พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รายงานพิเศษ จากสเปนเรื่องบทเรียนการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลสเปน สู่ ฮาลาลไทยจะไปทางไหน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ ดินอะ (รายงาน)


(เมื่อ 15 กรกฎาคม 2562) ผู้เขียนได้สนทนากับดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล แห่งประเทศไทย ซึ่งได้เข้าร่วมเวทีเสวนา ฮาลาลโลกที่ประเทศสเปนเมื่อ24-28เดือน มิถุนายน 2562 และท่านได้กรุณาเล่าเรื่องทำไมสเปนจึงให้ความสำคัญเรื่องการทำธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงฮาลาล โดยบทเรียนดังกล่าวจะสามารถปรับใช้ในไทยได้ หากจะนำฮาลาลไทยสู่ฮาลาลโลกในประเด็นการท่องเที่ยวของสเปนในเวทีดังกล่าวซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาฮาลาลไทยสู่สากลในประเด็นนี้ได้(ซึ่งมีคนพูดน้อยอยู่) จึงขอนำสิ่งดีดังกล่าวได้ถ่ายทอดไว้ดังนี้
1. คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงฮาลาล ประกอบด้วยนายปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาลแห่งประเทศไทย นายธวัช นุ้ยผอม ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และนายอารีย์ บินประทาน นักวิชาการอิสระด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเดินทางเยือนสเปนตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชทูตฯ ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2562 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลระหว่างไทยกับสเปน

ระหว่างการเดินทางเยือนสเปนครั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้พบหารือกับหน่วยงานของสเปน ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการท่องเที่ยวของสเปน การท่องเที่ยวแคว้นอันดาลูเซีย การท่องเที่ยวเมืองกอร์โดบา มูลนิธิอันดาลูซี สถาบันฮาลาลแห่งเมืองกอร์โดบา เป็นต้น เพื่อศึกษาเรียนรู้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลของสเปนและหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลระหว่างทั้งสองประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา ความร่วมมือด้าน Halal Gastronomy เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อปี 2561 สเปนรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวม 82.6 ล้านคน โดยหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมคือ แคว้นอันดาลูเซีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาอิสลามหลายแห่งทำให้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ภาครัฐและเอกชนสเปนในพื้นที่จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการส่งเสริมตลาดสินค้าและธุรกิจฮาลาลของประเทศไทย จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูง

A group of Thai experts on Halal Tourism, comprising of Mr. Pakorn Priyakorn, Director of Thailand Halal Standard Institute, Mr. Tawat Noipom, Director of Halal Institute, Prince of Songkla University and Mr. Aree Binprathan, Academic in Thai tourism industry visited Spain during 24-28 June 2019, upon the invitation of the Royal Thai Embassy in Madrid. The objective of the visit is to exchange knowledge and best practices on the development of Halal Tourism between Thailand and Spain.

During the visit to Spain, the Thai delegation met with public and private institutions; including representatives of the Ministry of Industry, Trade and Tourism, Tourism and Sport Authority of Andalucia, Tourism Authority of Cordoba, Andalusi Foundation, and Halal Institute Cordoba, to learn of Spain’s Halal Tourism policy and discuss on further cooperation between Thailand and Spain in this field. Exchange of students and cooperation on Halal Gastronomy are among the activities to be carried out in the near future.

In 2018, Spain received 82.6 million foreign tourists. One of the major tourist attractions is Andalucia Region where there are several historical sites related to Islamic religion. As the region is popular among Muslim travelers, public and private sectors in the area put the efforts to develop Halal Tourism to attract more and more Muslim travelers. This coincides with the Thai government’s policy to develop Thailand’s Muslim Friendly Destinations. Therefore, Halal Tourism is an area in which Thailand and Spain can develop cooperation to further develop this niche market for both countries.


2.การท่องเที่ยวสเปน-๑ จำนวนนักท่องเที่ยว

สเปนเป็นประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ ๒ ของโลก
เมื่อปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจากนานาประเทศเข้าไปเที่ยวสเปนมีจำนวนถึง ๘๑.๘ ล้านคน อันเป็นอัตราที่เติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ๒๐๑๒ เป็นต้นมา

การช่วงชิงการนำอันดับหนึ่งและสองนั้น คู่แข่งขันสำคัญคือฝรั่งเศส รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีมูลค่า

เป็นที่น่าสังเกตว่าถ้าพิจารณาจำนวนประชากร ปรากฎว่านับตั้งแต่เริ่มต้นปี ๒๐๐๐ เป็นต้นมา มีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง ปี ๒๐๑๘ สเปนมีประชากร ๔๖.๕ ล้านคนโดยประมาณ ในขณะที่พื้นที่ของประเทศมีขนาด ๔๙๘,๘๐๐ ตร.กม. เล็กกว่าประทศไทยเล็กน้อย (ประเทศไทย ๕๑๓,๑๒๐ ตร.กม.)

กล่าวอย่างง่ายก็คือ จำนวนนักท่องเที่ยวในสเปนท่วมจำนวนประชากร อย่างชัดเจน

กรณีของประเทศไทยนั้น เราครองอันดับ ๑๐ ของโลกด้านจำนวนนักท่องเที่ยว

ตารางข้างล่างนี้เป็นจำนวนนักท่องเที่ยวของปี ๒๐๑๘

๒. จุดขายในเชิงคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
มองในเชิงยุทธศาสตร์ตามแนวคิดของ Michael E. Porter’s Diamond Model (Michael E. Porter. 1990. The Competitive Advantage of Nation.) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของสเปนมึความพร้อมสูงมาก โดยมีประเด็นที่น่าพิจารณาได้แก่
ปัจจัยที่หนึ่งด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่โดดเด่นอันประกอบด้วย ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของคาบสมุทรไอบีเรีย (ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีส และประเทศฝรั่งเศส)
ปัจจัยที่สอง ด้านมรดกด้านวัฒนธรรม สเปนมีมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองจาก UNESCO ถึง ๔๒ แห่ง (https://whc.unesco.org/en/statesparties/es) ซื่งผมมีโอกาสไปสัมผัส ๒จุดคือ Alhambra, Generalife and Albayzín, Granada (1984,1994) กับ Historic Centre of Cordoba (1984,1994)
ปัจจัยที่สามคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่ง ได้แก่ สนามบิน ท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง เครือข่ายถนน ความปลอดภัยในการเดินทาง การบริการสาธารณะระดับพื้นที่การท่องเที่ยว
ปัจจัยที่สี่คือ มาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของที่พัก การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม การอำนวยบริการด้านโปรแกรมการท่องเที่ยว มาตรฐานของมัคคุเทศก์ มาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยว การอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลระดับชาติและระดับพื้นที่
ปัจจัยที่ห้า การอนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sort Tourism) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการผลิตของที่ระลึก (Cultural Souvenir Industries) การท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาด้านการผลิตและบริการอาหาร (Gastronomy) การพัฒนาคุณภาพการนำเสนอเรื่องราวเฉพาะของวัฒนธรรมพื้นถิ่น (Local cultural historical presentation)


ปัจจัยที่หก การกระจายอำนาจทางการบริหารและการจัดการด้านการท่องเที่ยวแก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ในเรื่องนี้ถือเป็นจุดเด่นที่สุดของการกระจายอำนาจในเชิงให้อำนาจอิสะ (Devolution or autonomous) ให้แก่ภาค และจากภาคสู่เมืองหลักและเมืองรองในระดับเทศบาล รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ภูมิภาคที่ผมไปเยือนคือ Andalucia สามเมืองได้แก่ Malaga, Granada, Cordoba) และเมืองหลวงคือ Madrid
ปัจจัยที่เจ็ด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการท่องเที่ยว ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของคลัสเตอร์การท่องเที่ยว

 

๓: ความสำคัญและความต่อเนื่องเชิงยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวของสเปนยุคใหม่ (The Modern Spain Tourism Management) มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น หลังจากที่รัฐบาลสเปนเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงยุทธศาสตร์เมื่อปี ๒๐๐๘ และดำเนินการต่อเนื่องไปไกลถึงปี ๒๐๓๐ โดยสามารถอธิบายให้เห็นถึงเส้นสนกลในเชิงลึกดังต่อไปนี้

ช่วงที่หนึ่ง TOURISM 2020

การติ่นตัวอย่างขนานใหญ่ในการยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ เขึ้นในปี ๒๐๐๘ เมื่อรัฐบาลกลางของสเปนประกาศวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวในปี ๒๐๒๐ ไว้ว่า Make the Spanish tourism system to be the most competitive and sustainable by 2020, contributing the maximum level of social well-being.(สร้างระบบการท่องเที่ยวสเปนให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดและมีความยั่งยืนภายในปี ๒๐๒๐ อันจะเป็นการสร้างคุณูปการต่อการยกระดับการเป็นสังคมที่ดีมากที่สุด) ทั้งนี้หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มีสามประการคือ การสรรค์สร้างความรู้ (Knowledge) นวัตกรรม (Innovation) และบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) ดังรายละเอียดเชิงโครงสร้างที่ปรากฏในภาพที่แสดงไว้ข้างล่าง โดยทั้งหมดนี้จะนำไปสู่สาระหลักที่เรียกว่า The role of technologies and tourists in the 21st century for enhancing SMART Destination ซึ่งในภาษาสเปนใช้คำว่า “SEGITTUR”

ช่วงที่สอง TOURISM 2030

ต่อมาในปี ๒๐๑๕ รัฐบาลในสเปนโดยสำนักงานเลขาธิการการท่องเที่ยว ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า Sustainable tourism strategy of Spain 2030 โดยมีเจตนารมณ์ดำเนินการให้สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั้งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) หรือ DE TURISMO SOSTENIBLE DE ESPAÑA 2030 ในภาษาสเปน
หัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ใหม่นี้ประกอบด้วย (๑) ความเจริญเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจ (๒) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม (๓) ผลประโยชน์ทางสังคม (๔) การสรรค์สร้างการมีส่วนร่วมภายใต้หลักธรรมาภิบาล (๕) การปรับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และ (๖) ความเป็นผู้นำของโลกด้านการท่องเที่ยว
แนวทางในการผลักดันการพัฒนาการท่องเที่ยว จะดำเนินการที่มุ่งเน้นสาระหลักห้าด้านที่สำคัญประกอบด้วย หนึ่ง ความร่วมมือในการสรรค์สร้างธรรมาภิบาล สอง การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน สาม การพลิกโฉมด้านการแข่งขัน สี่ การสรรค์สร้างและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยว และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ห้า การสรรค์สร้างระบบข้อมูลที่ฉับไว ในสามด้านคือ ด้านผลิตภัณฑ์ การตลาด และนักท่องเที่ยว

๔: มรดกด้านวัฒนธรรมอิสลามใน ANDALUCIA
อาณาจักรอิสลามเข้ามาอิทธิพลในพื้นที่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรไอบีเรีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๗๑๑ ในครั้งนั้นนักประวัติศาสตร์สเปนยุคต้น บันทึกไว้ที่อาจสรุปอย่างสั้น ๆ ว่า “นายทหารหนุ่มชื่อ Tariq ibn Ziyad นำกองกำลังทหารมัวร์ (Moors) จำนวน ๑๒,๐๐๐ นาย เข้าไปในพื้นที่นี้ จากญิบรอลตาขึ้นไปทางตอนใต้ของสเปน หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีมุสลิมสามารถครองพื้นที่สเปนทั้งหมด และสถาปนาอาณาจักรอิสลามในสเปนต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ ๘๐๐ ปี” (Abercrombie TJ: When the Moors Ruled Spain. National Geographic, July,1988, pp 86-119.)
ความรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดของมุสลิมในสเปน อยู่ในยุคของพระราชาธิบดี Abdulrahman the Third ในช่วงปี ค.ศ. ๙๑๒ – ๙๖๑ ในเวลาดังกล่าวนั้น CORDOBA ( “QURTUBAH” ในภาษาอรับ) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสลามที่มีความรุ่งเรืองมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลกในสมัยนั้น
CORDOBA ในช่วงดังกล่าวมีประชากรเกือบ ๕๐๐,๐๐๐ คน มีมัสยิด ๗๐๐ แห่ง โรงพยาบาล ๔๐ แห่ง ห้องสมุดสาธารณะ ๘๐ แห่ง โดยมีหนังสือประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุดเหล่านี้ถึง ๕๐๐,๐๐๐ เล่ม ใกลัเคียงกับจำนวนประชากรทีเดียว (ข้อมูลจากGould J: Cordoba. New York Times, 1989, 5th May.) หนังสือและตำราดังกลาวนี้เป็นงานนิพนธ์ของนักวิชาการชาวกรีกและมุสลิม
มัสยิดแห่งเมือง CORDOBA เป็นภาพสะท้อนของความรุ่งเรืองทางวิชาการทั้งด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ดังที่ผมได้เล่าให้ฟังแล้ว แต่ความรู้ที่เป็นแรงบันดาลใจที่ได้จากเพื่อนชาวสเปนก็คือ นักวิชาการจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เพื่อมาเรียนในมหาวิทยาลัยในสเปนในช่วงเวลานี้น มาเรียนรู้จากนักวิชาการมุสลิมที่มีชื่อเสียง ทั้งในมหาวิทยาลัยที่ CORDOBA, SEVILLE, VALENCIA ได้รับการขานขามในความมีชื่อเสียงด้านวิชาการในสมัยกลาง อันถือเป็นยุคทองของอาณาจักรอิสลาม ซึ่งเพื่อนชาวสเปนที่ชื่อ Dr. Barbara ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของสถาบันฮาลาลแห่งสเปน อธิบายว่าบรรดาประตูเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่มีทรงโค้งที่เขียนข้อความเป็นภาษาอรับ ที่เธอเขียนเป็นภาษาอังกฤษให้ผมดู เป็นข้อความดังนี้ “The world is held up by four pillars; the wisdom of the learned, the justice of the great, the prayers of the righteous and the valor of the brave” อยากให้พวกเราลองไปแปลกันเอาเอง เพราะเป็นข้อความที่ไพเราะจับใจมากทีเดียว ที่คนมุสลิมชาวสเปนที่สืบทอดเชื่อสายจากบรรพบุรุษ เล่าให้ฟังด้วยน้ำตาคลอเบ้าแห่งความภาคภูมิใจ
รายชื่อของนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาของศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่เป็นชาวมุสลิมในสเปน มีมากมายจริง ๆ ที่ Dr. Barbara เพื่อนของเธออีกนหนึ่งที่ทำงานด้วยกันกับเธอชื่อ Dr. Farjar เล่าให้ผมฟังและผมบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ และกลับมาค้นคว้าต่อเมื่อกลับมาถึงบ้าน เช่น
 ‘AbuJ Qasim al-Zahriwi (936-1035 A.O.) also known as AlbuCasis in the West, was an eminent 10th century surgeon in Spain. Al-Zahrawi was the first to establish a large medical school in Muslim Spain.
 lbn Hazm (994-1064 A.O.) was one of the intellectual giants of Muslim Spain. He was a scholar and a prolific writer, having written 80,000 pages in four hundred volumes on various subjects including Islamic theology, history, philosophy, science and medicine.
 AJ-Idrisi (1100-1166 A.O.) was a famous geographer born in southern Spain.
 Ibn Zuhr (11I3-1 199 A.O.) is known in the West as Avenzoar, was a famous Seville physician who taught and practiced medicine in Andalusia in the 12th century.
 lbn Rusbd (1126- 11 98 A.D.) is known in the west as Averros. He was a famous philosopher of Andalusia, born in Cordoba, studied the Qur’an, Hadith, Islamic law, astrology, mathematics, philosophy and medicine.
 lbn aJ-‘Arabi (1165-1240 A.D.) was a famous Sufi Muslim philosopher of Spain.

/////////////////////////////////////////////////////

 2,184 total views,  4 views today

You may have missed