ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในภาวะที่ พืชเศรษฐกิจ ราคายางพาราตกต่ำ ที่นราธิวาส ชาวบ้าน ได้ทำอาชีพ สร้างได้จุนเจือ ครอบครัว คือ การรับจ้างผ่าลูกหมากตากแห้งขาย และจับปลาไหล เป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว ในช่วงนี่ หมากในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กำลังมีผลผลิตจำนวนมาก ชาวบ้านที่บ้านโคกโก ม.4 ต.ลำภูอ.เมืองจ.นราธิวาส ได้เปิดรับซื้อลูกหมากตากแห้งจากชาวบ้านในพื้นที่
ณ.ที่บ้านเลขที่153 บ้านโคกโก ม.4 ต.ลำภู อำเภอเมืองจ.นราธิวาส นายวิเชียร ฉาฉ่ำ ได้เปิดรับซื้อหมากที่ผ่าและตากแห้งแล้วจากชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม โดยมีชาวบ้านที่บ้านโคกโก บ้านไร่ บ้านทุ่ขนุน บ้านเขากง บ้านทุ่งงาย บ้านทุ่งบัว บ้านตันหยงลูโล๊ะ บ้านรามา บ้านทำเนียบ และอีกหลายหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆ โดยทางชาวบ้านได้เก็บหมากนำมาผ่า ก่อนจะนำไปตากแห้ง หลังจากนั้นก็จะนำมาแกะออกบรรจุใส่ถุงขายให้กับพ่อค้าในราคากิโลกรัมละ 20-40 บาท สร้างรายได้ให้กับครอบครัวในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำ
ในช่วงเดือน ม.ค.- มิ.ย.ของทุกปี ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกหมากออกผลสุกเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเก็บผลหมากที่ปลูกไว้ริมรั้วข้างบ้าน นำมาผ่า แกะเนื้อหมากออกแล้วนำมาตากแดดขายกันแทบทุกครัวเรือน
น.ส.เจ๊ะหม๊ะ เจ๊ะฮะ อยู่ที่บ้านรามา ม.5ต.ลำภูอ.เมืองจ.นราธิวาส กล่าวว่า ที่บ้านได้ทำหมากตากแห้ง เป็นอาชีพเสริมมาทุกปี ในช่วงหน้าแล้งทุกปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา หลังจากกรีดยางเสร็จแล้ว จะช่วยกันผ่าหมากและนำเมล็ดในไปตากแห้งขาย
และขอให้ทางส่วนราชการ ช่วยสนับสนุนส่งเสริมพันธ์หมาก เช่นหาพันธ์หมากที่ให้ผลลูกโตๆปลูกใช้เวลาในการให้ผลผลิตเร็วขึ้น เช่นปกติปลูกแล้ว6ปีกว่าจะให้ผลผลิต อาจะมีพันธ์ใหม่ให้ผลผลิตในเวลา3ปี และช่วยหาตลาด และในเรื่องราคาของหมากด้วย
ขณะที่ชาวบ้านที่บ้านตันหยงลูโล๊ะ ม.9 ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส ชาวบ้านที่นี่จะพากันออกหาปลาไหล เพื่อนำไปขายจุนเจือครอบครัว
ชาวบ้านที่นี่ดักปลาไหลมาตั้งนานแล้ว ชาวบ้านที่นี่ใช้บั้งลันที่ทำจากท่อ พีวีซี เพราะเมื่อปลาไหลเข้าบั้งล้น จะสามารถกินเหยื่อได้โดยตรง เพราะไม่มีที่ดักกรอง หากเราจะนำไปทำอาหารก็ต้องให้ขังไว้สัก 2 คืนก่อนส่วนเหยื่อจะเป็นหอยเชอรี่ เอามาตำหรือทุบให้เปลือกแตก ผสมกับไส้เดือนสับนิดหน่อย หรือนำปลาเล็กๆสับผสมกับไส้เดือนด้วยก็ได้
แหล่งที่ปลาไหลชอบอยู่และชาวบ้านมักจะไปดักใส่ปลาไหล จะแหล่งน้ำที่มีน้ำไม่มากนัก ในที่นา เป็นป่าหญ้า ป่าบุ่งรกๆ
ซึ่งแต่ละคนจะบั้งลันไปใส่ตามแหล่งน้ำต่างๆคนละไม่ต่ำกว่า 15-20 กระบอกขึ้นไป โดยชาวบ้าน มักจะนำปั้งลันปดักปลาไหล ในช่วงเวลาประมาณบ่ายสองโมง และไปเก็บอีกทีในช่วงเช้ามืดของทุกวัน แต่ละวันก็จะได้ปลาไหลกลับมาประกอบอาหาร และเหลือไว้ส่งขายให้ตลาด และมีพ่อค้ามารับซื้อที่บ้านอีกด้วย ส่วนราคาในพื้นที่ ขณะนี้มีพ่อค้ามารับซื้อที่ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ชาวบ้านสามารถสร้างรายได้ให้อีกทางหนึ่งไว้จุนเจือครับครัวด้วย
นายสุไลมาน ยุ SPMCNEWS นราธิวาส รายงาน
1,395 total views, 2 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา