พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รู้จักตุรกียุคอะตาเติร์ก การประหารชีวิตนักวิชาการศาสนาในข้อหาใช้ผ้าโพกศีรษะ สาธารณรัฐตุรกียุคมุสตาฟา เคมาล อะตาเติร์ก

แชร์เลย
ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด
ด้วยการถือกำเนิดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปและความล้มเหลวของจักรวรรดิออตโตมันในความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา และด้วยการครอบงำทางทหารของตะวันตกและความสำเร็จในการบรรลุชัยชนะในหลายด้าน ออตโตมันสูญเสียพื้นที่กว้างใหญ่ตลอดศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่คาบสมุทรบอลข่านไปจนถึงคอเคซัส ไปจนถึงแอฟริกาเหนือในแอลจีเรีย ตูนิเซีย และอียิปต์ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนลึกในโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของรัฐออตโตมัน
สุลต่านบางคนพยายามที่จะก้าวให้ทันกับกระบวนการของความทันสมัยทางอุตสาหกรรม การทหาร และการบริหาร   ยุคปฏิรูปที่เรียกว่า “ตันซีมาต” เริ่มขึ้นในอาณาจักรออตโตมันในรัชสมัยของสุลต่านอับดุลมาจีดที่ 1 ในปี พ.ศ. 2382 
ซึ่งการปฏิรูปนี้เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของยุโรปในด้านอุตสาหกรรมและการทหาร และการตอบโต้ที่พวกออตโตมานประสบความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่อง   ต้องเผชิญกับการก่อกบฏของมูฮัมหมัด อาลี ปาชา  ผู้ปกครองอียิปต์ และอิบราฮิม บุตรชายของเขา ออตโตมันสูญเสียซีเรียและปาเลสไตน์ให้แก่อียิปต์ จนกระทั่งกองกำลังของอียิปต์บุกมาจนถึงกอนยาในภาคกลางของอนาโตเลีย ดังที่ Bernard Lewis กล่าวไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง “The Emergence of Modern Turkey”ว่า  “ตุรกีต้องปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัยในช่วงศตวรรษที่  19 และ 20 หรือไม่ก็จะต้องล่มสลาย”
กระบวนการปรับปรุงให้ทันสมัยยังคงดำเนินต่อไป แต่มันเกิดขึ้นพร้อมกับเหตุการณ์ร้ายแรงในจักรวรรดิออตโตมัน โดยเฉพาะเกิดการสังหารสุลต่านอับดุลอาซิซในปี 1875 และสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (พ.ศ. 2419-2452) หลานชายของสุลต่านดำรงตำแหน่งต่อ มีการใช้ระบบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ  “แบบประชาธิปไตย” ” ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ทำให้สังคมยุโรปโดดเด่นในขณะนั้น อียิปต์ก็ดำเนินตามแบบแผนเดียวกันในปี 1866 ยุคของ คีดีวีอิสมาแอล  แต่ทั้งสองที่ก็ดำเนินการได้เพียงไม่นาน
สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ตระหนักว่าการปกครองแบบรัฐสภาไม่เหมาะกับจักรวรรดิออตโตมันซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้า 6 ศตวรรษ การปกครองตลอดช่วงเวลานี้ในรูปแบบของสุลต่านและคอลีฟะฮ์หรือราชาธิปไตยเก่าที่เคยใช้ในยุโรป  หากใช้ระบบรัฐสภา พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่และหลากหลายของออตโตมันย่อมนำไปสู่การล่มสลายของรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 เชื่อว่าทางออกที่ดีที่สุดสำหรับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้คือการกลับไปสู่สิ่งที่จักรวรรดิออตโตมันตั้งรกรากมานานหลายศตวรรษผ่านระบบ “มิลลี”
ที่แต่ละลัทธิศาสนาอ้างอิงหลักการทางศาสนาและภูมิปัญญาสำหรับในด้านตุลาการ  แต่ในกรณีทางการเมืองและการทหารยังคงอยู่ในที่ประชุมสายสกุลออตโตมัน เสนาอำมาตย์ และนายกรัฐมนตรี  ตามระบบราชการและกองทัพของออตโตมัน
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ในไม่ช้าสุลต่านอับดุลฮามิดก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญและยุบรัฐสภา ความจริงก็คือสุลต่านอับดุลฮามิดแตกต่างจากบิดาของเขาสุลต่านอับดุลมาจิดและสุลต่านมูรอดที่ 5 น้องชายของบิดา และตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกียิลมาซ ออซทูนา กล่าวว่า: “สุลต่านอับดุลฮามิดอยู่ในการรักษาประเพณีตุรกีออตโตมันของอิสลามตะวันออก และคิดว่า จำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ของตะวันตก ต้องรู้จักวัฒนธรรมตะวันตก โดยไม่เลียนแบบในวิถีการดำรงชีวิต”
แต่แนวโน้มทั่วไปของชนรุ่นใหม่ชาวตุรกี เคิร์ด บัลแกเรีย อัลเบเนีย และคนรุ่นใหม่อื่นๆ ที่อาศัยในยุคความทันสมัยที่ผันผวนเหล่านี้ และได้รับอิทธิพลจากวาทกรรมเกี่ยวกับเสรีภาพและเสรีนิยมของยุโรป และความเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรือง ไม่พอใจการรวบอำนาจทั้งหมดไว้ในมือของสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 และไม่พอใจกับทัศนะของสุลต่านที่มีต่อโลกตะวันตก  พลเรือนและทหารในปลายศตวรรษที่ 19 และทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ได้ก่อตั้งสมาคมที่เรียกว่า “ยังเติร์ก” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสมาคมอิตติฮาดวัตตะร๊อกี พรรคเสรีภาพ และสมาคมหุรรียะฮ์วัลอิติลาฟหรือสมาคมเสรีนิยม พรรคสังคมนิยมออตโตมัน กลุ่มยังอาหรับ และอื่น ๆ สมาคมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อผลักดันกระแสความทันสมัยหรือความเป็นตะวันตกตามที่พวกเขาเชื่อว่า ความผิดพลาดด้านการบริหารและการเมืองในจักรวรรดิออตโตมันเป็นสาเหตุของความล้าหลัง
กลุ่มยังเติร์ก เป็นแกนกลางของการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม 1908 ต่อสุลต่านอับดุลฮามิดซึ่งเป็นการปฏิวัติที่บังคับให้สุลต่านต้องฟื้นฟูระบบรัฐธรรมนูญอีกครั้งและถอยไปอยู่ในที่ที่ไม่มีบทบาท ในเวลานั้นผู้คนจำนวนมากและทหารก็ตระหนัก อันตรายของสิ่งที่เกิดขึ้นต่อประเพณีและความคิดของอิสลามและออตโตมัน ในความสมดุลของการปกครองและการบริหาร กลุ่มที่สนับสนุนสุลต่านอับดุลฮามิดหันไปต่อต้านการทำรัฐประหาร ​​แต่กลุ่มแรกได้ปลดสุลต่านอับดุลฮามิดในเดือนเมษายน 1909
นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จักรวรรดิออตโตมันได้เข้าสู่กระแสเผด็จการภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของ “ยังเติร์ก” ซึ่งไม่เปิดรับผู้ที่ไม่ใช่ชาวเติร์กและในไม่ช้าประเทศก็เข้าสู่วัฏจักรสงครามอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากอิตาลีใน ค.ศ. 1911 สงครามบอลข่านในปี ค.ศ. 1912 และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ( 1914-1918 ) หลังความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนั้น พวกเติร์กและบางส่วนของกองทัพออตโตมัน รวมทั้งอาตาเติร์ก ได้ลุกขึ้นต่อต้านการยึดครองของกรีซ ฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลีในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนาโตเลียและอื่น ๆ ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของออตโตมันอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 1924 หลังจากการประกาศสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี ในวันที่ 29 ตุลาคม 1923
แต่สิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับสาธารณรัฐใหม่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นบนหลักการของพรรคอิตติฮาดวัตตะร้อกกีย์ และหลักตุรกีเป็นของชาวเติร์ก ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหรับหรืออื่น ๆ  ในไม่ช้าก็เริ่มทำสงครามต่อต้านทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และต่อต้านบรรดาชีคและนักวิชาการอิสลาม ทำให้ มุสตาฟา ซาบรี ชัยคุลอิสลามในออตโตมัน (เสียชีวิต 1954 ) ต้องอพยพมาจากตุรกี ย้ายไปมาระหว่างยุโรปและฮิญาซ ก่อนที่จะไปตั้งรกรากในอียิปต์ที่ซึ่งเขาเสียชีวิต
ในขณะที่อุลามาอ์ส่วนใหญ่ถูกจำคุกและประหารชีวิต โดยที่ความผิดของพวกเขาไม่มีอะไรนอกจากความคิดเห็นของพวกเขาที่ต่อต้านกฎหมายและระเบียบของสาธารณรัฐเซคคิวลาร์ของอะตาเติร์ก และตัดขาดตุรกีสมัยใหม่ออกจากมรดกทางปัญญาของอิสลามและพื้นที่ใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์และเคลื่อนไปยังตะวันตกด้วยความกระตือรือร้น
หนึ่งในเหยื่อของพวกเซคคิวลาร์หัวรุนแรงในสาธารณรัฐตุรกีที่เพิ่งตั้งไข่ คือ ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ ซึ่งถูกประหารชีวิตในปี 1926 เนื่องจากการต่อต้านอำนาจของมุสตอฟากามาล อะตาเติร์ก
ใครคือ ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ ? และทำไมจึงถูกประหารชีวิต?
มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีสมัยใหม่ เป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญที่สุดในสงครามประกาศอิสรภาพที่ปลดปล่อยอนาโตเลียและเมืองหลวง อิสตันบูล จากกองกำลังพันธมิตรหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความพยายามของเขาในการปลดปล่อยชาติจากการยึดครองประสบความสำเร็จในไม่ช้า จากนั้นเขาก็ก่อตั้ง “รัฐสภา” ของสมัชชาแห่งชาติในอังการา จากนั้นเขาและสหายชาตินิยมของเขาได้ดำเนินการกำจัดมรดกออตโตมันทั้งหมด
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1923 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประกาศเป็นสาธารณรัฐ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ได้อธิบายแนวคิดของเขาแก่มอริซ เบอร์นาอด นักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ให้การสนับสนุน โดยกล่าวว่า “ฝรั่งเศสเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการต่อสู้เพื่อเสรีภาพทั่วโลก” โดยเน้นว่า “ชาวตุรกี พวกชาตินิยมไม่ใช่ พวกเขาเกลียดชังชาวต่างชาติ แต่พวกเขาเป็นเพื่อนของชาติอารยะ และพวกเขาอิจฉาในอิสรภาพของพวกเขา และตลอดประวัติศาสตร์ พวกเติร์กได้ย้ายข้างจากตะวันออกไปตะวันตก  และรัฐบาลสมัยใหม่หมายถึงรัฐบาลตะวันตก”
การวางแนวของอตาเติร์กไปทางตะวันตกในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ทางอุดมการณ์อย่างลึกซึ้งกับนักวิชาการอิสลามของจักรวรรดิออตโตมันซึ่งพบได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาโตเลีย จากการฟังนโยบายของฝ่ายปฏิวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกามาล อะตาเติร์ก คนเหล่านี้ตระหนักได้ทันทีว่า การโค่นรัฐคอลีฟะฮ์ออตโตมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายนี้
หนึ่งในคนเหล่านั้นคือชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ (1875-1926) ชาวอะนาโตเลียจากชนชั้นทางสังคมอนุรักษ์นิยม เขาเกิดในหมู่บ้าน Tobkhane ในเขต İskilip ในจังหวัด Çorum ในภาคเหนือของตุรกี และความรักในวิชาการ ทำให้เขามุ่งสู่อิสตันบูลในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่สิบเก้าเพื่อการศึกษากับนักวิชาการอาวุโส และมีส่วนร่วมในการสอนศาสนาที่มัสยิดสุลต่านเมห์เม็ดอัลฟาเตห์  ก่อนที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งทางศาสนา  รวมทั้งตำแหน่งในสภานักวิชาการอิสลามอาวุโส  ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ มองเห็นข้อบกพร่องในระบบโรงเรียนและครูสอนศาสนา ดังนั้นเขาจึงส่งรายงานโดยละเอียดไปยังชัยค์มุฮัมมัด จามาลุดดีน  (1848-1917) ชัยคุลอิสลาม และมุฟตีย์ใหญ่แห่งสุลต่านในขณะนั้น  อธิบายการปฏิรูประบบการศึกษาศาสนาที่จำเป็น และเนื่องจากรายงานนี้เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของชีคบางคน จึงมีการร้องเรียนหลายครั้งต่อเขา เขาจึงถูกย้ายจากอิสตันบูลไปยังโบดรัมแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
หลังจากนั้นไม่นาน ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ ก็กลับมายังอิสตันบูลเพื่อร่วมกับนักวิชาการอิสลามสายปฏิรูปและชีคๆ จำนวนหนึ่งในตอนท้ายของยุคออตโตมัน ก่อตั้งสมาคมริฟอัตอิสลาม Association Refaat al-Islam (Teâlî-i İslâm Cemiyeti ) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1919 ประธานคนแรกของสมาคมคือ ชัยค์มุสตอฟา ซ๊อบรี  ซึ่งในอีกไม่กี่วันต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชัยคุลอิสลาม (มุฟตีแห่งสุลต่าน)  ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมอย่างเป็นเอกฉันท์
เป้าหมายของสมาคมซึ่งกำหนดขึ้นก่อนการมาถึงของ ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์  ในตำแหน่งประธาน คือการทำงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูศิลปวิทยา การพัฒนา และการปฏิรูปจักรวรรดิออตโตมันในด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม ศาสนา การเมืองและการทหาร
การก่อตั้งสมาคมฯ เป็นความพยายามอย่างจริงจังของบรรดาชัยค์และปราชญ์แห่งออตโตมันที่จะฟื้นฟูออตโตมันตามวิสัยทัศน์ของนักวิชาการเหล่านี้และแนวความคิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาอิสลาม ที่กำลังกลับคืนความแข็งแกร่งของออตโตมันและกลุ่มประเทศอาหรับ หลังจากการพ่ายแพ้อย่างหนักและอัปยศอดสูในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ตามมาและการประกาศของสาธารณรัฐในปี 1923 และก่อนหน้านั้น มีการยุบสมาคมริฟอัตอิสลาม  รวมถึงสมาคมและองค์กรทางศาสนาอื่นๆ ในปี 1922 จากนั้นจึงมีการล้มล้างคอลีฟะฮ์ออตโตมันในปี 1923 และการที่อตาเติร์กและสหายของเขาหันไปสู่ ​​“ความเป็นตะวันตก” อย่างสมบูรณ์ และการออกกฎหมายยุคที่เรียกว่า “ตันซิมาตของอตาเติร์ก” ซึ่งได้กำหนดให้มีการห้ามมีโรงเรียนสอนศาสนา การยกเลิกศาลชารีอะห์  ภาษาอาหรับ  การใช้อักษรละติน  การห้ามสวมผ้าโพกศีรษะและหมวกเฟซ และสวมหมวกยุโรปแทน และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าและอารยธรรม
ด้วยเหตุนี้ ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์  จึงเขียนบทความเด่นในปี 1924 เรื่อง “The Hat and the Tradition of the Franks” (Frenk Mukallidliği ve Şapka) ซึ่งเขาประกาศปฏิเสธที่จะสวมหมวกยุโรป และการเปลี่ยนจากการสวมผ้าโพกศีรษะและหมวกเฟส เนื่องจากเป็นการเลียนแบบอย่างคนตาบอดต่อแนวทางของตะวันตก อตาเติร์กและคณะฯ เข้าใจถึงความสำคัญของข้อความนี้ เนื่องจากผ้าโพกศีรษะและหมวกเฟซไม่ได้เป็นอะไรนอกจากสัญลักษณ์ของการต่อสู้ระหว่างพวกฆราวาสใหม่และชีคแห่งอิสลาม ดังนั้นพวกเขาจึงถือว่าผู้ที่ปฏิเสธที่จะสวมหมวกยุโรปเป็นพวกเพิกเฉยและล้าหลังทางอารยธรรม .
อย่างไรก็ตาม ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ ฉลาดและมีวุฒิภาวะ เมื่อเขาได้เน้นย้ำว่า ไม่ได้ต่อต้านการเลียนแบบตะวันตกอย่างสมบูรณ์ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ โดยกล่าวว่า:
“ไม่มีข้อห้ามหรือข้อห้ามทั่วไปในการเลียนแบบนวัตกรรม หรือนวัตกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะคิดค้นโดยมุสลิมหรือต่างศาสนิกและอื่น ๆ และบางครั้งการเหมือนเป็นเรื่องจำเป็น เช่น การนอนหลับ การกิน การดื่มและอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องปกติวิสัยและมีการอนุญาต  รวมถึงการเลียนแบบในเรื่องทางโลก เช่น ในเรื่องเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมในการผลิตอาวุธ และเครื่องมือในการทำสงคราม แม้กระทั่งในครัวและเตียงนอน 
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ และผู้สนับสนุน กำหนดขอบเขตระหว่างการเลียนแบบที่ศาสนายอมรับ กับการสลายอัตลักษณ์และอารยธรรมเฉพาะ เนื่องจากมุมมองดังกล่าวของชัยค์ การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในการสนับสนุนผ้าโพกหัวและหมวกเฟส ได้แพร่กระจายในพื้นที่ท้องถิ่นและชนบทของอนาโตเลีย และการคัดค้านในไม่ช้าก็กลายเป็นสัญญาณของการปฏิวัติทางสังคม ซึ่งทำให้กลุ่มกามาลิสต์ กังวลและตัดสินใจที่จะยุติมันด้วยการจัดการที่เข้มงวด
การละเมิด “กฎหมายหมวก” ของอะตาเติร์ก ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ และชัยค์อาลี ริฎอ มุฟตีย์เขต Baba Eski แห่งจังหวัด “Kirlareli” ในตุรกีตะวันตก  และท่านอื่น ๆ ที่ต่อต้านการสวมหมวกยุโรปและเลียนแบบตะวันตก  ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1925  ศาลอิสรภาพในอังการา ได้ส่งพวกเขาไปยังเมืองกิเรซุน ทางเหนือของตุรกี เพื่อให้การพิจารณาคดีได้ดำเนินไปอย่างเร่งด่วน
ทั้งๆที่ตามกฎหมายว่าด้วยหมวกซึ่งออกก่อนเริ่มการพิจารณาคดีครึ่งปีก่อนเริ่มการพิจารณาคดีนี้  ที่ชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ และชัยค์อาลี ริฎอ มีโทษสูงสุดที่จำคุก 3 ปี  แต่มีคำสั่งสูงสุดมาจากกลุ่มเคมาลิสต์ พวกเขาจึงถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ  พวกเขาถูกประหารชีวิตใกล้กับรัฐสภาเก่าในเมืองหลวง อังการา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1926
การประหารชัยค์มุฮัมมัดอาติฟ อัสกิลลีย์ เป็นหนึ่งในสัญญาณเริ่มต้นของลัทธิหัวรุนแรงและลัทธิเผด็จการของอะตาเติร์ก และความโหดร้ายต่อคู่แข่ง แม้ว่าฝ่ายค้านของพวกเขาจะมีความผิดเพียงแค่การต่อต้านการสวมหมวกยุโรปก็ตาม

Mail สำหรับ iPhone

รูปภาพในข้อความ

รูปภาพในข้อความ

 12,116 total views,  4 views today

You may have missed