โดย..รักชาติ สุวรรณ์…
.
คราวที่แล้วผู้เขียนได้พูดถึงเรื่องราวของผู้เขียนกับลำพะยา “ลำพะยา อ้อมกอดแห่งหุบเขาและความสูญเสีย” และเล่าเรื่องราวของเหตุการณ์ที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปสัมผัส คราวนี้ ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดกับ ชรบ. ซึ่งคิดว่าเหตุการณ์นี้ คงจะหมดเวลาแล้วกระมังครับที่จะมานั่งถอดบทเรียนกับเรื่องราวเหล่านี้
.
ประชาชนในพื้นที่ที่ ที่ได้รับความสูญเสีย มีทั้งสองศาสนิกนะครับ บ้างเสียชีวิต บ้างพิการ บ้างกำพร้า จากทุกๆ เหตุการณ์ใน 3 จชต.
.
ผู้เขียนคิดว่า เราควรจะต้องหันหน้ามาคุยกันแบบจริงๆ จังๆ ว่าการดูแล การป้องกันชุมชน ป้องกันเมืองควรจะทำอย่างไร ภาคประชาชนควรมีบทบาทอะไรบ้าง
หากเรามาคิดดูกันดีๆ คงไม่มีประชาชนคนไหนคิดจะจับอาวุธ อดตาหลับขับตานอนเพื่อมาอยู่เวรยามแบบที่ภาครัฐเรียกว่าชรบ. หรอกนะครับ หากไม่มีเหตุการณ์ร้ายๆ ในพื้นที่ กับหมู่บ้าน หรือชุมชน หรือคนในชุมชนตัวเอง ที่ประชาชนต้องลุกขึ้นจับอาวุธเพื่อป้องกันตัวเองและชุมชนก็ด้วยความที่กลัวว่าจะเกิดเหตุกับชุมชนหรือหมู่บ้านตัวเอง ปัจจัยหลักของมันก็คือ ป้องกัน ดูแลความปลอดภัยหมู่บ้าน และชุมชนนั่นแหละครับ
.
เป็นเวลา 15 ปีที่ในพื้นที่ค่อยๆ เริ่มมี ชรบ. โดยภาครัฐให้การสนับสนุนในเรื่องของการฝึกพื้นฐาน พร้อมอาวุธปืนลูกซอง 5 นัด และดูแลการอยู่เวรยามของภาคประชาชนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการออกคำสั่งแต่งตั้งให้เป็น ชรบ. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการช่วยเหลือเจ้าพนักงานของหน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านพ.ศ. 2551 ที่กำหนดไว้ในข้อความตามข้อ 5 ของหมวด 1 ที่ระบุว่า “ให้กรมการปกครองจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรชรบ. แก่ราษฎรในพื้นที่ ให้มีจำนวนเพียงพอในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยหมู่บ้าน ตามความจำเป็นและเหมาะสมของสถานการณ์ โดยในการฝึกอบรมจะดำเนินการเองหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ในกรณีมีความจำเป็น จังหวัดหรืออำเภอจะจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวในพื้นที่ของตนเองก็ได้”
.
ซึ่งเท่ากับว่าชรบ. เป็นกำลังรบตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ชรบ. ซึ่งผู้เขียนยังคงมองว่าเป็นพลเรือน แต่ตามระเบียบ และตามกฎหมาย ก็เท่ากับ ชรบ. คือ กำลังรบนั้นเอง
.
ผู้เขียนเอง หรือใครอีกหลายๆ คนก็ไม่ได้สนับสนุนความรุนแรงและการใช้ความรุนแรงถึงขั้นที่จะต้องใช้อาวุธประหัดประหารกันจนต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด
.
แต่ว่า หากรัฐยังคงไว้ซึ่งภาคประชาชนหรือ ชรบ. ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรจะต้องมีการฝึกยุทธวิธีต่างๆ เพื่อการต่อสู้ ไม่ใช่ฝึกแค่ขั้นพื้นฐานเท่านั้น และอาวุธที่มอบให้ก็เช่นกัน ควรมีความทัดเทียมกับกลุ่มขบวนการที่ติดอาวุธ ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับภาครัฐด้วย ถือว่าสมน้ำสมเนื้อครับ และทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นพี่เลี้ยงด้วยเช่นกัน
.
ในทางกลับกัน ผู้เขียนกลับมีความคิดเห็นว่า ภาครัฐควรจะมีแนวทางที่เป็นทางเลือกอีกทาง คือ ควรให้กองกำลังประจำถิ่น หรือกองอาสารักษาดินแดน หรืออ.ส. ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และยังเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งมีความรู้ความชำนาญในพื้นที่เป็นอย่างดี มีกำลังพลอยู่ค่อนข้างมาก เข้ามาทำหน้าที่แทนที่ ชรบ. อาจเป็นอีกทางเลือกที่เห็นชัดเจนว่าพวกเขาคือคู่ต่อสู้หรือคู่ขัดแย้งโดยตรง และมีอาวุธที่เท่าเทียมกันจะดีกว่าหรือไม่
.
อีกเรื่องที่ผู้เขียนอยากตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ สงครามโลกครั้งที่ 1 ใช่หรือไม่ หากเป็นแบบนั้น ในแต่ละหมวดมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคปัจจุบันอย่างไร หรือปรับใช้ให้เข้ากับบริบทความขัดแย้งในแต่ละพื้นที่อย่างไร
.
ต้องยอมรับด้วยว่าความขัดแย้งในอดีต หรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 กับความขัดแย้งในปัจจุบันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกย่อมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จชต. ที่ประชาชน (พุทธ มุสลิม) หลายๆ พื้นที่ต้องลุกขึ้นมาจับอาวุธเพื่อดูแลชุมชน ดูแลหมู่บ้าน
.
ท่านทั้งหลายจะคิดอย่างไรกับเรื่องราวเหล่านี้
.
#ปกป้องพลเรือนจากการใช้อาวุธในความขัดแย้ง
//////////////////////////////////////////////////////////
707 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.