เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เปิดข้อเสนอ ประชาสังคมต่อ ราฮิม นูร์ เพื่อสานต่อสันติภาพที่ชายแดนใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน..Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน


ในห้วงเวลา 11-14 มิถุนายน 2562 ตันสรี อับดุลรอฮีม บิน มุฮัมหมัด นูร์ (Tansri Abdurrahim Bin Muhammad Nur) หัวหน้าคณะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ชาวมาเลเซีย ได้เยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยได้พบปะพูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่ารัฐ ผู้นำศาสนา นักวิชาการ ส.ส.และประชาสังคมชายแดนใต้ทั้งพุทธ-มุสลิมเพื่อสานต่อกระบวนการพูดคุยกับรัฐบาลใหม่ไทย
การเดินทางครั้งนี้แม้หน่วยความมั่นคงจะจัดให้มีกำหนดการชัดเจนว่าจะพบใครอย่างไร และพยายามไม่ให้สื่อได้รู้มากนักยกเว้นบางสื่อเท่านั้น ที่ทำข่าวได้แต่เป็นข้อสังเกตว่าหัวหน้าคณะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ชาวมาเลเซียคนนี้ทำงานอย่างมืออาชีพและแตกต่างจากคนเดิม เพราะมีการลงพื้นที่พบและรับฟังความคิดเห็นผู้นำศาสนา นักวิชาการ ส.ส. และภาคประชาสังคมชายแดนใต้ที่สำคัญภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ได้นำเอกสารข้อเสนจากเครือ 13 องค์กรที่ผ่านการสังเคราะห์โดยฝ่ายวิชาการจากเวที รับฟังความคิดเห็น วิจัยและ ลงพื้นที่จนเป็นเอกสารข้อเสนอแนะต่อกระบวนการสันติภาพในครั้งนี้


นายมุฮัมมัดอายุป ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ได้เปิดเผยว่า ทางสภาร่วมกับเครือข่ายได้นำข้อเสนอ 13 กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ได้แก่ 1.สภาประชาสังคมชายแดนใต้ 2.เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสนติภาพ (B4P)3.กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) 4.คณะทางานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW)5.เครือข่ายปกป้องสิทธิเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (CPN)6.Local Engagement to Advocate for Peace Project (LEAP)
7.โครงการรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้นาศาสนาอิสลาม 8.โครงการสานเสวนานักการเมือง 9.สมาคมตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10.สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ 11.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 12.สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) 13.สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยใน โดยนำเสนอ 8 ประเด็น เพื่อสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน ทุกด้านกล่าวคือ ความปลอดภัย กระบวนการสันติภาพ/พูดคุย ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อสารกับสังคมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิต การปกครอง –การพัฒนาและกระบวนการยุติธรรม


สำหรับเรื่องความปลอดภัยนั้น เน้นส่งเสริมความปลอดภัยของพื้นที่สาธารณะ ส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์สาหรับเด็กของอนาคต คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทุกฝ่ายยุติการก่อเหตุความรุนแรง ปฏิบัติการทางการทหารในพื้นที่สาธารณะ ผู้หญิงมีส่วนร่วมและช่วยพัฒนามาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ คุ้มครองความปลอดภัยของผู้หญิงนักกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ถูกจับตาและถูกมองอย่างมีอคติ สร้างความตระหนักรู้และขจัดความรุนแรงอันมีฐานมาจากเพศสภาพ เด็กอยู่รอดปลอดภัยของเด็กท่ามกลางความขัดแย้งโดยเด็กจะต้องได้รับการปกป้อง รู้รอดปลอดภัย รวมทั้งปลอดจากภัยคุกคามทางเพศ นักกิจกรรมและคนทางานเพื่อสังคมได้รับการปกป้องและคุ้มครอง ให้ชุมชนมีบทบาทหลักในการวางแผนรักษาความปลอดภัยในชุมชนโดยตำรวจและทหารเป็นฝ่ายหนุนเสริม มีมาตรการคุ้มครองพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอย่างเต็มที่ เพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างชุมชนและฟื้นฟูการอยู่ร่วมกัน
กำหนดพื้นที่ปลอดภัยในเชิงพื้นที่สาธารณะ มีมาตราการที่ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มทางสังคม ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งในและนอกพื้นที่สามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
ในประเด็นกระบวนการพูดคุย/เจรจาสันติภาพ-สันติสุขนั้น ขอให้ผู้อำนวยความสะดวกเสนอต่อทุกพรรคการเมืองของไทยและรัฐบาลไทยให้ถือว่า กระบวนการพุดคุยสันติสุขกับผู้เห็นต่างเป็นวาระแห่งชาติ และไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้เห็นต่างทุกกลุ่มมีส่วนร่วม โดยเน้นการพูดคุยในเรื่องความปลอดภัย การส่งเสริมอาชีพ ตลอดจนการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ปรับปรุงคณะพูดคุย ให้มีพลเรือนเป็นหัวหน้าคณะฯ เปิดการเจรจาสันติภาพกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอย่างจริงจังโดยมีตัวแทนภาคประชาสังคมที่เป็นอิสระในการทางานรวมทั้งชาวพุทธ และมุสลิมกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ จัดให้มีกลไก-กระบวนการส่งเสริมสันติภาพ เช่น คณะกรรมการในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ สนับสนุนการเรียนรู้เรืองกระบวนการสันติภาพโดยอาจจะเปิดห้องเรียนสันติภาพ
จากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน การแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยยุทธศาสตร์การเมืองนาการทหารและการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมบทบาทประชาสังคม CSO  ในการส่งเสริมความเข้าใจกระบวนการสันติภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ เปิดให้มีช่องทางการสื่อสารความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการสันติภาพ แสวงหาทางออกความขัดแย้งด้วยวิธีการทางการเมือง
กาหนดให้พื้นที่สาธารณะ ปลอดภัยเป็นวาระการพูดคุย

ที่สำคัญไม่แพ้กันคือที่ต้องทำคู่ขนานคือปฺฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
และพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
สำหรับปฏิรูป กระบวนการยุติธรรมนั้นต้องเคารพยึดถือปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมและหลักนิติธรรม ยกเลิกกฎอัยการศึกและสถานการณ์ฉุกเฉิน การตรวจสอบค้นหาความจริง จากคณะกรรมการอิสระที่เป็นอิสระ เช่นนักวิชาการ ผู้นาชุมชน ผู้นาศาสนา และภาคประชาสังคมที่ การเยียวยาเหยื่อและผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งมิใช่เพียงการชดใช้เป็นตัวเงินเท่านั้น แต่รวมถึงการฟื้นฟูเยียวยาด้านจิตใจ การทาให้กลับสู่สถานะเดิมเท่าที่จะทาได้

หลังจากพบประชาสังคมท่านตันสรี อับดุลรอฮีม บิน มุฮัมหมัด นูร์ให้เกียรติอย่างมากได้ไปพบผู้นำศาสนาอย่างอ่อนน้อมเพราะท่านทราบดีว่าผู้นำศาสนามีอิทธิพลต่อคนพื้นที่ เหล่านี้ท่านคงกลับไปสรุปกับคณะทำงานและนำเสนอต่อท่านดร.ตุนมหาฎีร ผู้นำสูงสุดมาเลเซียเพื่อจะต่อยอดในการประชุมครั้งหน้าอีก สองอาทิตย์ที่รัฐปีนังประเทศมาเลเซีย นับเป็นข้อท้าทายในการทำหน้าที่ Facilitator ต่อไปหลังจากอุสตาซชุกรี ฮารีได้ประกาศลาออกจากหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายเห็นต่างมาราปตานี
หมายเหตุ
โปรดดู
1.ตันสรี อับดุลรอฮีม บิน มุฮัมหมัด นูร์ ใน   https://www.facebook.com/tichila.phutthasaraphan/videos/2829753613707613/
2.ลิ้งข้อเสนอ ประชาสังคมต่อ ราฮิม นูร์ เพื่อสานต่อสันติภาพที่ชายแดนใต้  กดดูเพื่อดูข้อเสนอ คำว่านี้ ซีเอสโอ ภาษาอังกฤษ…

(กดที่นี่ ข้อเสนอ CSO)

 1,402 total views,  4 views today

You may have missed