หนุ่มบาเจาะ รายงาน…
แม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในเขตพื้นที่บ้านตะโละมาเนาะ ต.ลูโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มัสยิดแห่งนี้ มีชื่อว่า มัสยิดวาดีอัลฮูเซ็น หรือ เรียกที่คนในพื้นที่ หรือหมู่บ้าน เรียกว่า มัสยิดตะโละมาเนาะ เป็นมัสยิดสร้างด้วยไม้ตะเคียน สวยงามตั้งแต่ด้านนอกที่ได้ชม แต่เสน่ห์และลวดลาย การฉลุไม้แสนประณีตด้วยฝีมือช่างพื้นถิ่นเมื่อกว่า 395 ปีก่อน ยังคงตราตรึงใจผู้พบเห็นมาจวบจนทุกปัจจุบัน
อิหม่าม ประจำมัสยิดตาโละมาเนาะ เล่าเรื่อง มัสยดิแห่งนี้ ว่าก่อสร้าง ราวในปีฮิจเราะห์ 1044 หรือประมาณ พ.ศ.2167 กล่าวกันว่า ผู้เริ่มสร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ ก็คือท่านวันฮุเซน โดยนายนายช่างคนแรกที่สร้างมัสยิดนี้ชื่อ อับดุรเราะฮูฟ แห่งบ้านสุไหงบาตู นายช่างคนต่อมา ได้แก่ มุฮัมมัด (แชมะ) เริ่มแรกมีเพียงเสา พื้น และหลังคาใบจาก(ใบบรือแต) ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาซึ่งสั่งซื้อจากเมืองสงขลาในราว พ.ศ.2389 มีการเปลี่ยนจากฝาขัดแตะเป็นฝาปะกน มีช่องประตูหน้าต่างฉลุเป็นลายต่างๆ เช่น ดอกไม้สี่กลีบ เครือเถาสวัสดิกะ(ลายหัวช้างในภาษามลายู) ฝาด้านหน้าสลักลวดลายงดงาม บนประตูสลักเป็นภาษาอาหรับด้วยบทฮะดีษ ตอนท้ายเขียนว่าปีฮิจเราะห์ 1266 คือปีที่ทำฝามัสยิด
ลักษณะพิเศษของมัสยิดนี้คือการเข้าไม้ด้วยการใช้สลักไม้ทั้งหมด ผ่าไม้ด้วยลิ่ม ตัดด้วยขวาน และถากด้วยผึ่ง(ละแมะ) รูปคล้ายจอบสำหรับถากไม้ให้เรียบ เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า จือตา รูปร่างคล้ายขวาน ชาวบ้านยังเก็บรักษาเครื่องมือเหล่านี้ไว้อยู่ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ดู
สิ่งล้ำค่าสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คัมภีร์กุรอาน ที่ลงมือเขียนด้วยลายมือ เชื่อกันว่า ท่านวันฮุเซนเป็นผู้เขียนเอง จำนวนหลายสิบเล่ม ลักษณะการเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ของท่าน คือทุกวรรคจะเขียนเป็นวงกลม ส่วนบุตรชายของท่าน นามอับดุเราะหฺมานก็ช่วยเขียนด้วย โดยฉบับของผู้บุตรนั้นตอนท้ายวรรคจะวาดเป็นรูปดอกไม้ ทั้งบิดาและบุตรเขียนอัลกุรอานเป็นร้อยๆ เล่มเพื่อแจกจ่ายไปที่ต่างๆ ยังไม่นับหนังสือแนวอื่น หรือกีตาบอีกหลายเล่ม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ได้ว่าตะโละมาเนาะเป็นแหล่งผลิตหนังสือสำคัญในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มัสยิดตะโละมาเนาะยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ยังใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ตั้งแต่ในอดีต จวบจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีคุณค่าในเชิงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่โดดเด่น ตระหง่าน ควรแก่การอนุรักษ์ แหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์สังคม สำหรับคนทุกคนเสมอ ที่นี้คือ มัสยิดตะโละมาเนาะ จังหวัดนราธิวาส นั้นเอง
////////////////////////////////////////////////////////////////
2,140 total views, 4 views today
More Stories
วิถีชุมชน มาแกนาซิเมาะโนะ พหุวัฒนธรรมชุมชนต้นแบบพุทธ-มุสลิม
ในหลวงพระราชทานดินฝังศพเป็นกรณีพิเศษ แก่ นายเจ๊ะมูหามะญากี เจ๊ะเด็ง ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 บ้านดอนรัก เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ขณะช่วยเจรจากับผู้ก่อเหตุรุนแรง
ปรากฏการณ์ใหม่ยกระดับและเสริมศักยภาพสตรี ผ่านกิจกรรมแคมป์ปิ้งในงานเลดี้แคมป์ 2022