อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(9 มิถุนายน 2564) นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ประชาธิปัตย์จากปัตตานี เขียนเฟสบุ๊กส่วนตัว เสนอ “แก้รัฐธรรมนูญแล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่”
“
โดยท่านกล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ผมเคยเสนอให้แก้ไขปัญหาทางการเมืองไปตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย โดยขอให้พรรคประชาธิปัตย์ถอนตัวออกจารัฐบาล เพื่อเปิดโอกาสให้นายกฯจัดตั้งรัฐบาลใหม่
.
และกลไกสุดท้ายคือการยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน และสิ่งที่ผมได้เรียกร้องมาตลอด ผมขอย้ำว่าผมทำเพื่อพรรค และประเทศชาติจริงๆ
.
ส่วนกรณีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย ได้อภิปรายโจมตีการจัดทำงบฯที่ไม่ตอบโจทย์และตำหนิไปยังหัวหน้ารัฐบาล โดยอ้างมติพรรคนั้น ผมเองก็เป็นผู้อภิปรายและเป็นอีกหนึ่งคนที่ยกมือโหวตสนับสนุน เพราะ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีมีความสำคัญ
.
เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้บริหารประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติโรคระบาดนี้ ผมยกมือหนุนเพราะเหตุผลนี้ ไม่ใช่เพราะพรรคมีมติบังคับแต่อย่างใด
.
ซึ่งผมได้เคยพิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่า ระหว่าง ’มติพรรค’ หากสวนทางกับ ‘มติประชาชน’ ผมขอเลือกมติของประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้ที่เลือกผมเข้ามาในสภาฯ เพื่อมาทำหน้าที่ให้พี่น้องประชาชนทุกคน
.
ซึ่งผมเป็นคนมีหลักการ เคยแสดงให้เห็นแล้วกรณีการอภิปรายท่านนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.ที่ถูกชี้ว่าคดีมีมูล แต่ศาลยังไม่ตัดสิน ผมก็ยกมือไว้วางใจให้ในสภาฯ ทั้งที่ในพรรคทราบกันดีว่า ท่านไม่ชอบผม และกีดกันไม่ให้ ผมลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ผลของการยึดหลักการครั้งนั้น ก็ทำให้ท่านนิพนธ์เริ่มเข้าใจและมองผมในแง่ดีขึ้น “
#ข้อเสนอดีแต่เป็นไปไม่ได้เพราะ อดีต เชิงประจักษ์ ของประชาธิปัตย์ไม่เอาด้วย
ในอดีตเชิงประจักษ์ ส.ส.อันวาร์ มิเพียงแค่แสดงความเห็น ค้านกับผู้ใหญ่พรรคหากแต่เขายังโหวตสวนมติพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อครั้งศึกซักฟอกหนที่แล้ว โดย “งดออกเสียง” ให้รัฐมนตรี 9 คน รวมถึงจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ แต่“ไว้วางใจ” นิพนธ์ บุญญามณี เพียงคนเดียว
หลังจากนั้น อันวาร์ สาและ ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทั่วประเทศ เสนอขอให้พรรค ปชป.ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ไม่พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรีและ ส.ส.
วันที่ 8 พ.ค.2564 ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรค ปชป. ได้ออกมาชี้แจงว่า กรณีที่พรรคเข้าร่วมรัฐบาล โดยยื่นเงื่อนไข 3 ข้อในการร่วมรัฐบาล อีกทั้งการเข้าร่วมรัฐบาลไม่ได้มีการพิจารณาโดยคนเดียว แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับพรรคที่ระบุว่า ต้องให้ที่ประชุม ส.ส.กับคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมกันหารือและลงมติว่าพรรคจะร่วมรัฐบาล ซึ่งรวมถึงการพิจารณาว่าควรจะถอนตัวจากรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งเป็นกระบวนการประชาธิปไตยของพรรค
“ราเมศ” กล่าวว่า รัฐมนตรีของพรรคที่ไปร่วมรัฐบาล ประสบความสำเร็จในการพรรคผลักดันนโยบายต่างๆ ในทุกกระทรวง จึงไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล สิ่งสำคัญในช่วงนี้ ทุกฝ่ายและพรรคการเมืองต้องมุ่งเน้นเรื่องการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ในการช่วยเหลือประชาชน และทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน ไม่มีฝ่ายค้านและรัฐบาล
คนภายนอกพรรค ก็มีมุมมองต่ออันวาร์แตกต่างกันไป บ้างก็บอกว่า เขาคือ ขบถ ปชป. แต่อีกฝ่ายก็ชี้ว่า เขาเป็นแกะดำ (อ้างอิงจาก https://www.komchadluek.net/news/scoop/466180)
กล่าวโดยสรุปข้อเสนอส.ส.อันวาร์
“ถ้าได้ก็ดี แต่พรรคเอาหรือเปล่า เมื่อประยุทธ์ไม่ยอม”
ที่สำคัญเชิงประจักษ์ดูtimeline แก้รัฐธรรมนูญของประชาธิปัตย์ก่อนและหลังร่วมรัฐบาลประยุทธ์ คือลิเกการเมืองดีๆนั่นเอง(ดูเพิ่มเติมใน https://workpointtoday.com/explainer-constitution/)
11,078 total views, 6 views today
More Stories
“ชาดา” ลงพื้นที่นราฯ ชมวิสาหกิจชุมชนแฮนอินแฮนด์รือเสาะ สร้างงานสร้างคุณภาพชีวิต 200 ครอบครัว
โฆษกพรรคประชาชาติ ยัน พรรคผลักดัน พ.ร.บ.สันติภาพ ตลอดจนการอำนวยความยุติธรรมดับไฟใต้ รัฐบาลอาจต้องมีปรับคณะพูดคุยสันติสุขใหม่ พร้อมขอโอกาสพรรคทำหน้าที่เพื่อประชาชน
พรรคประชาชาติ พบปะพี่น้องชุมชนหลังโรงเรียนจีนยะลา เปิดออฟชั่นพรรคฯมากกว่าพหุวัฒนธรรม