รู้เท่าทัน ก่อนตกเป็นเหยื่อ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ซึ่งพบการขยายฐานหลอกเหยื่อ ตจว.มากขึ้น
ปัจจุบันมิจฉาชีพมีหลายรูปแบบ เข้ามาแฝงตัวในสังคม โดยเฉพาะ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ที่มีการหลอกลวงเหยื่อผู้เสียหายให้หลงเชื่อด้วยกลโกงสารพัดวิธี และมักทำกันเป็นขบวนการ พร้อมกับมีการพัฒนาวิธีลวงเหยื่อให้ติดกับดักอย่างง่ายดาย ถึงขั้นต้องสูญเสียทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลโดยไม่ทันตั้งตัว แม้ที่ผ่านมาจะมีข่าวการจับกุมและเตือนภัยเกี่ยวกับ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ปรากฏให้เห็นมากมาย แต่ยังคงมีประชาชนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มให้กับแก๊งเหล่านี้ ถือเป็นภัยต่อสังคม ที่ยังปราบไม่จบสิ้น
โดยล่าสุด ผู้ช่วยผู้บัญชการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ หลังรวบแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ 23 คน ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ หลังตั้งฐาน แถวด่านนอก สะเดา สงขลา (14 ธ.ค. 60) พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.ต.ต.เอกภพ ประสิทธ์วัฒนชัย รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9 ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนคดี แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ อ.สะเดา จ.สงขลา โดยเหตุเมื่อช่วงดึกวันที่ 13 ธ.ค. 60 พ.ต.อ.เสกสันต์ แก้วสว่าง ผู้กำกับการ สภ.สะเดา จ.สงขลา สนธิกำลังร่วมกับทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน และ ฝ่ายปกครอง เข้าตรวจค้นภายในห้องพักของอพาร์ทเม้นท์ไม่มีเลขที่ ซึ่งอยู่ติดกับสำนักปฏิบัตธรรมเจษฏา และทาวน์เฮ้าส์บ้านเช่าเลขที่ 42/29 , 42/50 และ 92 / 7 รวม 11 ห้อง ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ซ.สองชัย ถ.กาญจนวณิช บ้านด่านนอก ต.สำนักขาม อ.สะเดา ชายแดนไทย-มาเลเซีย หลังจากเจ้าหน้าที่สืบทราบว่า มีกลุ่มชาวต่างชาติต้องสงสัยเข้ามารวมตัวกันอาศัยอยู่ และควบคุมตัวไว้ทั้งหมด 23 คน เบื้องต้นพบว่า เป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ พร้อมกับยึดเครื่องคอมพิวเตอร์กว่า 30 เครื่อง รวมทั้งบัตรเครดิต 39ใบ โทรศัพท์มือถือ และ ซิมการ์ด พร้อมเงินสด ทั้งธนบัตรไทย และสกุลเงินต่างชาติ อีกหลายหมื่นบาท โดยขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นทั้งหมดกำลังติดต่อลูกค้าในต่างประเทศอยู่ และลักษณะการทำงานจะหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง
พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้เข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และตรวจของกลางที่เจ้าหน้าที่ยึดได้ภายในอาพาร์ท และห้องเช่า ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 19 เครื่อง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คส์ 23 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 47 เครื่อง เครื่องนับเงิน 1 เครื่อง บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารจำนวน 113ใ บ ตู้เซฟ 2 ตู้ เงินสดไทย 5 หมื่นบาท เงินหยวนจีน 3 หมื่นหยวน และ เงินริงกิตมาเลเซียอีก 300 ริงกิต พร้อมกับได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบเก็บหลักฐานอย่างละเอียด โดยเฉพาะการตรวจสอบข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญในการนำมาสอบสวนขยายผลไปยังเครือข่ายทั้งต้นทางและปลายทาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศของก๊งคอลเซนเตอร์แก๊งนี้ และอาจจะมีเรื่องของการพนันออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย แต่การตรวจสอบคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั่นค่อนข้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะ มีการล๊อครหัสการเข้าถึงข้อมูลในแต่ละขั้นตอนเอาไว้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ได้นำตัวชายและหญิง 2 คน ที่คาดว่า น่าจะเป็นหัวหน้าทีม มาทำการสอบสวน และจะตรวจสอบตู้เซฟอีก 2 ตู้ ที่พบด้วย สำหรับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แก๊งค์นี้ เจ้าหน้าที่ได้ติดตามพฤติกรรมมานานกว่า 5 เดือน ซึ่งเข้ามาตั้งฐานอยู่ที่บ้านด่านนอกชายแดนไทย-มาเลเซีย ก่อนที่จะสนธิกำลังเจ้าจับกุมได้
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ บก.ปอศ. ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ทาง ปอศ.ได้ประสานงานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ มีการตรวจสอบพบว่าพฤติกรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เหล่านี้จะทำงานทุกวัน โดยสุ่มติดต่อหาผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบเรียงหมายเลข ประมาณ ประมาณ 1,000 เลขหมายต่อวัน ซึ่งคนร้ายจะกระจายตัวอยู่ในหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ไต้หวัน จีน และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และเลือกใช้ธนาคาร กสิกรไทย หรือธนาคารกรุงเทพ เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีสาขาอยู่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และยังมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ
จากสถิติพบว่ากลุ่มคนร้ายมักจะเลือกติดต่อหาหมายเลขโทรศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย 081 เป็นหลักก่อน เพราะมีแนวโน้มที่คนที่ใช้เลขขึ้นต้นนี้จะเป็นผู้สูงอายุที่ใช้โทรศัพท์มือถือมานานแล้ว ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มตกเป็นเหยื่อได้มากกว่า
และแนวโน้มขยับไปยังกลุ่มต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ใช้มือถือในเขตกรุงเทพฯ และเมือง มีความรู้เรื่องนี้มากแล้ว ล่าสุดพบว่าอัตราความสำเร็จของประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อและหลงเชื่อมีประมาณ 5% เท่านั้น จากช่วงแรกที่สูงถึง 80% ที่สำคัญคือ กลุ่มคนร้ายที่อยู่ต่างประเทศยังลอยนวลอยู่ ที่ถูกจับดำเนินคดีเป็นเพียงบางส่วนที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
จากพฤติกรรมและวิธีการหลอกลวงตามข้างต้นแล้ว เห็นได้ว่ามิจฉาชีพกลุ่มนี้ มีการวางแผนมาอย่างดีจนเหยื่อหลงเชื่อได้ง่าย ปราศจากสติยั้งคิด ดังนั้น ประชาชนควรระมัดระวังอย่าหลงเชื่อพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม แต่หากจะดำเนินการใดๆ ส่วนประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในลักษณะดังกล่าวไปแล้วนั้น ให้เก็บสลิปการโอนเงินหรือห้ามฉีกเด็ดขาด ให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน และรวมไว้ เพื่อจะได้ติดตามร่องรอยบัญชีการโอนเงิน หรือทำการระงับการโอนเงินในบัญชีคืนให้กับผู้เสียหายได้ และเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ นอกจากประชาชน ควรติดตามข่าวสาร และตั้งสติแล้ว หากพบพิรุธ มีข้อสงสัยใด รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และหากพบว่ามีความผิดปกติ ก็ควรรีบวางสายโทรศัพท์ทันที ก่อนจะหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพที่แฝงตัวในสังคมไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0
บท… บรรณาธิการ SPMCNEWS
875 total views, 4 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา