เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#งบประมาณชายแดนภาคใต้ในมุมมองนักการเมืองและข้อสังเกต

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) เรียบเรียง

Shukur2003@yahoo.co.uk,

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

สภาผู้แทนราษฎรประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงิน 3,100,000 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. นี้ ไฮไลต์อยู่ที่งบกระทรวงกลาโหมโดยเฉพาะแผนบูรณาการดับไฟใต้สำหรับคนชายแดนใต้โดยมีส.ส.ที่อภิปรายสำคัญๆหลายคนเช่น

คนที่หนึ่ง: พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคและส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ
เมื่อเวลา 12.45 น. วันที่ 31 พ.ค. ที่รัฐสภา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ อภิปรายต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท วาระแรก ว่า

“นายกรัฐมนตรี จัดงบแบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะลดงบของสำนักงานก.พ. ถึง 25.4 เปอร์เซ็นต์ รวมถึง กพร. ถึง 24.5 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงตัดงบกระทรวงแรงงาน 28.7 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับให้งบเพิ่มให้กับ กอ.รมน. ทั้งนี้ การจัดงบประมาณปี 2565 เป็นงบที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ หากจะให้ผ่านต้องรื้อโครงสร้าง เช่น รื้องบใหม่ ได้แก่ ผูกพันใหม่ 1 แสนล้าน งบบูรณาการ 2 แสนล้าน ทั้งนี้ในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ ปีที่ผ่านมา กรรมาธิการ ขอเอกสาร 500 รายการ แต่พบว่า 300 รายการไม่มาให้ ถือว่าหลบซ่อน ตีเช็คเปล่าแล้วไม่ตาม เอกสารที่ขอไม่ให้ ผมคิดว่างบครั้งนี้ไม่เกิดประโยชน์ประชาชน ประชาชนเหลื่อมล้ำ และใจดำที่เพิ่มพูนงบให้พวกพ้อง”(ฟังคลิปย้อนหลังใน


คนที่สอง:นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ
กมลศักดิ์ พรรคประชาชาติ ชี้งบ 600 กว่าล้าน สร้างรั้วกั้น จชต.-มาเลย์ ไม่เข้าใจวิถีชีวิตมลายู นายกฯมีอคติกับพี่น้องชายแดนใต้อย่างร้ายแรง เศร้าใจนำงบซื้ออาวุธ กว่าพันล้าน แทนที่จะนำมาช่วยปชช.โดนผลกระทบโควิด-19
.
1 มิ.ย. 64 นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ อภิปรายในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท
.
นายกมลศักดิ์ กล่าวว่า พรรคประชาชาติต้องการเห็นความเป็นธรรม ให้จชต.มีความสงบสุข แต่ข้อมูลที่มี งบลงพื้นที่ในจชต.มีมาก แต่ประชานยากจนลงขึ้นทุกวัน ปี 2552 นราธิวาส ปัตตานี อันดับ 60 กว่าของประเทศ แต่พอปี 2562 สามจังหวัดชายแดนใต้ ยากจนสุดในประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวย อยู่อันดับท้ายสุด ข้อมูลของสภาพัฒนาสังคมเศรษฐกิจแห่งชาติ เกิดอะไรขึ้นกันแน่? ส่วนด้านการศึกษาก็แย่ต่ำลง ท้ายสุดของประเทศ งบประมาณปี2565 ตัวเลขการจัดสรร 7 พันกว่าล้าน น้อยกว่า 2564 เพราะเป็นไปตาม รธน.ม.142 สำนักงบฯต้องจัดงบให้ตรงตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ลดลง 10% ทุกปี เป็นไปตามกฎหมาย


.
ทั้งนี้ทั้งนั้น มีงบอื่นซ่อนอยู่อีก มีงบแผนงานอื่นๆลง จชต. 24,300 กว่าล้านบาท รวม ปี 2565 รวม 31,000 กว่าล้านบาท
.
แต่ที่เศร้าใจคือไม่ตอบโจทย์ เศรษฐกิจ การศึกษา เพราะมองคน 3 จชต.เป็นภัยความมั่นคงตลอด สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็น อยากให้สำนักงบฯมองสภาพความเป็นจริง ว่าคน จชต.ต้องการอะไร? คนชายแดนใต้กระทบโควิด-19 ไหม? ก็เหมือนกับคนทั้งประเทศ ปัญหาจากสถานการณ์ก็ยังมีอยู่
แต่การจัดสรรงบประมาณ ไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหา ถามครูตาดีกา ต้องการอาหารกลางวัน ถาม ชรบ.ต้องเข้าเวรตั้งแต่เย็นถึงสว่าง ทำงานหนักกว่าภาคอื่นๆ ต้องการสวัสดิการมากกว่า ถามอสม.ก็ต้องการเบี้ยเลี้ยง ถามคนค้าขายต้องการค้าขาย โดยเฉพาะคนกลับจากมาเลย์ต้องกลับมาขายอาหารตามริมถนน อยากให้รัฐมีการอะลุ่มอล่วย ให้ขายของริมถนน
.
นายกมลศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปรากฏว่า 7 พันกว่าล้าน ยุทธศาสตร์ความมั่นคง กอ.รมน. กองทัพบก เฉพาะงานข่าวมีการจัดงบ 1 พันกว่าล้าน
งานด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ หน่วยงานภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน มีการจัดซื้ออาวุธ เช่น กอ.รมน. จัดหาอาวุธ 339 ล้าน กองทัพบก 362 ล้าน กองทัพเรือ 134 ล้าน สตช. 118 ล้าน
รวมจัดซื้ออาวุธ 1,266 ล้านบาท
.
ไหนบอกว่าสถานการณ์ดีขึ้น ความรุนแรงลดลง แต่การจัดสรรงบประมาณ กลับเน้นซื้ออาวุธ น่าจะนำงบมาตอบสนองความต้องการพี่น้องประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้
.
สิ่งที่แย่ที่สุด ปี 2565 มีงบประมาณ กอ.รมน.ได้ทำแผนงบประมาณผูกพัน 3 ปี สร้างกำแพงบริเวณลุ่มน้ำโกลก ตั้งแต่ตากใบ จ.นราธิวาส สร้างกำแพงปิดกั้นระหว่าง คน 3 จชต.ชาติพันธุ์มลายูกับมาเลเซีย 128 ล้าน ในงบปี 65 ถ้าดูงบผูกพันตั้งไว้ ปี 66 จำนวน 256 ล้าน ปี 67 จำนวน 256 ล้านบาท รวมสร้างกำแพงรั้วปิดกั้น 600 กว่าล้าน
.
แผนงานนี้ไม่เข้าใจคน ชายแดนใต้ วิถีชีวิตคนมลายู มีการค้าขายรายย่อยตามชายแดน 300 กว่าล้าน ท่านไปสร้างกำแพง แทนที่จะนำงบมาช่วยเหลือพี่น้อง สะท้อนให้เห็นว่า ท่านนายกรัฐมนตรี กำลังขังวิถีชีวิตพี่น้องมลายู ทำคล้ายๆกลับกำแพงอิสราเอลกั้นปาเลสไตน์


.
ท่านไม่ทราบหรือว่า กำแพงเบอร์ลิน ที่สร้างมานานยังมีการทุบทำลายเพื่อรวมเป็นหนึ่ง การแก้ปัญหาความมั่นคงด้วยวิธีเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ ท่านนายกฯมีอคติอย่างร้ายแรงกับพี่น้องชายแดนใต้ หวังว่าจะมีการปรับงบประมาณ ในวาระ 2 และ 3 (ฟังคลิปย้อนหลังใน https://fb.watch/5T7J77C5Bx/)
คนที่สาม: พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล
‘พิจารณ์’ สอนวิธิทำ ‘งบกลาโหม’ ต้อง ‘ลด ตัด เลื่อน’ เลิกทำงบแบบยุค ‘สงครามเย็น’ แนะ ภจท. ห่วงงบ สธ.ต้องโหวตคว่ำ ได้ทั้งกลับบ้านแสนสุข พร้อมกับส่ง ‘ประยุทธ์’ กลับบ้านเก่าด้วย

(ฟังคลิปย้อนหลังใน
https://m.youtube.com/watch?v=pXrQAOIQqf0)
คนที่สี่: นายณัฐวุฒิ บัวปทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
อึ้งเว็บไซต์ Pulony ยังอยู่ ‘ณัฐวุฒิ’ ฉะ ‘งบโหมไฟใต้’ เน้นโฆษณาชวนเชื่อเหมือนเดิม ชี้ แค่เปลี่ยนชื่อโครงการหวังตบตาสภา แต่ไม่จริงใจสร้างสันติภาพ
.

.
“โครงการด้านโฆษณาชวนเชื่อยังอยู่ ยังจำโครงการ ‘ส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้อง’ ได้หรือไม่ เราเคยอภิปรายไปแล้วว่าแท้จริงมันคืองบล้างสมอง ส่งทหารเข้าโรงเรียนไปปลูกฝังค่านิยมแบบทหารกับเด็กนักเรียน พยายามครอบงำประชาชนให้คิดแต่ในแบบที่กองทัพต้องการ โครงการนี้หายไปแต่มีโครงการ ‘เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้’ เข้ามาแทนที่ โดยรายละเอียดแทบจะถอดแบบกันมา เพียงแค่ปีนี้งบลดลง 103 ล้านบาท อย่างงบเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 68 ล้านบาท ของ กอ.รมน. รูปแบบกิจกรรมยังเขียนเหมือนเดิมว่าเป็นการ ‘ส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้อง’ โดยเพิ่มตัวชี้วัดเป็นจำนวนเยาวชน ครู และผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น นี่เป็นพยายามตบตาสภาใช่หรือไม่ ในเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลเห็นว่าสภาไม่พอใจชื่อโครงการ เลยเปลี่ยนชื่อ พฤติกรรมแบบนี้คือการเห็นสภาผู้แทนราษฎรเป็นเพียงตรายางเหมือนสมัย สนช. แค่ตกแต่งเอกสารให้สวยๆ ก็เอามาให้เห็นชอบได้สบายๆ ใช่หรือไม่”

.
“ที่สำคัญก็คือ เมื่อเช้านี้ผมได้ลองเปิดเว็บ Pulony ดูอีกครั้ง ยังอยู่และยังอัปเดตบทความสร้างความแตกแยกอยู่จนทุกวันนี้ ยังคงโจมตีองค์กรสิทธิมนุษยชน โจมตีประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐบาลอย่างไม่มีหยุดหย่อน นี่คือส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพข่าวกรองจริงหรือไม่ เว็บแบบนี้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสันติภาพอย่างไร และถ้าได้งบปี 64 ไป เว็บนี้ก็จะยังอยู่ทำ IO แบบนี้ต่อไปอีกใช่หรือไม่”
.

.
(ฟังคลิปย้อนหลังใน
https://m.youtube.com/watch?v=aA2LmElRyTg)
ในขณะที่พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการ (รมช.) กระทรวงกลาโหมแจงกลางสภา ฯย้ำจำเป็นต้องมียุทโธปกรณ์ป้องกันผลประโยชน์ชาติ พยายามผลิตใช้เอง ประหยัดงบแผ่นดิน
“งบส่วนใหญ่ลดลงทุกรายการทั้งในส่วนขอแผนงานพื้นฐาน แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานบูรณาการ มีเพียงแผนงานบุคลากรภาครัฐที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องของสิทธิกำลังพลเรื่องบำเหน็จประจำปี โดยสัดส่วนในปีงบ 65 ยืนยันว่าทุกกองทัพถูกปรับลดงบประมาณลงหมด อาทิ สำนักงานปลัดกลาโหม ปรับลดลง 448 ล้านบาท กองบัญชาการกองทัพไทยลดลง 1,948 ล้านบาท กองทัพบกลดลง 6,603 ล้านบาท กองทัพเรือลดลง 1,129 ล้านบาท กองทัพอากาศลดลง 688 ล้านบาท”

“กองทัพมีหน้าที่เตรียมกำลังให้พร้อมรับสถานการณ์ ท่านอาจจะมองว่าจะไปรบกับใครอย่างไร แต่ขอเรียนว่ากองทัพต้องประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา ไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย มีเขตทางทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน 3.2 แสนตารางกิโลเมตร อาณาเขตทางทะเลมีความยาว 3,193 ตารางกิโลเมตร ผลประโยชน์ทางทะเลปีละ 24 ล้านล้านบาท ซึ่งพื้นที่บางส่วนยังอ้างสิทธิทับกันอยู่ สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ก็ยังมีความขัดแย้ง”

ท่านขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจในงบกลาโหมปี 65 ในทุกหน่วยงาน ซึ่ง รมว.กลาโหม ได้สั่งการให้ทุกเหล่าทัพใช้ศักยภาพ ทรัพยากรที่มีอยู่ กำลังคน เครื่องมือ หน่วยแพทย์ โรงพยาบาล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการร่วมกันช่วยเหลือป้องกันการแพร่ระบาดโควิดอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดตั้งสถานที่กักกันโรคแห่งรัฐ กลไกลสำคัญอย่างหนึ่งที่จะป้องกัน การจัดกองกำลังป้องกันแนวชายแดน การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จัดยานพาหนะสนับสนุนรับ-ส่งผู้ป่วยที่ยืนยันแล้ว ฯลฯ

ทั้งนี้ในปี 63 กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดงบ 2.3 แสนล้าน พอมีสถานการโควิด-19 ได้มีการส่งคืนงบประมาณเพื่อใช้เยียวยาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท และในปี 64 กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรงบประมาณ 2.1 แสนล้านบาท ส่วนปี 65 ได้รับการเสนองบประมาณ จำนวน 203,281,969,300 บาท ลดลงร้อยละ 5.24 โดยมีการลดลงในทุกรายการ ซึ่งกระทรวงฯ จะใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาร้อยละ 17 ก่อสร้างปรับปรุงอาคารสถานที่ ร้อยละ 9 และใช้จ่ายบุคลากร ปฏิบัติภารกิจของหน่วย ร้อยละ 74

“เราต้องเตรียมการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ จำเป็นต้องเตรียมกำลังพลไว้บางส่วน แต่มิได้เตรียมกำลังไว้ทั้งหมด ส่วนยุทโธปกรณ์ใหม่เน้นจัดหาเพียง 1 ใน 3 ส่วนที่เหลือเน้นซ่อมบำรุงเพื่อยืดอายุการใช้งาน ช่วยลดงบประมาณจัดหาใหม่ ซึ่งทุกกองทัพเข้าใจภาวะงบประมาณของประเทศ ส่วนที่ล้าสมัยเรามีแนวคิดนำไปแลกเปลี่ยนกับยุทโธปกรณ์ใหม่เพื่อนำมาใช้ทดแทน และจัดหาเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อให้กองทัพพร้อมรองรับภารกิจและสถานการณ์”
(ฟังคลิปย้อนหลังใน
https://m.youtube.com/watch?v=je3fjVDTCR0)
สำหรับแผนบูรณาการดับไฟใต้ นั้นท่าน บอกว่า “งบประมาณนั้นลดลงตามเป้า โดยมี ด้านการพัฒนา มากกว่า ด้านความมั่นคง ในสัดส่วน 56.9 ต่อ 43.1 และบอกว่าที่ ส.ส.ตั้งข้อสังเกตว่ามีงบประมาณอยู่ในส่วนอื่นนั้นก็เป็นเพียงงบฟังค์ชั่นปกติของหน่วยงาน “ รอมฎอน ปันจอร์ ให้ทัศนะต่จริง ๆ นี้ว่า “นี่แหละคือประเด็น แต่ต้องดูในรายละเอียด เพราะ งบความมั่นคง นั้นซุกและซ่อนอยู่ในแผนอื่น ทั้ง ๆ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาโดยตรง ทั้ง งบกำลังพล ทั้งของ กอ.รมน. และ ทหารพราน รวมกันแล้วหลายพันล้าน ถ้ามาเทียบสัดส่วนกันจริง ๆ ก็จะไม่ได้ตัวเลขสวย ๆ อย่างที่ท่านแถลงแน่ ๆ ครับ

อันที่จริง การที่รัฐมนตรีช่วยกลาโหมลุกขึ้นมาชี้แจงกรณีแผนบูรณาการดับไฟใต้นี่ก็น่าแปลก เพราะที่จริงแล้วไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง อย่างน้อย ๆ ก็ในเอกสาร เพราะหน่วยงานเจ้าภาพคือ สมช. กอ.รมน. และ ศอ.บต. ซึ่งสายบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกตู่ หรืออย่างน้อยก็รองนายกป้อม เพราะรับผิดชอบโดยตรง — สิ่งนี้ยืนยันว่าทหารนั่นแหละเป็นคนกุมสภาพจริง ๆเรื่องรั้วชายแดนเป็นเรื่องใหญ่ที่มีหลายมิติจริง ๆ ครับ คำอธิบายของรัฐมนตรีช้างที่ว่าชาวบ้านให้การยอมรับนี่น่าจะต้องตรวจสอบเหมือนกันครับ น่าจะต้องเปิดให้เสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้สะท้อนออกมาหน่อย คนตรงชายแดนเขาคิดกันยังไง? แล้วตกลงใครได้ประโยชน์กันแน่?”

 11,244 total views,  2 views today

You may have missed