เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ความท้าทาย “การบูรณาการอิสลาม”ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

วันที่ 1 -3 มีนาคม 2564 สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การพัฒนาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและอิสลามศึกษาแบบบูรณาการตามบริบทพื้นที่ของสถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง” ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมี นางสาวยุวดี ก่งเกิด ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน (สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ) เป็นประธาน
—————————————–


นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา กล่าวรายงานในพิธีว่า โครงการพัฒนาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและอิสลามศึกษาแบบบูรณาการตามบริบทพื้นที่ของสถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรอิสลามศึกษา สู่การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนด้านอิสลามศึกษา โดยได้กำหนดจัดพัฒนากรอบหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ทั้งหมด 3 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2564 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนสังคมศึกษา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2564 กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และ รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม 2546 กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โดยคาดหวังว่าบุคลากรฝ่ายวิชาการและครูโรงเรียนเอกชน มีความเข้าใจในการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนด้านอิสลามศึกษาตามหลักสูตรอิสลามศึกษา และสถานศึกษามีกรอบหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ทำให้สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการปรับหลักสูตรสถานศึกษาต่อไปที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพต่อไป
—————————————–


นางสาวยุวดี ก่งเกิด ประธานในพิธี กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการศึกษาไทยคือ การพัฒนาคนไทยให้เป็นผู้ที่มีความรู้ที่ดี และสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยเป้าหมายดังกล่าวได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยกำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาไว้ว่า “การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข” นอกจากนั้นสิ่งจำเป็น ต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้ในอนาคต การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี”
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่านให้ทัศนะต่อเรื่องนี้ว่า “นี่คือส่วนหนึ่งในการยกระดับ “โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาซึ่ง

5 ปีที่ผ่านมา ผมร่วมกับคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดตั้งโรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลามขึ้นที่จังหวัดปัตตานี ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ คือการบูรณาการสาระวิชาสามัญและหลักอิสลามเข้าด้วยกันในแต่ละวิชาที่จัดการเรียนการสอน เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างนักเรียนให้เป็นทั้ง “คนเก่งและมุสลิมที่ดี”

ปัจจุบัน ด้วยวิธีการบูรณาการวิชาสามัญและอิสลามดังกล่าว พบว่านักเรียนของโรงเรียนมีคุณภาพทางวิชาการสูง และมีศีลธรรม และจริยธรรมอิสลามในจิตใจสูง ในทุกชั้นปี ทั้งที่ศึกษาอยู่ หรือจบออกไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย (รวมไปถึงที่เลือกไปประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว)

1 มีนาคม 2564 ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ให้มาถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ผ่านการบรรยายในหัวข้อที่ว่า “การบูรณาการวิชาสามัญกับอิสลาม”

ด้วยความที่คณะกรรมการการศึกษาเอกชน และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีความเห็นร่วมกันว่า ชาวมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้มีความต้องการที่จะให้ลูกหลานของตน ได้เรียนรู้ทั้งวิชาสามัญที่มีคุณภาพ และวิชาอิสลามอย่างเข้มข้น เพื่อให้พวกเขามีทั้งความรู้ ทักษะวิชาชีพขั้นสูง และมีจิตใจที่ยึดมั่นในหลักอิสลาม พูดง่ายๆ คือ ต้องการให้ลูกหลานเป็นทั้ง “คนเก่งและมุสลิมที่ดี” ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายของผมและคณะ

เมื่อการบรรยายจบลง ผู้บริหารโรงเรียนนับร้อยที่มาร่วมฟัง ตัดสินใจที่จะรับ “หลักคิดและวิธีการ” ที่ผมได้นำเสนอ ไปยกระดับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนของตน ซึ่งนับเป็นความท้าทายของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอย่างมาก

ครับ, การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทในชีวิตของนักเรียน อาทิ ภาษา พื้นที่ ภูมิภาค วัฒนธรรม ฯลฯ คือสิ่งที่สำคัญมากสำหรับอนาคตของพวกเขา ที่กระทรวงศึกษาธิการ และระดับนโยบายทุกคนต้องให้ความใส่ใจ และต้องทำด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง “

จากการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งสามวันพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรม สามารถนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในบริบทของแต่ละโรงเรียนได้
นางมาดีน่า บินดุเหล็ม ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ ให้ทัศนะว่า “จบกระบวนการอบรมอย่างสมบูรณ์แบบในระดับต่อไปอยู่ที่เราว่าจะเอาความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดอย่างไรให้เกิดผลมากที่สุดซึ่งขอปนิธานว่า ปิดภาคเรียนนี้พวกเราจะนำความรู้นี้ไปต่อยอดให้ครูทุกคนในไปปรับใช้ในภาคเรียนที่1/2564 “
อย่างไรก็แล้วแต่ # จากการถอดบทเรียน ของผู้เขียน ต่อการขับเคลื่อน เครือข่ายโรงเรียนบูรณาการอิสลามภาคใต้ ช่วงปี 50 เป็นต้นมา สองประเด็นดังนี้
หนึ่งปรัชญา “การจัดการศึกษาอิสลาม”
การจัดการศึกษาในทัศนะอิสลามก็มีปรัชญาเช่นเดียวกันและได้มีการพิสูจน์จากการปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวัน ดังที่มีการสืบทอดและเน้นย้ำว่า การศึกษาในอิสลามไม่ใช่แค่การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์หรือทักษะจากชนรุ่นหนึ่งไปยังชนอีกรุ่นหนึ่ง แต่ในอิสลามการศึกษามีความหมายที่กว้างและครอบคลุมทุกด้าน การศึกษาเป็นกระบวนการอบรมและบ่มเพาะสติปัญญา ร่างกายและจิตวิญญาณ เพื่อผลิตมนุษย์ที่สมบูรณ์ การศึกษาในทัศนะอิสลาม เป็นการศึกษาแบบบูรณาการ ทั้งวิชาศาสนาและวิชาการเข้าด้วยกัน การกลับสู่ระบบการศึกษาแบบอิสลามที่แท้จริง จำเป็นที่จะต้องสร้างระบบใหม่ขึ้นมา ระบบการศึกษาใหม่ต้องเป็นแบบบูรณาการที่ทั้งสองระบบสามารถศึกษาด้วยกันอย่างมีกฏเกณฑ์ และทั้งสองระบบจะแยกออกจากกันไม่ได้ ที่ไม่ควรมีการแยกวิชาศาสนาออกจากวิชาสามัญหรือแยกวิชาสามัญออกจากวิชาศาสนาเพราะตามทัศนะอิสลามไม่ได้หมายถึงการศึกษาวิชาอัลกุรอานหรือวิชาศาสนบัญญัติเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการศึกษาทุกสาขาวิชาที่สอนตามทัศนะของอิสลาม ทั้งนี้เพื่อการผลิตมนุษย์ที่สมบูรณ์ดังที่กล่าวมา
สอง ความท้าทาย “การบูรณาการอิสลาม”
การบูรณาการการศึกษาที่สมบูรณ์แบบค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยากในสังคมปัจจุบัน เพราะหลักสูตร หนังสือ แบบเรียน วิธีการสอน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของอิสลาม แม้ว่าจะสามารถปฏิบัติได้ในบางระดับ แต่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างรอบคอบ รอบด้าน การทำงานร่วมกันของทุกองคาพยพ ครูศาสนา สามัญ ผู้บริหาร ครู บุคคลากรสนับสนุนอื่นๆเพราะการบูรณาการที่หละหลวมจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเราตระหนักว่าหลักสูตรการศึกษาในอิสลามเป็นหลักสูตรบูรณาการ ความพยายามที่จะต้องบูรณาการการศึกษาจึงควรได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจริงจัง ผ่านการวางแผน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานการเป็นทีม เป็นเครือข่าย ปรับปรุง เติมเต็ม ต่อยอดเพื่อสู่เป้าหมายร่วมกัน อย่างไม่ย่อท้อ และอื่นๆอีกมากมายแต่ก็เป็นกำลังใจให้ทุกคน
หมายเหตุ
1.
Cr.ภาพ Cr.ภาพนี้เป็นของ ดร. Mafeefee Assalihee ,
Abdulloh Seng
2.ตัวอย่างการนำเสนอของตัวแทนผู้เข้าอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
(https://www.facebook.com/khunafana/videos/4134860379881189/?)

 3,233 total views,  2 views today

You may have missed