พฤษภาคม 16, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ดิจิตอลรัฐ:ไม่ใช่มาไล่จับประชาชนกับสื่อมวลชนและชัยชนะของสื่อเมื่อศาลแพ่งห้ามนายกรัฐมนตรี อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์

แชร์เลย

(อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในขณะส่วนกลางของประเทศไทยอย่างกรุงเทพมหานครนั้นมีการต่อสู้เรียกร้องให้รัฐบาล ใช้ กม.คุมสื่อ-ภาคประชาสังคม และไล่จับดาราที่Call out แทนที่จะทำสงครามโควิดประชาชน โดยให้กระทรวงICT ไล่จับไล่ฟ้องนั้น เครื่อข่ายประชาสังคม/องค์เอกชนภาคใต้ก็ร่วมจัดเวทีออกแถลงการณ์ เมื่อ 28 กรกฎาคมผ่าน The Reporter “ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลทำอย่างนี้ “ รวมทั้งมองว่า ดิจิตอลสามารถหนุนเสริมแก้ปัญหาโควิด โดยเฉพาะไปติดอาวุธชาวบ้านในการทำธุรกิจ ระบายสินค้าเกษตร ติดอาวุธนักเรียน นักศึกษา ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาเพื่อลดความเลื่อมลำ้ทั้งเศรษฐกิจและการศึกษาที่นับวันยิ่งห่างขึ้นนี่แหละคือหน้าทีหลักของกระทรวงICT ไม่ใช่มาไล่จับประชาชนกับสื่อมวลชนเพราะความมั่นคงของรัฐ# (ไม่เท่ากับ)ความมั่นคงของรัฐบาลแต่ความมั่นคงของรัฐ=(เท่ากับ)ความมั่นคงของประชาชน เมื่อประชาชนมั่นคง รัฐบาลก็จะมั่นคงตามมา
ล่าสุดถือเป็นชัยชนะของสื่อ เมื่อเวลา 13.40 น.วันที่ 6 ส.ค.64 ศาลแพ่ง มีคำสั่ง ห้ามนายกรัฐมนตรี บังคับใช้ ข้อกำหนดที่ 29 พ.รก.ฉุกเฉินฯ เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยเห็นว่าข้อกำหนดที่ 1 กรณีการ “โพสต์ข้อความที่ทำให้หวาดกลัว” มีความคลุมเคลือ ไม่มีมาตรการที่ชัดเจน อันอาจทำให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของระชาชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และข้อ 2 ศาลเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการบังคับใช้อินเตอร์เน็ต
คำสั่งศาลแพ่งครั้งนี้เป็นผลมากจากคำแถลงของสื่อมวลชนนำโดยฐปณีย์ เอียดศรีชัย(แยม)และคณะต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอน ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ให้อำนาจ กสทช. ‘ตัดเน็ต’ ผู้โพสต์ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ซึ่งเป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ ไม่มีความจำเป็น ไม่ได้สัดส่วน และขัดต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้ง สำนักข่าว The Reporters ให้ทัศนะต่อการออกมาครั้งนี้ของตนและเพื่อนสื่อมวลชนว่า “เรากำลังทำหน้าที่ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่มิอาจละเลยต่อความตายของเพื่อนมนุษย์”
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ให้ทัศนะอีกว่า
“ดิฉันจึงคิดว่า ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่นอกจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว ยังละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งหัวใจความเป็นมนุษย์ เพราะการที่ประชาชนส่งเสียง ร้องขอความช่วยเหลือ ร้องขอชีวิต จากความตายที่มาจากการไม่ได้เข้ารับการรักษา เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่มุ่งหวังเพียงเพื่อช่วยกันรักษาชีวิตของเพื่อนมนุษย์เท่านั้น และปฏิเสธไม่ได้ว่า การส่งเสียงเหล่านี้มาจากความหวาดกลัวจากโรคระบาดนั้น นอกจากนี้หากรัฐใช้กฎหมายมาปิดกั้นการนำเสนอข่าว หรือการพูดข้อเท็จจริงเหล่านี้ ก็ถือเป็นการปิดกั้นการเข้าถึงการช่วยเหลือ การเข้าถึงการรักษา การเข้าถึงความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน อันจะยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และเป็นอันตรายต่อชีวิต รัฐสามารถใช้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อจัดการกับข่าวปลอม หรือ Fake News ได้ รัฐสามารถใช้การสื่อสารของรัฐที่มีอยู่ในการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ในการให้ความรู้กับประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน รัฐสามารถใช้อำนาจรัฐในการเปิดช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึงการส่งข้อมูลถึงรัฐโดยตรง รัฐสามารถให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้มากกว่านี้ ไม่ใช่การมาปิดกันช่องทางให้ประชาชนได้ร้องขอชีวิต ด้วยการออกข้อกำหนดที่ยิ่งสร้างความกลัวในสังคมเช่นนี้”
#เป็นกำลังใจแยมอีกครั้งซึ่งก่อนหน้านี้ 23 มีนาคม 2564 แยมเคยถูกคุกคามแล้ว
(อ่านเพิ่มเติมใน

https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225592425977901/?d=n)
#Save แยม
#Save สื่อ
#Save ความมั่นคงของมนุษย์
หมายเหตุ อ้างอิงจากน.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
ผู้ก่อตั้ง สำนักข่าว The Reporters

 13,075 total views,  2 views today

You may have missed