พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#เป็นกำลังใจ “หน่อย พรเพ็ญ “ อีกครั้งหลังจากเคยถูกฟ้อง ที่ชายแดนใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


#สืบเนื่องจากการที่นางสาวพรเพ็ญ (หน่อย) คงขจรเกียรติ และเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายรณรงค์เชิงนโยบาย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้รับหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาว่า ร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและ พ.ร.บ.จราจรทางบก จากการไปร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม ‘คืน-ยุติธรรม’ เพื่อรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหาย เนื่องในวาระครบ 1 ปี 1 เดือนการหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และร่วมเสวนากับญาติและบุคคลใกล้ชิดกับผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหาย เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 64 บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ซึ่งจัดโดยกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ซึ่งผู้เขียนขอเป็นกำลังใจ ให้ทุกท่านโดยเฉพาะ หน่อย พรเพ็ญ “ อีกครั้งหลังจากเคยฟ้อง ที่ชายแดนใต้
#หน่อย พรเพ็ญ เคยถูกฟ้อง ที่ชายแดนใต้ปี 2559
น.ส.พรเพ็ญ (หน่อย) คงขจรเกียรติเคยถูกฟ้อง ที่ชายแดนใต้ปี 2559 ร่วมกับนายสมชาย หอมละออ และ น.ส.อัญชนา หีมมินะ ซึ่งเป็นนักสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นผู้เผยแพร่รายงาน “สถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557 – 2558”
สำหรับการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีครั้งนี้นั้นกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าเป็นผู้ฟ้องแต่สุดท้ายกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ก็ขอยกฟ้องให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักสิทธิมนุษยชนดังกล่าวฐานหมิ่นประมาท

กล่าวคือ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 ที่โรงแรมสุโกศล พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ส่วนหน้า พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (รองผอ.รมน.ภาค 4 สน.) พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.)ในฐานะผู้แทนรัฐบาล ประชุมร่วมกับนายสมชาย หอมละออ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมินะ ซึ่งเป็นนักสิทธิมนุษยชน ผู้เผยแพร่รายงาน “สถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557 – 2558” และถูกฟ้องร้องดำเนินคดีโดยกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ร่วมกันแถลงข่าว เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ และไกล่เกลี่ยให้ยกฟ้องยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักสิทธิมนุษยชนดังกล่าวฐานหมิ่นประมาท
#บทเรียน “องค์กรสิทธิต่างประเทศกับภาคประชาสังคมชายแดนใต้”
การถอนฟ้องครั้งนี้ของรัฐ บทเรียนสำคัญ ส่วนคือ แรงกดดันจากองค์กรสิทธิต่างประเทศต่อรัฐบาลไทยและกำลังใจจากประชาสังคมชายแดนภาคใต้ที่ยืนเคียงข้าง
สำหรับประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ผู้เขียนยังจำภาพ วันที่ 26 ก.ค.2559 หน้าสภ.เมืองปัตตานีได้ดีว่า
“ก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน ของนายสมชาย หอมลออ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ รับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.เมืองปัตตานี กรณี กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทและผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ จากการเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่นั้น
ผู้เขียนและนักกิจกรรมภาคประชาสังคมและผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งได้ไปให้กำลังใจแก่ทั้ง 3 คน “
นายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายมุสลิม จ.ปัตตานี ทนายของนักสิทธิมนุษยชนทั้ง 3 คน เปิดเผยภายหลังเข้าพบพนักงานสอบสวนว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 คน ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและหลังจากนี้จะทำให้คำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรส่งให้พนักงานสอบสวนเพิ่มเติม

ขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการดำเนินคดีนักสิทธิมนุษยชนทั้งสาม
ซาลิล เช็ตตี้ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า ในช่วงเวลาที่รัฐบาลไทยสัญญาจะประกาศใช้กฎหมายต่อต้านการทรมาน แต่นับเป็นความขัดแย้งที่พวกเขากลับคุกคามนักกิจกรรมที่พยายามเปิดโปงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

“ข้อกล่าวหาต่อบุคคลทั้งสามเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของการข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยที่จะต้องคุ้มครองสิทธิของพวกเขา” แถลงการณ์แอมเนสตี้ฯ ระบุ

ด้านนายคิงสลีย์ แอ๊บบอต จาก International Commission of Jurists เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีกับบุคคลที่ทำงานเพื่อต่อต้านการซ้อมทรมาน เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตั้งใจจริงในการขจัดการซ้อมทรมานในประเทศไทย
#ประวัติโดยสังเขป
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นนักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานตรวจสอบข้อร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งประเด็นการทรมาน การบังคับสูญบุคคลให้สูญหาย การใช้ความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ และยังเคยเป็นอดีตประธานของแอมเนสตี้ ประเทศไทยด้วย
(สามารถอ่านเพิ่มเติมบทบาทท่านใน https://www.amnesty.or.th/latest/blog/836/)

หมายเหตุ
นายสมชายเป็นอดีตประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและเป็นนักสิทธิมนุษยชนอาวุโสที่ทำงานมายาวนาน น.ส.พรเพ็ญเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ส่วน น.ส.อัญชนา ประกอบกิจการส่วนตัวควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในนามของ “กลุ่มด้วยใจ” ที่เธอก่อตั้งขึ้น ซึ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังในคดีความมั่นคง
อ้างอิงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_487409 และ  https://news.thaipbs.or.th/content/254349

 8,844 total views,  4 views today

You may have missed