พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จทรงเยี่ยมเรือนจำอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทรงติดตามผลการดำเนินงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์

แชร์เลย

วันนี้ (4 ธันวาคม 2565) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จทรงเยี่ยมเรือนจําอําเภอเบตง ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ณ เรือนจําอําเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมีนายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายพิเชษฐ โตประสิทธิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดยะลา พลโทศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4  พลตำรวจโทนันทเดช ย้อยนวล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พลตํารวจตรี เสกสันต์ ชูรังสฤษฎิ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา นางกรณิศ สุขการ ผู้อํานวยการท่าอากาศยานเบตง พร้อมข้าราชการ เฝ้ารับเสด็จ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปทรงติดตามผลการดำเนินงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ ณ เรือนจำอําเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมี นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และหัวหน้าหน่วยงานในจังหวัดยะลา ตลอดจนประชาชน เฝ้ารับเสด็จ

โอกาสนี้ เสด็จไปยังบริเวณหน้าสถานพยาบาล ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย “มุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ปันสุข” ทอดพระเนตรภายใน “มุมสุขภาพราชทัณฑ์ปันสุข ”  ห้องทันตกรรม/ครุภัณฑ์พระราชทาน ทรงมีพระปฏิสันถารกับผู้ต้องขังหญิง ถึงปัญหาและความต้องการ ทรงเยี่ยมผู้ต้องขังที่ป่วย พร้อมทั้งพระราชทานถุงพระราชทาน แก่ผู้ต้องขัง ก่อนเสด็จกลับ

ทั้งนี้ เรือนจำอําเภอเบตง จังหวัดยะลา มีผู้ต้องขังหญิง จำนวน 36 คน ผู้ต้องขังชาย จำนวน 239 คน เด็กติดผู้ต้องขัง 1 คน และกักขังชาย 1 ซึ่งผู้ต้องขังทั้งหมดต่างได้รับบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน

สำหรับโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ  เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์ อันกว้างไกล โดยทรงเห็นว่าสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่เว้นแม้แต่ผู้ต้องขัง ซึ่งก็คือประชาชนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ทรงเห็นว่าการเข้าถึงบริการทางการแพทย์การพยาบาล รวมไปถึงการได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขัง เป็นสิทธิของผู้ต้องขังที่ควรได้รับ เท่าเทียมกับบุคคลภายนอกตามหลักมนุษยธรรมข้อจำกัดในด้านการได้รับความรู้ด้านสุขอนามัยตลอดจนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของผู้ต้องขังจึงมีความสำคัญที่จะต้องพิจารณาปรับปรุง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ริเริ่มโครงการราชทัณฑ์ปันสุขทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ขึ้น เพื่อเป็นการเติมเต็มสิทธิของผู้ต้องขังให้ได้รับบริการทางสุขภาพ เฉกเช่นประชาชนทั่วไป

 

 21,034 total views,  4 views today

You may have missed