พฤษภาคม 2, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD) จะนำไปสู่สันติภาพชายแดนใต้อย่างยั่งยืน (ไทยสนธิสัญญา- สหประชาติ)

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

ผู้เขียนและผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรกระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยน ผ่าน “ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร ( 31 ตุลาคม 2562) ซึ่งในหลักสูตร มีเนื้อหา เรื่อง การเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติ และมีการวิเคราะห์ว่า กรณีใดบ้างมมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและละเมิดทางเชื้อชาติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านการแก้ปัญหาของรัฐ ซึ่งมี อาจารย์ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม วิทยากรบรรยายในเรื่องนี้ มีรายละเอียดพอสรุปดังนี้
1.คำนิยาม:
คำนิยามหรือความหมายของการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ(Racial Discrimination) คือ
ก.การปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างกัน โดยมี ๔ ลักษณะ คือ (๑) การจำแนก (distinction) อาทิ การเลือกที่จะตรวจค้นบุคคลเฉพาะในรถโดยสาร โดยมีข้อสงสัยเรื่องการมีวัตถุผิดกฎหมาย (๒) การกีดกัน (exclusion) อาทิ การเข้าถึงการรักษาพยาบาล (๓) การจำกัด (restriction) อาทิ สิทธิการเดินทาง และ (๔) การเลือก (preference) อาทิ การให้โอกาสการเรียน(การศึกษา) หรือการประกอบอาชีพกับคนบางกลุ่ม(เชื้อชาติ) โดยเหตุผลว่า “เขาอาจจะทำได้ดีกว่า เหมาะสมกว่า”
ข. “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” จะต้องเกิดขึ้นบนพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ หรือรากเหง้า(การกำเนิด)
ค. ผลของการปฏิบัตินั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้นๆ ก็คือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาตินั่นเอง โดยในหลายๆ ครั้งมิได้เกิดจากความตั้งใจ(ไม่มีกฎหมายระบุ) แต่เป็นผลของการกระทำ(มีการสร้างเงื่อนไข)
ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขการใช้สิทธิในบางเรื่องที่อาจจะถูกกำหนดให้เฉพาะ “พลเมือง” ของรัฐ อาทิ การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนทางการปกครอง แต่โดยหลักการแล้ว รัฐที่เป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ไม่สามารถเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยพื้นฐานของ “ความเป็นพลเมืองหรือไม่เป็นพลเมืองของรัฐ”

2. ข้อบังคับ ของรัฐ
รัฐภาคีมีหน้าที่สร้างความเคารพ และเคารพมิให้เกิดการละเมิดสิทธิ, การคุ้มครองบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิ และการทำให้สิทธิที่ได้รับการระบุ หรือคุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นจริง โดยหลักทั่วไปแล้ว รัฐต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)การควบคุมมิให้มีการออก บัญญัติ หรือบังคับใช้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติ โดยต้องดูแลองค์กรต่างๆ ของรัฐมิให้มีการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจากการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการปฏิบัติจริง
(๒)การกำหนดกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับต่อหน่วยงาน(นอกภาครัฐ)มิให้เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
(๓)การแก้ไขกฎหมาย นโยบายต่างๆ มิให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติ
(๔)การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยอมรับในการอยู่ร่วมกันของหลากหลายทางเชื้อชาติ
(๕)การจัดทำมาตรการเสริมที่จะปรับปรุง แก้ไขความเข้าใจผิดๆ หรือสถานการณ์ที่สั่งสมจากทัศนคติที่ผิดพลาด โดยประวัติศาสตร์อคติทางเชื้อชาติ (Racial profiling) ซึ่งส่งผลให้กลุ่มเชื้อชาติถูกเลือกปฏิบัติ นอกจากนั้นรัฐต้องสร้างรูปธรรมที่ชัดเจนของความเสมอภาคทางกฎหมาย โดยให้เห็นเป็นการปฏิบัติที่เสมอภาคด้วย (equality in law and in fact)

ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ หรือประเมินสถานการณ์สิทธิในแต่ละด้านมักจะมีหลักคิดต่างๆ อาทิ สิทธิทางการศึกษา จะระบุถึง ความพร้อมของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อาทิ ครู โรงเรียน วัสดุในการเรียนการสอน(Availability), การเข้าถึงได้ทั้งทางกายภาพ และฐานะทางเศรษฐกิจ (Accessibility), การยอมรับได้ทั้งในแง่การใช้ภาษา หรือวัฒนธรรมที่เหมาะสมและสามารถรับได้ในลักษณะของสังคม วัฒนธรรมในพื้นที่ ตลอดจนการยอมรับในเชิงคุณภาพของการเรียนการสอนด้วย (Acceptability), ความสามารถในการปรับตัวได้ ระบบการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามลักษณะของชุมชนนั้นๆ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม(Adaptability)
ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับสิทธิการเข้าถึงการดูแลรักษา และบริการทางสุขภาพ คือ ความพร้อมของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Availability), การเข้าถึงได้ทั้งทางกายภาพ และฐานะทางเศรษฐกิจ(Accessibility), การยอมรับได้ในแง่ต่างๆ (Acceptability) และคุณภาพของการให้บริการ หรือการรักษาพยาบาล (Quality)

3. พันธกรณีระหว่างประเทศ

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนคืออะไร

สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผูกพันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย

ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่

1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC)
2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women – CEDAW)
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)
5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD)
6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT)
7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities – CRPD)

4. คำถามกรณีภาคใต้มีอะไรบ้างและจะส่งผลอย่างไร
หลายกรณีภาคใต้มีการละเมิดและไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD) ซึ่งไทยเป็นภาคีสมาชิก เช่น การซักถามผู้ต้องสงสัยในศูนย์วักถาม ภายใต้กฎหมายพิเศษซึ่งเอื้อต่อการซ้อมทรมาน การบังคับใช้กฎหมายพิเศษทั้งกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ การตรวจค้นชาวบ้านมลายูมุสลิมด้วยการตรวจDNA หรือแม้กระทั่งการตรวจDNA การขัดเลือกทหารเกณฑ์แม้จะตรวจทุกคนทั้งคนพุทธ มุสลิม การจดทะเบียนซิมการร์ด 2 แซะ แต่ใช้เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้คนมลายูมุสลิมส่วนใหญ่ อันจะส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน อันนำไปสู่การแก้ปัญหาชายแดนอยากขึ้น
ข้อเสนอแนะเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้
1. ทบทวนมาตรการรัฐดังกล่าวการตรวจDNA หรือแม้กระทั่งการตรวจDNA การขัดเลือกทหารเกณฑ์แม้จะตรวจทุกคนทั้งคนพุทธ มุสลิม การจดทะเบียนซิมการร์ด 2 แซะ แต่ใช้เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้คนมลายูมุสลิมส่วนใหญ่ อันจะส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
2. ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายพิเศษทั้งกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
3. ยกเลิกวัฒนธรรมของการลอยนวลพ้นผิด จากกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น กรณีกรือเซะ ตากใบ การซ้อมทรมานเป็นต้น
ครับคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD) ซึ่งไทยเป็นภาคีสมาชิกจะช่วยให้ไทยมีหน้าตาที่ดีขึ้นในสายตานานาชาติและจะนำไปสู่สันติภาพอย่างยั่งยืนเพราะมันคือส่วนหนึ่งที่จะทำให้เสาสี่เสาของกระบวนยุติธรรมในระยะเปลี่ยนประสบความสำเร็จ

หมายเหตุ
ความเป็นธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน “หลักการกับข้อเท็จจริงกรณีศึกษาชายแดนใต้///อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ) http://spmcnews.com/?p=21485

 2,309 total views,  4 views today

You may have missed