พฤษภาคม 2, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เกษตรจังหวัดยะลา นำร่องทำนาโยน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกรในพื้นที่

เกษตรจังหวัดยะลา นำร่องทำนาโยน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกรในพื้นที่

แชร์เลย

เกษตรจังหวัดยะลา นำร่องทำนาโยน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกรในพื้นที่

วันนี้ 15 พฤศจิกายน 2561  ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอรามัน หมู่ที่ 1 ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นายกัสมัน ยะมาแล หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดยะลา ได้จัดโครงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การทำนาโยนเพื่อลดต้นทุนการผลิต และแนะนำการใช้ปุ๋ย PgPr เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอรามัน จำนวน 100 คน โดยมีนายวิโรจน์  สุบการี เกษตรอำเภอรามัน เจ้าหน้าที่ และเกษตรกร ร่วมกันโยนพันธ์ข้าวลงนาในพื้นที่สาธิตการทำนาพื้นที่จำนวน 1 ไร่

นายวิโรจน์  สุบการี เกษตรอำเภอรามัน เผยว่า การทำนาโยน เป็นการทำนารูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและพืชทั่วไป โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในปี 2545 ถึง 2548 และเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้าเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาด้วยวิธีอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า อายุต้นกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดีมาก ใช้แรงงานเตรียมดินเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือใช้เมล็ดเพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85% สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานได้

นางมีเนาะ โตะเดร์ อายุ 50 ปี ชาวนาในพื้นที่ กล่าว่า เคยทำนาแบบปักมาตลอด การทำนาโยน ปลูกแบบใหม่นี้ก็น่าสนใจมาก ช่วยลดต้นทุนหลายด้านจริงๆ เวลาก็ลด จำนวนคนปลูกก็ลด และยังลดของคนมีอาการปวดเอวอีกด้วย และพร้อมกลับไปทำการทำนาโยนแทนทำนาแบบปัก ที่ได้สาธิตในวันนี้ และรู้ได้เลยว่ามันคุ้มและเพิ่มผลผลิตจริงๆ

“สำหรับการปฏิบัติดูแลรักษาการทำนาโยน ควรใส่ปุ๋ยรองพื้นแปลงไว้ก่อนโยนต้นกล้า 1 วัน และการปฏิบัติดูแลรักษาสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการทำนาวิธีอื่นๆ ทุกประการ”  นส.พัชรินทร์ รัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กล่าวทิ้งท้าย

ภาพ-ข่าว นิแอ สามะอาลี ส.ปชส.ยะลา / SPMCnews ยะลา

 1,285 total views,  2 views today

You may have missed