เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เรือกอและ อัตลักษณ์พื้นที่ วิถีชาวเล สู่การแข่งขันประเพณีเรือกอและ

แชร์เลย
เรือกอและ อัตลักษณ์พื้นที่ วิถีชาวเล สู่การแข่งขันประเพณีเรือกอและ

  • เรือกอและเป็นเรือที่ใช้กันมากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า กอและ ในภาษายาวี  มีความหมายว่า โคลงเคลง

เรือกอและจึงมีความหมายอันแสดงถึงลักษณะเรือที่มีสภาพโคลงเคลงเมื่ออยู่ในน้ำ ไม่เคยหยุดนิ่งเหมือนกระแสคลื่นในทะเลนั่นเอง

ที่มาของเรือกอและนั้น  สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย พร้อมๆกับการแผ่ขยายของอิสลามในประเทศไทย และการเข้ามาตั้ง

รกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของมุสลิมเลียบ  ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไปถึงแหลมมลายู และเนื่องจากมุสลิมในภาคใต้

มีความเชี่ยวชาญในการออกทะเล  เนื่องด้วยคนส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมือง  เครื่องไม้เครื่องมือในการทำประมงแต่เดิมใช้ใบในการขับเคลื่อน

และเป็นเรือที่มีความคล่องตัวสูง โต้คลื่นได้ดี และคว่ำยาก เนื่องจากท้องเรือมีลักษณะกลม  อันเป็นรูปทรงที่รับกันกับลักษณะของคลื่นในทะเล

จึงสามารถที่จะแล่นบนน้ำทะเลได้อย่างมั่นคง

จากบทความ THE JONG, A MODEL BOAT WITH AN OUTRIGGER FROM MALAYA เขียนโดย  R.T.D FitzGerald

ได้กล่าวถึงเรือที่ใช้ในการแข่งชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Jong  พบในแถบคาบสมุทรมลายู ใกล้ๆกับสิงคโปร์  เมื่อพิจารณาจากหลักฐาน

ที่เหลืออยู่ คือ เรือต้นแบบ (Model)  แล้ว พบว่า สัดส่วนขนาดจริงของ Jong  มีความคล้ายคลึงกับเรือกอและ (Kolek)

ในคาบสมุทรมลายูตอนใต้ เป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงลักษณะการต่อเรือ ที่ส่งอิทธิพลต่อกันได้เป็นอย่างดี

ในปัจจุบันเรือกอและ เฉพาะพื้นที่ จ.ปัตตานีและนราธิวาสเท่านั้น  เนื่องจากภูมิประเทศทางภาคใต้ของไทย

มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดกับชายฝั่ง ทะเลอ่าวไทย ทะเลแปซีฟิค ชาวบ้านจึงมักประกอบอาชีพทำการประมงชายฝั่ง อีกทั้งพาหนะในการเดินทาง

วิถีชีวิต และเรื่องราวของคน ชายฝั่งทะเลนั้น ที่ประชาชนตามชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่แล้ว เรือกอและเป็นปัจจัยพาหนะหนึ่งในการนำ

ชาวประมงเพื่อออกจับสัตว์น้ำ  เพื่อเลี้ยงชีพและครอบครัว  และยังเป็นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น การเขียนลวดลายเรือกอและ

บนเรือกอและ  จะมีลักษณะการเขียนที่ ใช้สีที่ฉูดฉาด ลวดลายอันวิจิตรนี้เองเป็นเอกลักษณ์ของเรือกอและ ที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะไทย

อิสลาม จีน และศิลปะอื่น ๆ อันเนื่องมาจากอิทธิพล ของสภาพแวดล้อม คือ ภูมิประเทศ และวิถีชีวิตผู้คน

เป็นเรือแข่งขัน เรื่อยมามาครั้นมาแต่โบราณ และและได้หยุดไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จังหวัดนราธิวาสจึงได้ฟื้นฟูประเพณีแข่งเรือกอและ

ขึ้นใหม่อีกครั้ง และแข่งเรือกอและเมื่อ พ.ศ. 2518 และพัฒนาขนาดเรือกอและเป็นเรื่องแข่ง ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาส

พร้อมใจกันจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชการที่ 9  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส

เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทั่วจังหวัดภาคใต้ ซึ่งทุกปี ได้จัดแข่งหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณปากแม่น้ำบางนรา อำเภอเมืองนราธิวาส

จังหวัดนราธิวาส ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์  จ.นราธิวาส

จนสืบสานประเพณีการแข่งขันเรือ กอและ ชิงถ้วยพระราชทาน จนถึงปัจจุบัน

การแข่งขันเรือกอและเพื่อสืบสานประเพณีในปีล่าสุด เริ่มตั้งแต่วันที่ 23-25 กันยยน 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกธีรชัย นาควานิช องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในงานการแข่งขันเรือกอและ เรือยอกอง

และเรือคชสีห์นานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พลับพลาหาดนราทัศน์

อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ซึ่งการแข่งขันเรือในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมงานของดีเมืองนรา ครั้งที่ 42 ประจำปี 2560 มีทีมเรือเข้า

ร่วมแข่งขันทั้งหมด 49 ทีม แยกเป็นเรือกอและ 17 ทีม เรือยอกอง 20 ทีม และเรือคชสีห์ 12 ทีม ซึ่งมีทีมเรือจากประเทศมาเลเซีย

และอินโดนีเซียเข้าร่วมการแข่งขันด้วย และได้มีการจัดแข่งขันริ้วขบวนแห่เรือบุปผชาติ จำนวน 8 ลำ ซึ่งเรือแต่ละลำได้

ตกแต่งริ้วขบวนเรือด้วยความสวยงามตระการตา ในรูปแบบของการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร

รัชกาลที่ 10 และการน้อมนำสานต่อ ศาสตร์พระราชา ภายใต้ร่มพระบารมี สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

 

สำหรับบรรยากาศการแข่งขันเรือกอและ เรือยอกอง และเรือคชสีห์นานาชาติชิงถ้วยพระราชทาน ประจำปี 2560 ในรอบชิงชนะเลิศ

นี้มีประชาชนจากพื้นที่อำเภอต่างๆของ จ.นราธิวาส และอำเภอใกล้เคียง ของ จ.ปัตตานี ได้เดินทางมาร่วมชมและเชียร์ฝีพายทีม

ของตนเองและทีมที่ตนชื่นชอบกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นการร่วมสืบสานประเพณีการแข่งเรือของประชาชนในพื้นที่ที่มี

มาเป็นเวลาอันยาวนาน ส่วนการแข่งขันเรือประเภทต่างๆในรอบชิงชนะเลิศ ครั้งนี้ ประเภทเรือกอและทีมเรือชนะเลิศ ได้แก่

เรือฉลามเสือค่ายจุฬาภรณ์ อ.เมือง จ.นราธิวาส ทีมเรือยอกอง ชนะเลิศได้แก่ เรือเทศบาลเมืองตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส และ

ทีมเรือคชสีห์นานาชาติ ชนะเลิศได้แก่ ทีมเรือจากประเทศอินโดนีเซีย

การแข่งขันเรือกอและ เป็นประเพณีซึ่งสร้างความสามัคคีระหว่างหมู่คณะ เป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ให้คนทั่วไป

ได้รู้เห็นชื่นชม สร้างสัน รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความรักความสามัคคี  ช่วยสืบทอดงานช่างท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป

รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจากการท่องเที่ยวด้วย ลักษณะของ แม้ เรือกอและเรือกอและ ปัจจุบันเป็นเรือกอและ

มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดั้งเดิม หันมาใช้ด้วยเครื่องยนต์เรือ หางยาวแทนใบเรือ เช่นที่ใช้ในอดีต แต่เรือกอและ

ยังคงเป็นพาหนะสำคัญต่อชาวประมง และยังคงเป็นเรือที่รักษาไว้ ซึ่งอัตลักษณ์ของคนและพื้นที่จวบจนปัจจุบัน

บท บรรณาธิการ SPMC NEWS ภาพมะดารี โตะลาลา

 

 

 6,222 total views,  4 views today

You may have missed