อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) และบรรณาธิการ รายงาน…
(25 ตุลาคม 2562 ) นางแยนะ สะแลแม อายุ 60 ปี บ้านเจาะเราะ ต.ศาลาใหม่ อ,ตากใบ จ.นราธิวาส ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ม็อบตากใบ และในฐานะผู้นำสตรี สันติภาพ อ.ตากใบ (ภาคประชาสังคม) ได้รวมใจรวมพลังชาวบ้านในพื้นที่ ตากใบ ซึ่งได้รับเงินบริจาคจากชาวบ้าน จัดกิจกรรม งานครบรอบ การสลายม็อบที่ หน้าสภ.ตากใบ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 25 ต.ค. 2547 โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 78 คน สูญหาย 7 คน และถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปสอบสวน 1,.370 คน โดยในกิจกรรม โดยมีชาวบ้าน ภาคกลุ่ม, NGO ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ได้เข้าร่วมงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมี นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผวจ.นราธิวาส ได้เกียรติเข้าร่วมงานและพบปะกับกลุ่มชาวบ้าน ญาติพี่น้อง ของผู้ได้รับกระทบ ในงานดังกล่าว
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่บริเวณลานสนามภายในบ้านพักของนายรอเซะ โซ๊ะ สมาชิก อบต.ไพรวัน ม.1 บ้านจาเราะ ต.ไพรวัน อ.ตากใบ โดยภายในงานมีการจัดอาหารแจกจ่ายให้ประชาชนได้รับประทาน รวมทั้งมีการประกอบพิธีละหมาดฮายัต และอ่านอารเวาะ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตที่ล่วงลับไปแล้ว ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น และได้ถือโอกาสในการพูดคุยปรับทุกข์ซึ่งกันและกัน หลังจากเกิดเหตุการณ์ผ่านพ้นมานาน 15 ปี พร้อมทั้งได้ถือโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ อ.ตากใบ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ที่มีความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือประชาชนในทุกๆด้าน ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ซึ่งตลอด 15 ปีที่ผ่านมาหลังเกิดเหตุการณ์จลาจลหน้า สภ.ตากใบ ประชาชนที่คนจดจำเหตุการณ์ดังกล่าวได้ดี และทุกคนไม่ติดใจกับความสูญเสีย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวได้เข้ามาให้การช่วยเหลือเยียวยาทั้งการเงินและผลกระทบด้านจิตใจ ซึ่งการจัดงานรำลึกครบรอบ 15 ปีในครั้งนี้ เป็นการจัดงาน 15 ปี ติดต่อกัน ที่ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสพบปะกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิดปีละ 1 ครั้ง ถือว่าเป็นผลพลอยได้เรื่องของความเหินห่าง ที่สามารถขยายผลไปสู่การลดความหวาดระแวงต่อกันในทางอ้อมครั้งนี้ด้วย
ด้านนางแยนะ สะแลแม ได้เล่าเรื่อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชาวบ้านทุกคนจดจำได้ดีถึงความสูญเสีย และที่จัดขึ้นไม่ได้เป็นการตอกย้ำสถานการณ์ให้รุนแรง แต่เราทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตที่ล่วงลับไปแล้ว และชาวบ้านทุกคนมีความพึ่งพอใจกับเรื่องราวงทั้งหมด เพราะเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาทั้งด้านการเงินและผลกระทบด้านจิตใจ แม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดีขึ้น ในปัจจุบัน แต่ยังมองว่า ความเป็นธรรม และความยุติธรรม เป็นเรื่องหลักและมีความสำคัญ ในการแก้ปัญหาความมั่นคงให้เกิดพื้นที่จังหวัด และกฎหมายพิเศษ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจรัฐมากเกินไป ควรพิจารณายกเลิก เพราะพื้นที่ต้องใช้ความเข้า มาแก้ปัญหาและความละเอียดอ่อน ด้วยสันติวธี “ เราเชื่อว่า ทุกคนต้องสันติ หรือสันติภาพ คนรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ ไม่ต้องการความรุนแรง และอยากเห็นความสงบสุขกลับคืนมาอย่างถาวรตลอดไป” และฝากรัฐบาล ดูแลเรื่องปากท้อง ประชาชนในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพราะนอกจากความบอบช้ำจากสถานการณ์ความไม่สงบ จนสร้างผลกระทบรอบด้านหลายสิบปี ปัญหาเศรษฐกิจ ก็ย่ำแย่ ยางพารา และพืชเกษตร ราคาตกต่ำสุด ฝากรัฐบาลในเรื่องนี้ด้วย จะมีนโยบาย หรือมาตรการอะไร จะช่วยพี่น้องชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ย้อนลำดับสถานการณ์ ชุมนุมม๊อบตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีทั้งชาย หญิง และเยาวชน ได้เดินทาง ไปรวมตัว ที่บริเวณ ลานด้านหน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยผู้ชุมนุมในครั้งนั้น ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน บ้านโคกกูเว หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน จำนวน 6 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวในคดีความไม่สงบในพื้นที่
ภายหลังกลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนนับพันมาถึงจุดหมายในช่วงเช้า และดำเนินการชุมนุมประท้วงในช่วงบ่าย ฝ่ายรัฐได้ตัดสินใจว่าจะจับตัวแกนนำประมาณ 100 คน ที่เชื่อว่าเป็นผู้ปลุกระดมให้คนมารวมกลุ่มกันต่อต้านรัฐ อันเป็นส่วนหนึ่งของ ‘แผนการ 7 ขั้นตอน’ ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อวันที่ 4 มกราฯ ปีเดียวกัน แต่เนื่องจากเห็นว่าแกนนำเหล่านี้ได้กระจายตัวกันอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมนับพัน ฝ่ายรัฐซึ่งได้ระดมกำลังทหารตำรวจมาจนพร้อม จึงตัดสินใจปิดล้อมและสลายการุชมนุม และควบคุมตัวผู้ชุมนุม ก่อม๊อบรวมนับพัน เพื่อนำไปคัดแยกจับกุมแกนนำในภายหลัง
การสลายม็อบสิ้นสุด มีผู้เสียชีวิตทันที 6 คน และเสียชีวิตระหว่างการลำเลียงตัวไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพราะขาดอากาศหายใจ 78 ราย และอีก 1 รายไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังจากนั้น เนื่องจากถูกจับมัดมือ บนรถบรรทุกเป็นเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยสภาพร่างกายผู้ชุมนุมเหน็ดเหนื่อย นอกจากนี้ยังอ่อนเพลียเนื่องจากอยู่ในช่วงถือศีลอด
ตามด้วยคดีความยุติธรรมที่ตากใบ
ภายหลังฝุ่นควันตลบที่ตากใบ ประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ต่างร้องหาความยุติธรรม โดยมีการฟ้องร้องต่อกันทั้งหมด 3 คดี
คดีแรก เจ้าหน้าที่รัฐส่งฟ้องผู้ชุมนุมที่รอดชีวิต 59 คน ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส ในข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งภายหลังได้มีการถอนฟ้อง และคดีที่สองได้แก่การที่ญาติผู้เสียหายฟ้องแพ่งต่อกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งภายหลังได้มีการประนีประนอมยอมความ โดยกองทัพบกยอมรับผิดชอบสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย
และคดีสุดท้ายซึ่งถือเป็นที่จดจำ คือการไต่สวนกรณีเสียชีวิตของผู้ชุมนุม จำนวน 78 คน ซึ่งศาลจังหวัดสงขลา พิพากษาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (5 ปีหลังจากนั้น) ว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการ ‘ตามความจำเป็นแห่งสภาพการณ์เท่าที่เอื้ออำนวย’ และผู้ตายทั้งหมด ตายเพราะขาดอากาศหายใจระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ นอกจากนี้ ในคำพิพากษามีการกำหนดให้เป็นที่สิ้นสุด ไม่สามารถทำการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จังหวัดสงขลาต่อได้ ข้อความที่กล่าวขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ ที่กล่าวเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายม๊อบ ที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส อย่างไรก็ตาม ในปี ในปี 2556 ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการจ่ายเงินเยียวยาแล้วเป็นยอดรวมกว่า 641 ล้านบาท
นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ ปี 2562 กล่าวว่า รัฐบาลควรจะทบทวนกระบวนการยุติธรรม เพื่อทำให้ความจริงปรากฏเพื่อให้เจ้าหน้าที่เป็นมืออาชีพ
“ในโอกาสครบ 15 ปีเหตุการณ์ตากใบ เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทบทวนระบบยุติธรรมกรณีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง (Atrocity Crime) และไม่ควรให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อีกต่อไป”
///////////////////////////////////////////
1,567 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.