซึ่งสร้างขึ้นตามศรัทธาของชาวไทยมุสลิม มิใช่การสนับสนุนของรัฐบาลชุดปัจจุบันแต่อย่างใด

.
✅✅ส่วนประเด็นที่กล่าวอ้างว่า การสร้างวัดต้องทำประชาพิจารณ์ ส่วนการสร้างมัสยิดไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ ก็ต้องพิจารณาว่า กฎหมายกำหนดให้ต้องมีขั้นตอนดังกล่าวหรือไม่

.
✅✅ประเด็นที่กล่าวอ้างถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และการสร้างมัสยิด จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ และบิดเบือน เพื่อสร้างกระแสให้เกิดความเข้าใจผิดต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งผู้นำเข้า หรือเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

http://realnewsthailand.prd.go.th/newsdetail-rnt.php?nid=2128
ในรายงานของผู้เขียนสอดคล้องกับ การนำเสนอในเวทีสัมมนาวิชาการนานาชาติTolerance and Coexistence 2.0 กรุงเทพมหานคร 21 พฤศจิกายน 2562 โดยพีรพล อนุโสต นักจัดรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ของModern Night TVได้บอกว่ามีการนำFake News เรื่องมุสลิมในประเทศไทยหลายเรื่องด้วยกัน(โปรดดู
1.https://youtu.be/qIdKFiz8XCs
2.https://youtu.be/1kGENnEUfHc)
โดยในเวทีแห่งนี้นำเสนอถึงผิดภัยของการนำเสนอFake News ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ปัญหาตามที่ตัวเองมีความสามารถ
นักวิชาการด้านไอทีบางคนได้นำเสนอในเวทีนี้ว่า หากเทคโนโลยีสามารถมีโปรแกรมจัดการ Fake News และHate Speech ได้จะดีมากๆ
หมายเหตุ
1.เหตุผลการจัดสัมมนา
https://www.facebook.com/supinya/videos/10218959902965765?d=n&sfns=mo
2.กำหนดการสัมมนา
ฟอรั่มการเสวนาพูดคุยในครั้งนี้มุ่งส่งเสริมการแสดงออกอย่างสันติบนปริภูมิไซเบอร์ และพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมการเปิดใจรับฟัง อดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นต่าง การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายอย่างสันติ และร่วมต่อต้านความรุนแรงและข้อมูลเท็จบนโลกออนไลน์

ฟอรั่มเปิดรับความต่างและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2.0 (Tolerance and Coexistance Forum 2.0) เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรเอกชนไม่เเสวงหาผลกำไร ผู้วางนโยบายองค์กรเอกชนหรือหน่วยงานรัฐ องค์กรสื่อสมัยใหม่ นักเทคโนโลยี และนักพัฒนาด้านเทคโนโลยีเเละนวัตกรรมเพื่อสังคมทุกท่าน

#กำหนดการ วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา
08:30-08:55 ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง
08:55-09:05 แนะนำผู้ดำเนินรายการ
09:05-09:30 กล่าวเปิดการประชุม
09:30-10:00 ศาสนสัมพันธ์และสันติภาพโลกในยุคดิจิตอล
10:00-10:30 การเสริมศักยภาพให้กับภาคประชาสังคมด้วยเทคโนโลยี
10:30-10:50 รับประทานอาหารว่าง
10:50-11:30 ความอดกลั้นและความเข้าใจซึ่งกันและกันในยุคติจิตอล: การป้องกัน การศึกษา และการลงมือทำ
11:30-12:00 ยาต้านวาจาที่สร้างความเกลียดชังทางศาสนา เมื่อได้รับข้อมูลใหม่
12:00-13:15 รับประทานอาหารเที่ยง
13:15-13:40 ชุดสื่อองค์ความรู้เรื่องเสรีภาพด้านศาสนาและความเชื่อ
13:40-14:05 เทคโนโลยีเพื่อสภาพแวดล้อมชุมชนสำหรับทุกคน
14:05-14:30 สื่อสังคมออนไลน์และการต่อสู้กับพฤติกรรมก้าวร้าวที่นำไปสู่ความรุนแรง
14:30-14:55 การเปิดรับความหลากหลายผ่านนวัตกรรม
14:55-15:20 การต่อสู้กับเนื้อหาอันตรายในเฟสบุ๊ค
15:20-16:00 อภิปราย: เข้าใจเรื่องพื้นที่ข้อมูลใหม่เพื่อต่อสู้กับการแบ่งแยกและการแบ่งขั้ว
16:00-16:20 รับประทานอาหารว่าง
16:20-16:45 กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความสามัคคี
16:45-17:10 เด็กยุคดิจิตอลในสังคมพหุวัฒนธรรม
17:10-17:35 เตรียมตัวรับมือการการทำงานในสภาพแวดล้อมของสื่อรูปแบบใหม่อย่างไร
17:35-18:00 สะท้อนการเรียนรู้รายกลุ่มและระดมความคิดเรื่องรอยเท้าดิจิตอลที่เพิ่มมากขึ้น

 1,311 total views,  4 views today

You may have missed