พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ศอ.บต. ปิ๊งไอเดีย!! จัดประกวดสุนทรพจน์ภาษามลายู เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการรักษาอัตลักษณ์ทางภาษา พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

 (18 เมษายน 2561) 10.30 น. ที่ห้องพิมมาดา 3 โรงแรมปาร์ควิว รีสอร์ท นายศุภณัฐ ศิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หมอบหมายให้ นายกิตติ สุระคำแหง     รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานเปิดกิจกรรมอบรมและประกวดสุนทรพจน์ภาษามลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ประจำปี 2561 จัดโดยสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศอ.บต. ระหว่างวันที่ 17 – 19 เมยายน 2561 เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและยกระดับการใช้ภาษามลายูในพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ พร้อมให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาด้านภาษามลายูที่สอดคล้องกับสถานการณ์  โดยมี นางอลิสรา มะแซ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี นายอารี ดิเรกกิจ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ศอ.บต.  ดร.หะมีดิง สานอ ประธานคณะกรรมการสถาบันภาษามลายูไทยแลนด์ ประธานสมาคมศูนย์การเรียนตาดีกา 5 จังหวัดชายภาคใต้ วิทยากรจากประเทศมาเลเซีย และเจ้าหน้าที่ ศอ.บต ร่วมในพิธีเปิด  โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยเยาวชนจากสถานศึกษาในพื้น 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 100 คน แบ่งเป็นจังหวัดนราธิวาส 30 คน จังหวัดปัตตานี 30 คน จังหวัดยะลา 30 คน และจังหวัดสงขลาและสตูล 10 คน

 นายกิตติ สุระคำแหง กล่าวว่า ภาษามลายูเป็นภาษาที่เก่าแก่อีกภาษาหนึ่งในโลก ซึ่งปัจจุบันประชากรในประเทศต่างๆ ใช้ภาษามลายูในการสื่อสารเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยเฉพาะในแถบอาเซียน ดังนั้นภาษามลายูมีความสำคัญในแง่ของการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และขอให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมในครั้งนี้ มุ่งมั่นตั้งใจในการฝึกฝน ภาษามลายูซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และร่วมกันพัฒนาต่อยอดให้เกิดกิจกรรมที่ดีเกี่ยวกับภาษามลายูในอนาคต และนำพาสู่สันติสุขต่อไป

 ด้านนายอารี ดิเรกกิจ กล่าวด้วยว่า กิจกรรมอบรมและประกวดสุนทรพจน์ภาษามลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ประจำปี 2561 มุ่งส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านการพัฒนาภาษามลายู ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดเงื่อนไขในการเลือกปฏิบัติในด้านอัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างพหุวัฒนธรรม การใช้ภาษามลายูในการสร้างความเข้าใจและสื่อสารเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

SPMCNEWS รายงาน

 1,470 total views,  2 views today

You may have missed