จากจังหวัดยะลา เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือจะเป็นหมู่คณะ เส้นทางจะคดเคี้ยวบ้างถึงบ้านกม.17 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ระยะทาง 96 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายบ้านจุฬาภรณ์ 10 เข้าไปอีก 20 กิโลเมตร ระยะทางอาจจะยาวไกลและใช้เวลาในการเดินทาง แต่มีจุดแวะจุดพักตามริมทางในเราได้จอดกินจอดซื้อผลไม้ตามฤดุกาล ปลาส้มธารโต ทานกวยเตี๋ยวโอ่ง รสชาติไฮโซราคาประชารัฐ เมื่อถึงที่หมายแล้วจะอึงกับธรรมชาติล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ พร้อมศึกษาความเป็นเป็นอยู่ของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่ร่วมดูแลพื้นป่าซึ่งเป็นมรดกของชาติไม่ให้ถูกทำลาย
วัฒนธรรมจังหวัดยะลา เห็นถึงความสำคัญของต้นไม้ใหญ่จึงจัดโครงการวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี พร้อมเปิดตัวต้นสมพงและต้นหลุมพอ ต้นไม้ทรงคุณค่าที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นรุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี เพื่อให้ประชาชนและคนในพื้นที่เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของต้นไม้ ทั้งนี้ได้ลงนามข้อตกลงระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนจะร่วมดูแลต้นไม่ใหญ่และปกป้องไม่ให้ถูกทำลายจากผู้ไม่หวังดี โดยมีนายสาโรช กาญจนพงศ์ ปลัดจังหวัดยะลา เป็นประธานดังกล่าว ที่บ้านจุฬาภรณ์ 10 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
“ การจัดโครงการวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี จังหวัดยะลา และเปิดตัว ต้นหลุมพอ ซึ่งเป็นต้นไม้ 1 ใน 63 ต้น ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี ประจำปี 2561 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 63 พรรษา 2 เมษายน 2561 ซึ่งต้นไม้ทรงคุณค่าทั้ง 2 ต้น ที่ได้รับการคัดเลือกนั้น นำมาซึ่งความภาคภูมิใจให้ประชาชนในท้องถิ่นและประชาชน ชาวจังหวัดยะลาเป็นอย่างมากอีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรักและหวงแหนในมรดกทางธรรมชาติ ซึ่งนับเป็น มรดกของแผ่นดิน ประจำท้องถิ่น ที่สะท้อนถึงวิถีความผูกพันของคนกับธรรมชาติ วัฒนธรรมไทย ความเชื่อ ความศรัทธา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน และผู้ประกอบการในท้องถิ่น รวมทั้งสามารถที่จะทำให้ ต้นสมพงและต้นหลุมพอ ต้นไม้ ทรงคุณค่าของชาติ ได้รับความนิยม เป็นสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสความสวยงาม ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้น และสามารถต่อยอดให้เกิดการอนุรักษ์ และพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย วัฒนธรรมจังหวัดยะลา กล่าว
ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามรอยต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นมรดกของประเทศไทย มีอายุกว่า 100 ปี ต้นสมพงและต้นหลุมพอ เชื่อว่าคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักและไม่เคยเห็น ภาครัฐต้องกระตุ้นให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวเดือนละครั้งเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและประเทศมาเลเซีย มาเที่ยวมาชิม และพักแรมในพื้นที่ โดยประชาชนในพื้นที่ต้องตื่นตัวให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวชุมชนด้วยการขับเคลื่อนของชุมชนด้วยตนเอง เชื่อว่าที่นี้จะเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวต้องมนต์ในธรรมชาติอย่างแน่นอน และเพิ่มงานเพิ่มรายได้แก่คนในพื้นที่ในอนาคตใกล้นี้
————————-
นิแอ สามะอาลี ส.ปชส.ยะลา / SPMCnews ยะลา
1,687 total views, 4 views today
More Stories
มหกรรมคาราวาน OK BETONG BIKE WEEK 2024 ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2567
สตรีทฟู้ดแอนด์อาร์ท Betong Art Club ศิลปะภาพวาด ความหลากหลายเมืองเบตง
“ลูโบ๊ะดีแย แคมป์” ธรรมชาติบำบัด CAMPING กดไลค์ ใช่เลย!