พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ศอ.บต. จับมือสื่อ SPMC นำสื่อ จชต. ดูงานมาเลเซีย สร้างสัมพันธ์ และเชื่อมการขับเคลื่อน เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” สู่ IMT-GT

แชร์เลย

นายรพี มามะ อุปนายกบริหารสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้/ประธานสื่อมวลชนเพื่อสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้    (SPMC)  เปิดเผยถึงโครงการ สานสัมพันธ์สื่อมวลชน จชต.กับสื่อมวลชนภาคเหนือของมาเลเซีย (รัฐเปอร์ลิส ปีนัง และเปรัก) โดย SPMC นำสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่จากสำนักสารสนเทศและประชาสัมพันธ์  กองฝ่ายการต่างประเทศ ศอ.บต.   ร่วมเดินทาง กว่า 40 ชีวิต ซึ่งจะเดินทางไปดูงานและเชื่อมสัมพันธ์ กับ หน่วยงานราชการและสื่อมวลชนประเทศมาเลเซีย  ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุน จาก ศอ.บต. กำหนดการวันที่ 5-8 ธ.ค.60 ที่รัฐเปอร์ลิส รัฐปีนัง และรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย

การเดินทางในโครงการครั้งนี้  ได้รับเกียรติ จากนายศุภนัฐ  สิรันทวิเนติ เลขาธิการ ศอ.บต.และพล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. เดินทางเป็นหัวหน้าร่วมคณะในฐานะตัวแทนข้าราชการไทย โดยจุดหมายแรกของคณะฯ  คือ  ที่ GELERI DI RAJA ARAU เพื่อให้ทีมงาน ได้เข้าเฝ้า  มงกุฎราชกุมารเปอร์ลิส   DYMT RAJA MUDA PERLIS  ‘ TUANKU SYED FAIZUDDIN PUTRA IBNI TUANKU SYED SIRAJUDDIN JAMALULLAIL และพระชายา  DYTM TUANKU TUANKU HAJJAH LAILATUL SHAHREEN AKASHAN KHALIL RAJA PUAN MUDA PERLIS  และพระองค์จะทรงบรรยายเกี่ยวกับบทบาทสื่อมวลชนใน IMT-GT   และจากนั้นจะมีการพบปะแลกเปลี่ยนของสื่อมวลชนจากทั้ง 2 ประเทศ

ในส่วนของรัฐเปรัก มีการเตรียมงานต้อนรับคณะอย่างยิ่งใหญ่ อับดุลฮานิม อับดุลมาเละ ผู้สื่อทีวี 3 ประจำรัฐเปรักกล่าวว่านับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเปรักที่ได้ต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงจากจังหวัดชายแดนภาคใต้และสื่อมวลชนในการเยือนเปรักในครั้งนี้ ทั้งๆที่เปรักและสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีพรอมแดนที่ติดต่อกันแต่ไม่เคยมีการเชื่อมสัมพันธ์กันและคณะจะได้เยี่ยมชมการจัดการชุมชนเกษตรท่องเที่ยวของเปรักอีกด้วยและจะมีการพบปะกับสื่อมวลชนรัฐเปรักเพื่อการขับเคลื่อนงานด้านข่าวสารต่อไป

การดูงานในครั้งนี้ เป็นการเดินทางตามเส้นทาง IMT – GT:  ซึ่ง มี 3 ประเทศ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย วัตถุประสงค์หลักของโครงการ IMT-GTคือ การให้ภาคเอกชนของทั้ง 3 ประเทศในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เป็นผู้นำทางการค้าและการลงทุน ในการนำไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยแสวงหาประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความใกล้เคียงและคล้ายคลึงกันทางสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภาษาโดย รัฐบาลของทั้ง 3 ประเทศ ได้ตกลงร่วมกันที่จะส่งเสริมบทบาทของเอกชนในการสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจสนับสนุนในภาครัฐให้จัดสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่จะเอื้อ ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผลักดันให้โครงการ IMT-GT เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดเป้าหมายหลักของโครงการไว้ ดังต่อไปนี้

  1. เพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย
  2. เพิ่มปริมาณการส่งออกจากพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายไปยังตลาดทั่วโลก
  3. ปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย และประชาชนโดยส่วนรวมของทั้ง 3 ประเทศให้ได้ดียิ่งขึ้น โดยภาคเอกชนเป็นกลไกนำการพัฒนา และภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุนการดำเนินงาน

นายรพี ประธานสื่อ SPMC กล่าวอีกว่า  ในส่วนของไทยการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ IMT-GT มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติซึ่งในเบื้องต้นหมายรวมถึง 5 จังหวัด คือ สงขลา สตูล ปัตตานียะลา และนราธิวาส เพื่อเพิ่มการค้าการลงทุน เพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น และสามารถให้แรงงานเข้าไปทำงานในมาเลเซียได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น ในปัจจุบันความร่วมมือตามโครงการ IMT-GT มีทั้งสิ้น 6 ด้าน ได้แก่ (1) โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง (Infrastructure and transportation) (2) การค้าและการลงทุน (Trade and Investment) กรมการค้าต่างประเทศเป็น focal point ฝ่ายไทย (3) การท่องเที่ยว (Tourism) (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Development) (5) การเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และสิ่งแวดล้อม (Agriculture, Agro-based Industry & Environment) (6) ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (Halal Product and Services)  นายรพี ประธานสื่อ SPMC กล่าว

ทีมงานข่าว.กองบรรณาธิการ SPMCNEWS

 1,249 total views,  4 views today

You may have missed