พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ส่องการทำหน้าที่ ส.ส.รัฐบาลชายแดนใต้ในเวทีพิจารณางบประมาณ

แชร์เลย


อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) เรียบเรียง

Shukur2003@yahoo.co.uk,

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ตามคาด เมื่อสภา ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้วยคะแนน 268 ต่อ 201 งดออกเสียง 2 ไม่มีผู้ไม่ลงคะแนน พร้อม เสนอตั้งกมธ.วิสามัญ 72 คน

โดยวันที่ 2 มิ.ย. เมื่อเวลา 23.44 น.ที่ผ่านมา ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ส.ส.ลงมติในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วาระรับหลักการ ทั้งนี้ มีผู้แสดงตนในที่ประชุม 471 คน จากจำนวน ส.ส. 500 คน ถือว่าครบองค์ประชุม โดยมีผู้รับหลักการ 268 คะแนน ไม่รับหลักการ 201 คะแนน งดออกเสียง 2 และไม่มีผู้ไม่ลงคะแนน
ทั้งๆที่ส.ส.รัฐบาลบางท่าน(บางท่านเป็นมุสลิม)อภิปรายติติงงบประมาณครั้งนี้ตามที่สื่อรายงานแต่กลับโหวตรับร่างให้ผ่านเรียกว่า
“พฤติกรรมพูดอย่างทำอย่าง​ อภิปรายว่าไม่ดี​ แต่พอยกมือกลับให้ผ่าน
เป็นความหน้าไหว้หลังหลอกที่น่ารังเกียจดังอัลกุรอานได้กล่าวไว้
“لم تقولون ما لا تفعلون
(ข้อสังเกตของอิหม่ามดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ อิหม่ามมัสยิดบ้านเหนือ จังหวัดสงขลา)
สำหรับ ส.ส.รัฐบาลชายแดนใต้ในเวทีพิจารณางบประมาณแม้ลึกไปจะไม่พอใจโดยเฉพาะการให้ความสำคัญความมั่นคงมากกว่าการพัฒนาและแก้ปัญหาโควิดซึ่งรายละเอียดแต่ละคน

ดังนี้
คนที่หนึ่ง: นายอันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์
” ขอ รัฐบาลช่วยเหลือพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอวัคซีนเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ชีวิตตามปกติสามารถทำงานประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้”

2 มิ.ย.64 นายอันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 โดยระบุว่า สิ่งที่ตนจะพูดเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ ที่ผ่านมารัฐบาลประกาศว่า ในกรณีของวัคซีนยังไงเราก็มีพอ และก็มีมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย ทำให้พี่น้องประชาชนมีความเชื่อว่าไม่มีปัญหา แต่จากการระบาดของโควิด19 ในรอบที่ 3 ทำให้เกิดตื่นตัวกันไปหมด พร้อมกับมีการวิพากษ์วิจารณ์ทำให้เกิดผลกระทบขึ้นมา

สำหรับพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนวันนี้เดือดร้อนมาก เดิมเรามีปัญหาในเรื่องความไม่สงบอยู่แล้ว พอมีในภาวะวิกฤตตอนนี้บนพื้นฐานของการไม่มีงานไม่มีเงิน แล้วก็ทำมาหากินไม่ได้ก็ยังต้องระวังในปัญหาที่เป็นอยู่ ส่วนตัวได้ดูในแผนงบประมาณที่จัดสรรลงไปในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปีนี้ก็ยังเป็นเหมือนเช่นทุกปีคือได้รับการจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ 31,000 กว่าล้านบาท รวมทั้งงบบูรณาการ รวมทั้งเงินที่บริหารจัดการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อตอนได้เห็นการจัดสรรงบประมาณดังนี้ส่วนตัวจึงมีความเห็นว่าจะต้องเสนอให้รัฐบาลทบทวนแก้ไขในส่วนนี้

ตนจึงได้พูดกับพี่น้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าขอให้อดทน ต้องเสียสละเราจะต้องแก้ปัญหาเรื่องของโรคระบาดในพื้นที่ที่รุนแรงเพื่อไม่ให้กระจายไประบาดที่อื่นคนจังหวัดถ้ารอได้ ขอให้อดทนอีกนิดนึง ในฐานะที่เป็นตัวแทนคนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังจะรักษาสิทธิ์และจะเรียกร้องสิทธิ์นั้นให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้แน่นอน แต่ว่าขอให้การแก้ปัญหาของรัฐบาลในช่วงที่วิกฤตตรงนี้ผ่านพ้นไปแล้ววันหนึ่งเราก็จะได้วัคซีน ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้ทางรัฐบาลก็ต้องคำนึงว่าความเป็นอยู่รวมถึงคุณลักษณะอย่าง เช่น ศาสนาอิสลามที่นับถืออยู่นั้นมีการละหมาดถึงวันละ 5 เวลา ซึ่งต้องมีการพบปะ สมมติว่าระยะเวลาตรงนี้เราลากไปพอสมควรเขาอาจจะรู้สึกสบายใจ จนเผลอลืมเรื่องของการป้องกันไปและมีการละหมาดร่วมกัน วันละ 5 เวลา หากพิจารณาทบทวนดี ๆ ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือพื้นที่ที่นับถือศาสนาอิสลามมีมัสยิดกี่ร้อยแห่ง

ดังนั้นจึงอยากจะเรียกร้องให้ทางรัฐบาลหลังจากที่ดูแลในพื้นที่ที่วิกฤตแล้ว ขอลำดับต่อไปช่วยพิจารณาในเรื่องของพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพราะว่าในวันนี้ที่นั่นลำบากมาก ทั้งเรื่องของเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ ซึ่งคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ต้องการขอเงินแต่พวกเขาขอโอกาสที่จะได้มีงานทำ ซึ่งที่ผ่านมาส่วนตัวยอมรับและนับถือใจของคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะพวกเขายังเคารพ ในกฎกติกาของบ้านเมืองและใช้วิธีเรียกร้องผ่านตัวแทนของพวกเขาซึ่งตนในฐานะตัวแทน ก็จะทำหน้าที่เรียกร้องสิทธิที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรได้รับให้สมกับที่ตนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลช่วยพิจารณาช่วยเหลือพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย(ดูคลิปเพิ่มเติมใน
https://fb.watch/5U9DVpePrr/)
คนที่สอง: พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา (เขต 8)พรรคประชาธิปัตย์
“ขอ นายกรัฐมนตรีจัดงบประมาณกลางลงช่วยเหลือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมขอให้ช่วยจัดการเรื่องคำสั่ง คสช.เหตุซ้ำซ้อน ศอ.บต.ทำให้การบริหารจัดการในพื้นที่ทำได้ลำบาก”

2 มิ.ย.64 พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 โดยระบุว่า ส่วนตัวมีเรื่องที่ไม่สบายใจในเรื่องของงบประมาณโดยเฉพาะงบประมาณของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะที่ปัญหาสะสมมากขึ้นแต่งบประมาณถูกตัดไปอย่างน่าเกลียด ปัญหาปัญหาร้อยปีของจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่ยุติเพราะว่าความเหลื่อมล้ำ การจัดงบประมาณในครั้งนี้ถือว่าน่าเสียใจมาก ตัดไปจาก 1,500 ล้านบาทเหลือ 1,100 ล้านบาท ส่วนที่ถูกตัดไปหากนำมาเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วคิดว่าประมาณ 30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีในหน่วยงานไหนถูกตัดมากอย่างนี้ แล้วงบประมาณที่ถูกตัดไปเป็นที่สำคัญมาก

จึงอยากฝากไปยังคณะทำงานว่า หากยังเป็นเช่นนี้ปัญหาไม่มีทางยุติ ใช้วิธีการอย่างนี้โดยไม่คำนึงถึงความสำคัญต่างๆ ปัญหาภาคใต้จะไม่ยุติเลยและอีกเรื่องนึงที่สำคัญที่สุด คำสั่งของคสช.ที่มีมาก่อนคำสั่ง คสช.ที่ 97 2557 และก็คำสั่งมีอยู่ 3 – 4 คำสั่งที่เป็นอำนาจของประธาน คสช. แต่เมื่อไม่มี คสช. แล้วก็เป็นสุญญากาศสั่งการอะไรไม่ได้เลย ตนจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆตามที่มีการออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 98 2553 ลง 21 กรกฎาคม 2557 ตามด้วยคำสั่ง คสช. ที่ 14/4 2557 สั่ง ณ วันที่ 4 เมษายน 2559 และคำสั่ง คสช.ที่ 57 2559 สั่งณวันที่ 14 กันยายน 2559 ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและขัดกันระหว่างตัวบทกฎหมายหลักคือ พรบ. ศอ.บต. พ.ศ. 2553 ต่อการบริหารราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และกระทบถึงหน้าที่ของ ศอ.บต. โดยเฉพาะปัญหาอุปสรรคสำคัญในส่วนของการกำหนดนโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งได้ยุติบทบาทของและเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ เมื่อไม่มีผู้พิจารณาอนุมัติตรงนี้ก็เป็นสุญญากาศ การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วย มิติด้านการพัฒนาของศอ.บต. จะต้องเสนอแผนงานโครงการกิจกรรมให้ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า

ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลมิติด้านความมั่นคงเป็นฝ่ายพิจารณา รวมทั้งจำกัดรวมทั้งกำกับดูแลกันกว่าจะให้ไปตามความต้องการ ตามสั่งการ ในการนี้จึงเห็นสมควรยกเลิกเกี่ยวกับประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3 ฉบับโดยเร็วที่สุด ได้แก่ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 98 /2557 ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 14/2557 สั่ง ณ วันที่ 4 เมษายน 2559 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 57/2559 สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน 2559

ทั้งนี้เพื่อปลดล็อคการทำงานทั้งปวงในทางที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้บังคับอำนาจตามพรบ.ศ.อบต. 2553 เพื่อประโยชน์ของการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเร็วอันจะเป็นเครื่องมือของการของรัฐบาลในการเร่งรัดสร้างสันติสุขที่แท้จริงเป็นรูปธรรมในระยะที่มีการตั้งรัฐบาล ตามปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้อย่างนี้ หากให้ความสนใจก็สามารถสั่งการได้เลยโดยไม่เกี่ยวกับงบประมาณ เพียงแต่สนใจตอนนี้มันเป็นสูญญากาศ คณะ คสช.ได้ยุติบทบาท พลเอกประยุทธ์ ประกาศยุติบทบาทตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ไปแล้ว ตอนนี้จึงอยากฝากถึงนายกรัฐมนตรีว่าให้มาดูแลในเรื่องนี้ด้วย

2. งบประมาณในการดูแล จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากยังเป็นแบบนี้ ความสงบก็เกิดขึ้นไม่ได้ ควรเปลี่ยนให้เป็นการใช้ประมาณกลาง

อีกเรื่องที่อยากฝากถึงนายกรัฐมนตรี คือเรื่องความไม่โปร่งใส เพราะดูแล้วว่าไม่ค่อยมีความโปร่งใสของกรมอาชีวศึกษา โดย ผอ. อาชีวศึกษาซึ่งแปลงงบประมาณ จากงบประมาณที่เป็นปกติก็มีการแปลงงบประมาณเป็น 500,000 ทุกโครงการเลย ก็เลยอยากจะส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ไปดูแลว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะ 5 แสนบาทมันต้องประมูลและสั่งการได้เลยเกี่ยวกับการศึกษาทางออนไลน์(ฟังคลิปย้อนหลังใน https://fb.watch/5U9Mr5qAF8/)
คนที่สาม: พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
“ขอสิทธิกำหนดชะตากรรมของเรา ในบ้านของเรา เพราะไม่มีใครรักบ้านเรา รู้จักบ้านเรา ดีเท่ากับคนของเราเอง”
2 มิถุนายน 2564 พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย อภิปรายต่อสภาฯ ถ้าตัดงบจากหอคอยงาช้าง โดยไม่เคยลงพื้นที่ ขวัญกำลังใจของนักรบชุดขาวคงไม่เหลือ วอนให้ช่วยกระจายอำนาจ เพราะไม่มีใครรักพื้นที่ รู้จักพื้นที่ มากเท่ากับคนในพื้นที่
(ฟังคลิปย้อนหลังใน https://fb.watch/5TZ_nmTG2l/)
คนที่สี่: นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา (เขต 7)พรรคภูมิใจไทย
” ถาม! สำนักงบประมาณ สำนักยุทธศาสตร์ฯ (ป.ย.ป.) และสภาพัฒน์ จะรับผิดชอบอย่างไร หากประเมินงบประมาณปี 2565 ผิดพลาด”

(ฟังคลิปย้อนหลังใน https://www.facebook.com/100014934519169/posts/1122342248273582/?d=n)
คนที่ห้า: ส.ส. อาดิ​ลัน​ อาลี​อิ​ส​เ​ฮา​ะ​ ส.ส.เขต 1 จังหวัดยะลา
“แนะนำการจัดสรรงบประมาณการหนุนกระบวนการยุติธรรมและการศึกษา”
วันที่ 1 มิถุนายน​ 2564
ส.ส. อาดิ​ลัน​ อาลี​อิ​ส​เ​ฮา​ะ​ ส.ส.เขต 1 จังหวัดยะลา ได้อภิปรายร่างพระราชบัญญัติ​งบประมาณ​รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ. 2565 โดย “แนะนำการจัดสรรงบประมาณการหนุนกระบวนการยุติธรรมเช่นกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือการต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคงและการศึกษาเช่นการเยียวยาบุคลากรทางการศึกษาและญาติที่ได้รับผลกระทบไฟใต้ ครูอิสลามในโรงเรียนของรัฐที่ยังเป็นลูกจ้างรายชั่วโมงและต่อยอดสานต่องบประมาณสนับสนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดแผนการเรียนSMPร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐในพื้นที่กล่าวคือเป็นห้องเรียนพิเศษโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์บูรณาการอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือ Science Mathematics Program:SMP ที่แต่ละโรงเรียน โดยเป็นการบูรณาการความร่วมมือของสำนักงานศึกษาธิการภาค 7 โดยศูนย์พัฒนาอิสลามศึกษา ร่วมกับ สำนักงานการศึกษาเอกชน 5 จังหวัด พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ร่วมกัมหาวิทยาลัยรัฐในพื้นที่ภายใต้ชื่อ โครงการโรงเรียนห้องเรียนพิเศษโปรแกรมวิทยาศาสตร์ ที่บูรณาการอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (SMP)โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนานำไปใช้เป็นกรอบ และทิศทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์โดยตรง ให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เป็นการยกระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ซึ่งได้รับความสนใจจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก “

(ฟังคลิปย้อนหลังใน https://m.youtube.com/watch?v=itEd1c7ftcI&fbclid=IwAR21d5r9WcLAfLUfKwSZEQ7kk-HJ-HzcVALpPEKjDNSB1ezzahbSnnAWVac)

 12,258 total views,  4 views today

You may have missed