ล
ผู้สื่อข่าวรายงาน ณ.บ้านช่างทองเหลือง จาบังตีกอ นายอัฏฐพล เทพยา อาจารย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาลัยทักษิณ หัวหน้าโครงการวิจัย นวัตกรรมมรดกภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นสำรับลังกาสุกะ ร่วมมือกับนายสุทธิพงษ์ สุริยะ หรืออจ.ขาบฟู้ดสไตลิสต์ ชื่อดัง โดยครั้งนี้ได้เกียรติจากนางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส มาร่วมชมการสาธิตอาหารด้วย โดยเข้าลงพื้นที่ บ้านเลขที่ 47 ต.จาบังตีกอ บ้านอดีตช่างทองเหลืองโบราณ ซึ่งเป็นบ้านเก่าแก่ 200 ปีทรงคุณค่าจังหวัดปัตตานี ปี 2563 ใช้เป็นสถานที่ สาธิตการ นำอาหารพื้นที่ ตำรับถิ่นมลายู มาประดับตกแต่งสร้างมูลค่าให้อาหารจานเด่นดูน่าดึงดูด และน่ารับประทานยิ่งขึ้น ตาม concept จาก local สู่ เลอค่า จากแนวคิด นำอาหาร และมนต์เสน่ห์ทางวัฒนธรรม อันเป็นอัตลักษณ์ ต้นกำเนิดดินแดนลังกาสุกะ เป็นต้นทุนในการขับเคลื่อนเปิดพื้นที่ทั้งจังหวัดปัตตานี นราธิวาสและยะลา ให้คนทั่วประเทศได้รู้จัก
โดยอาหารที่นำมาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ มีถึง 20 กว่าเมนู แนะนำเมนูโบราณได้แก่ แกงไก่ขาวกะทิ แกงเนื้อกูลาบือซา และ ผักอาจาด นาซิดาแฆ ตูมิหละซอ และน้ำพริกสูตรเด็ดจาบังตีกอ
นอกจากนี้ยังนำอาหารที่นำมาแปรรูป อีกหลายเมนู ที่พัฒนาสู่ยุคปัจจุบัน ด้วยวัตถุดิบในแต่ละพื้นที่ที่มีอย่างหลากหลาย เช่นเมนูปลาเค็ม ปลากุเลา บ้านตุยง อ.หนองจิก และน้ำตาลตโนด จากบ้านจะรัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี มาเป็นวัตถุดิบปรุงแต่งสำรับอาหาร ทั้งคาวและหวานอีกด้วย
อาจารย์ขาบ สไตลลิสต์ชื่อดัง ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ ศูนย์สร้างแรงบันดาลใจ Local สู่ เลอค่า ได้รับรางวัลเกียรติยศของโลกในปี 2563 ถึง 2 รางวัล ประเภทสถาบันเพื่อสาธารณะ และประเภทอาหารเพื่อปวงชน จากเวที Gourmand World Awards ประเทศฝรั่งเศส
ได้กล่าวว่า วันนี้เป็นอีก 1 วันที่ มีความสุขที่ได้มา รังสรรค์อาหารพื้นถิ่น ตำรับ มลายู ให้เพิ่มมูลค่าโดยใช้วิธี นำ พืชผัก ดอกไม้ และ เครื่องเคียงที่มีอยู่ใน ครัวเรือน มาประดับตกแต่ง อาหารที่ เราคิดว่าธรรมดา หรือสามารถหา ทานได้ตามปกติ มาเพิ่มมูลค่าอาหารให้สวยงาม น่ารับประทานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ภาชนะก็มีความสำคัญ ต้องเป็น ของที่สามารถผสมผสานกับความเป็นมลายู ในวันนี้ ได้ มาเยี่ยมบ้านช่างทองเหลือง ซึ่งภายในบ้านมีภาชนะทองเหลืองโบราณ จึงนำมา ใช้ใส่อาหาร ประกอบกับการใช้ นายแบบ นางแบบ สวมชุดมลายู ประกอบอยู่ในเฟรมภาพทำให้ อาหารสวยงามน่ากินและลงตัว สามารถนำมาเป็นจุดขาย ต่อไปในอนาคตให้ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาเยี่ยม ของโบราณ ในขณะเดียวกัน ได้รับประทานอาหารที่มีความอร่อย ด้วย ขอรับรองว่าที่ชายแดนภาคใต้ ทั้ง 3 จังหวัด มีอาหารอร่อยๆ มากมาย บวกกับต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานของแต่ละที่แต่ละท้องถิ่น สามารถสร้างมูลค่าได้อีกทั้งด้าน อาหาร ประเพณี วัฒนธรรม สร้างรายได้เชื่อมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ ความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน ในอนาคตอย่างแน่นอน
ภาพ/ข่าว
มะอายือมิง สาแล๊ะ
51,222 total views, 2 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา