มีนาคม 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คำถามที่ยังก้องหูประชาชนกรณี การตายของ “อับดุลเลาะ อีซอมูซอ” โจทย์ใหญ่ แก้สุมไฟใต้ !!!

แชร์เลย

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk,
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


ข่าวหน้าหนึ่งในโลกออนไลน์ชายแดนใต้ น่าจะเป็นข่าวการเสียชีวิต ของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ชาว จ.ปัตตานี เมื่อเวลา 04.00 น.วันที่ 25 สิงหาคม 2562 ที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังจาก 35 วันเป็นชายนิทรานอนรักษาตัวเพราะอาการสมองบวม ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาเขาถูกเชิญตัวไปให้ปากคำแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันที่ 20 ก.ค. และต่อมากลายเป็นผู้ป่วยหนักในวันที่ 21 ก.ค.หลังถูกควบคุมตัว
ความที่คดีนี้ได้รับความสนใจในแง่การละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ และสังคมตั้งคำถามมากมายถึงกระบวนการยุติธรรม เพราะเขาได้รับบาดเจ็บขณะที่กำลังถูกสอบสวนในค่าย แต่ผลของการแถลงข่าวทั้งแพทย์ และคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อเรื่องนี้ไม่สามารถตอบได้ว่า ช่วงเวลา ถูกสอบสวนนั้น (ก่อนจะหมดสติ) มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพียงแต่แพทย์แถลงว่า ขาดอากาศหายใจ โดยไม่ตรวจพบการซ้อมทรมาน กล่าวคือ คณะกรรมการที่ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง พบว่า จากผลการตรวจแพทย์ทั้ง 3 โรงพยาบาลที่ให้การรักษา ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย ไม่มีร่องรอยฟกช้ำ และไม่มีร่องรอยจากอุบัติเหตุ
ส่วนอาการสมองบวม ของผู้ป่วย ทางคณะกรรมการได้รวบรวมข้อเท็จจริงจากคณะแพทย์ สรุปว่าอาจเกิดได้จาก 3 ประเด็น คือ
1.สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ซึ่งคณะแพทย์ได้ชันสูตรในชั้นต้นแล้วไม่พบร่องรอยกระทบกระเทือนทางสมอง
2.อาจเกิดจากหลอดเลือดโป่งพอง ที่คณะกรรมการยังไม่สามารถหาสาเหตุอย่างละเอียดชัดเจนได้ เพราะยังไม่สามารถเอ็กซเรย์ได้
3.ขาดอากาศหายใจหรือไม่มีออกซิเยน เลี้ยงสมอง ซึ่งอาจเกิดได้หลายกรณี เช่นผู้ป่วยอาจถูกผู้อื่นกระทำ หรือตัวผู้ป่วยหมดสติ และมีภาวะปิดกั้น ทางเดินหายใจ ไม่ได้รับการช่วยเหลือภายในระยะเวลาอันควร
ส่วนรอยแผล 2 แผลที่พบบริเวณข้อพับแขนขวา พบว่า เป็นร่องรอยที่เกิดจากการ รักษาอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย ดังนั้นในเรื่องลื่นล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่มีร่องรอยฟกช้ำบนร่างกายตามรายงานแพทย์ ไม่มีรอยกระแทกบนสมองคณะกรรมการจึง ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมที่จะเป็นสาเหตุของสมองบวมในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับหลาอดเลือดโป่งพอง หรือการขาดออกซิเยนอันอาจเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นหรือจะเป็นจากการขาดสติและเกิดการปิดกั้นภาวะทางเดินหายใจเอง” ซึ่งทำให้ คนชายแดนใต้อดคิดไม่ได้ว่า การตายของผู้คน ที่ตากใบเมื่อ 14-15 ปีก่อน ในมือหน่วยความมั่นคง ก็ขาดอากาศหายใจ “เหตุการณ์ ตากใบเกิดขึ้นในที่โล่ง กลางวันแสกๆ ก็ยังจับคนผิดมาลงโทษไม่ได้ จะไปหวังอะไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในค่ายทหาร ในตอนกลางคืน” นี่คือคำที่เพื่อนมลายูมุสลิมของผู้เขียนสะท้อนออกมา

คำถามที่ยังก้องหูชาวบ้านหลังโฆษกกอ.รมน.ภาคสี่ออกมาถล่มฝ่ายค้านว่า “อย่าใช้ความรู้สึกเล่นประเด็นนี้เพราะแพทย์ยืนยัน มาตลอดว่าไม่พบร่องรอยการซ้อมทรมานโดยเฉพาะแถลงการณ์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ถึงสาเหตุการตายของอับดุลลเลาะ”(โปรดดู
https://mgronline.com/politics/detail/9620000081374)

ว่า “จริงอยู่เหตุการตายหลักคือภาวะสมองจากออกซิเจนและขาดเลือด ส่วนการติดเชื้อในปอดทำให้ปอดบวมแล้วลามเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดคือภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ตามที่แพทย์โรงพยาบาลกล่าว แต่สิ่งที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้คือ อะไรคือต้นเหตุให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนและขาดเลือด …อันนี้อาจเกินภาระของแพทย์ แต่ต้องการคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นกลางอย่างยิ่งในการหาสาเหตุเพื่อดำรงค์ความรู้สึกไม่ยุติธรรมกลับคืนมา”
ครับโจทย์ใหญ่ที่คอยสุมไฟใต้กองใหม่ตลอดคือ ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเชิงประจักษ์ ที่ชาวบ้านสัมผัสได้ ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า กระปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้คือความท้าทายของทุกคนโดยเฉพาะคนทำงานการเมือง และการจับผู้ต้องสงสัยใสไปซักถามน่าจะต้องทบทวนหรือหยุดไว้ก่อนหากเรื่องของอับดุลเลาะยังตอบต่อสังคมไม่ได้มากกว่าบอกว่า “กล้องวงจรปิดในค่ายไม่ทำงาน”โดยไม่มีใครสักคนกล้าออกรับผิดชอบ

///////////////////////////////

 815 total views,  2 views today